ยาอะซิโทรมัยซิน (Azithromycin) : วิธีใช้ และข้อควรระวัง

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
ยาอะซิโทรมัยซิน

ยา Azithromycin คืออะไร

อะซิโทรมัยซิน (Azithromycin) เป็นยาปฏิชีวนะกลุ่มแมคโครไลด์ (Macrolides) ออกฤทธิ์ยับยั้งการสร้างโปรตีน โดยไปจับกับ 50s ไรโบโซม ยับยั้งการเปลี่ยนตำแหน่งของ tRNA 

สิ่งที่ควรรู้เกี่ยวกับยา Azithromycin

  • อะซิโทรมัยซินเป็นชื่อสามัญของ Azithro, Binozyt, Floctil และ Zithromax เป็นยาปฏิชีวนะที่ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรีย โรคปอดและการติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจ รวมถึงโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์
  • อะซิโทรมัยซินยังสามารถทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่ผิดปกติของคลื่นหัวใจ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะที่หัวใจเต้นผิดจังหวะได้
  • หากมีประวัติทางการแพทย์ที่เกี่ยวกับโรคหัวใจ โรคไต โรคตับ รวมไปถึงภาวะกล้ามเนื้ออ่อนแรง ควรแจ้งให้แพทย์ทราบก่อนทุกครั้ง เพราะผลของยาอะซิโทรมัยซินอาจมีผลต่อภาวะสุขภาพที่เป็นอยู่ได้
  • ผลข้างเคียงที่อาจพบได้กรณีที่ใช้ยาอะซิโทรมัยซินในปริมาณสูง ได้แก่ คลื่นไส้ อาเจียน ท้องร่วง ท้องอืด ติดเชื้อภายในช่องคลอด

ข้อบ่งใช้

ขจัดเชื้อแบคทีเรียที่เป็นสาเหตุของโรคติดเชื้อ 

อะซิโทรมัยซินกลไกการออกฤทธิ์

อะซิโทรมัยซินจะไปยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย โดยไปยับยั้งการสังเคราะห์โปรตีนและฆ่าแบคทีเรีย ส่วนใหญ่มักเลือกใช้ยานี้เมื่อallergy-0094/”>แพ้ยาเพนิซิลลิน (Pencillin) ซึ่งสามารถฆ่าเชื้อแบคทีเรียได้ทั้บแบคทีเรียแกรมบวมและแกรมลบ

ขนาดยาและวิธีใช้

อะซิโทรมัยซิน มีทั้งชนิดเม็ดรับประทาน, ยาน้ำ, ชนิดผงแห้งผสมน้ำ และยาฉีดเข้าหลอดเลือดดำ
  • รักษาการติดเชื้อโพรงจมูก ขนาดยาคือ 500 มก./วัน เป็นเวลา 3วันติดต่อกัน หรือ 2,000 มก. เพียงครั้งเดียว
  • รักษาการติดเชื้อที่ผิวหนังและเนื้อเยื่อใต้ผิวหนัง ขนาดยาคือ 500 มก.ในวันแรก ตามด้วย 250 มก./วัน เป็นเวลา 4 วันติดกัน
  • รักษาการติดเชื้อที่ลำคอและต่อมทอนซิล ขนาดยาคือ 500 มก.ในวันแรก ตามด้วย 250 มก./วัน เป็นเวลา 4 วันติดกัน
  • รักษาการติดเชื้อที่อวัยวะเพศหรือทางเพศสัมพันธ์ ขนาดยาคือ 1,000 มก.เพียงครั้งเดียว
หมายเหตุ : ควรรับประทานยาก่อนอาหารอย่างน้อย 1 ชม. หรือหลังอาหาร 2 ชม. เนื่องจากอาหารมีผลต่อการดูดซึมยา โดยมีผลต่อระดับยาสูงสุดในเลือดประมาณร้อยละ 52 ดังนั้นจึงไม่ควรรับประทานหลังอาหารเลยทันทีAzithromycin

หากลืมทานยา

หากคุณลืมรับประทานยาอะซิโทรมัยซิน ให้รีบทานเมื่อนึกขึ้นได้ หากลืมยาจนใกล้เวลายาของมื้อถัดไป ให้ข้ามไปทานยามื้อถัดไปตามเวลา โดยไม่ต้องทานยาเป็นสองเท่าในเวลาเดียวกัน หากสงสัยว่ารับประทานยาเกินขนาดหรือไม่ ควรติดต่อหน่วยฉุกเฉินทันที

ผลข้างเคียงที่พบบ่อย

อะซิโทรมัยซินถือว่าเป็นยาปฏิชีวนะที่มีผลข้างเคียงที่ค่อนข้างน้อยเมื่อเทียบกับยาปฏิชีวนะตัวอื่นๆในกลุ่มแมคโครไลด์ (Macrolides) ผลข้างเคียงที่อาจพบได้ในกรณีที่ใช้ยาอะซิโทรมัยซิน ในปริมาณสูง ได้แก่

ผลข้างเคียงที่สำคัญควรรีบไปพบแพทย์

  • เจ็บหน้าอก
  • ชัก
  • เกิดอาการบวมที่เท้าและข้อเท้า
  • การอักเสบของลำไส้ โดยอาจมีอาการปวดท้อง ท้องเสียอย่างรุนแรง หรือหายใจลำบาก
  • ปริมาณเซลล์เม็ดเลือดขาวต่ำ ซึ่งทราบได้จากการตรวจเลือดทางห้องปฏิบัติการ โดยจะมีอาการได้แก่ อ่อนเพลีย เหนื่อยง่าย หายใจถี่ หรือภาวะติดเชื้อที่หายยาก

ปฏิกิริยาต่อกันของยา

หากคุณใช้ยา ผลิตภัณฑ์เสริมอาหาร วิตามิน สมุนไพร ควรแจ้งให้แพทย์หรือเภสัชกรทราบล่วงหน้า เนื่องจากอะซิโทรมัยซินไม่สามารถใช้ร่วมกับยาดังต่อไปนี้
  • Pimozide (Orap)
  • BCG vaccine (Theracrys)
  • Dronedarone (Multaq)
  • ยาที่ทำให้เลือดข้นลดลง เช่น Enoxaparin  (Lovenox), Fondaparinux (Arixta), Warfarin (Coumadin/Jantoven)
  • ยาที่ใช้เพื่อป้องกันเลือดอุดตัน ได้แก่
    • Antithrombin III (Thrombin)
    • Bivalirudin (Angiomax)
    • Dalteparin (Fragmin)
    • Amiodarone (Cordarone, Pacerone, Nextarone)
    • Digoxin (Lanoxin)
    • Typhoid vaccine (Vivotif) :วัคซีนไทฟอยด์
    • Quinidine

ข้อควรระวัง

เครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอร์อาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงจากอะซิโทรมัยซินได้ เช่น อาการวิงเวียนศีรษะและปวดท้อง นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงผลิตภัณฑ์จากส้มโอ (Grapefruit) ทั้งหมด เนื่องจากอาจเกิดปฏิกิริยาต่อกันของยาอะซิโทรมัยซินได้ ในสตรมีครรภ์ อะซิโทรมัยซินถูกจัดให้อยู่ในกลุ่ม Category B หมายถึง หญิงตั้งครรภ์สามารถใช้ยาได้อย่างปลอดภัย จากการศึกษาในสัตว์พบว่ายาที่ถูกจัดอยู่ในกลุ่มนี้ไม่มีความเสี่ยงที่ทำให้เกิดความผิดปกติต่อตัวอ่อนในครรภ์ 

วิธีการจัดเก็บและทำลายยา Azithromycin

วิธีเก็บรักษาอะซิโทรมัยซิน:

  • ปฏิบัติตามคำแนะนำในการเก็บรักษาโดยเภสัชกรหรือแพทย์ โดยทั่วไป ควรเก็บอะซิโทรมัยซินไว้ที่อุณหภูมิห้อง ห่างจากแสงและความชื้น เก็บไว้ในบรรจุภัณฑ์หรือภาชนะเดิม อย่าเก็บไว้ในห้องน้ำ. ตรวจสอบให้แน่ใจว่าให้พ้นจากมือเด็ก หากคุณมีข้อกังวลเฉพาะเกี่ยวกับการจัดเก็บ โปรดปรึกษาแพทย์หรือเภสัชกรของคุณ

ยาที่มีคุณสมบัติคล้ายกับ Azithromycin

Azithromycin อยู่ในกลุ่มยาปฏิชีวนะ Macrolide และมียาปฏิชีวนะอื่นๆ ในกลุ่มเดียวกันหรือมีคุณสมบัติคล้ายคลึงกัน ยาปฏิชีวนะบางชนิดที่คล้ายกับอะซิโธรมัยซินมีดังนี้
  • อิริโทรมัยซิน:
      • Erythromycin เป็นยาปฏิชีวนะที่อยู่ในกลุ่ม Macrolide เช่นเดียวกับ azithromycin มีฤทธิ์ต้านการติดเชื้อแบคทีเรียได้หลายประเภท และบางครั้งก็ใช้เป็นทางเลือกเมื่อไม่สามารถจ่ายยาอะซิโธรมัยซินได้
  • คลาริโทรมัยซิน:
      • Clarithromycin เป็นยาปฏิชีวนะ Macrolide อีกชนิดหนึ่งที่เกี่ยวข้องกับโครงสร้างกับ azithromycin ใช้รักษาโรคติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ รวมถึงการติดเชื้อทางเดินหายใจและการติดเชื้อที่ผิวหนัง
  • ไดริโทรมัยซิน:
      • Dirithromycin เป็นยาปฏิชีวนะ Macrolide ที่มีโครงสร้างคล้ายกับ azithromycin ใช้ในการรักษาโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ
  • โรซิโทรมัยซิน:
      • Roxithromycin เป็นยาปฏิชีวนะ Macrolide กึ่งสังเคราะห์ที่มีความคล้ายคลึงกับ azithromycin ใช้รักษาโรคติดเชื้อทางเดินหายใจ การติดเชื้อที่ผิวหนังและเนื้อเยื่ออ่อน และอื่นๆ
  • คลินดามัยซิน:
      • Clindamycin เป็นยาปฏิชีวนะ lincosamide ซึ่งแม้ว่าจะไม่ใช่ Macrolide แต่บางครั้งก็ใช้เป็นทางเลือกในสถานการณ์ที่ Macrolides อาจไม่เหมาะสม มีประสิทธิภาพในการต่อต้านการติดเชื้อแบคทีเรียต่างๆ
  • เซฟไตรอะโซน:
    • Ceftriaxone เป็นยาปฏิชีวนะในกลุ่ม cephalosporin ที่อาจใช้เป็นทางเลือกแทน Macrolides ในบางสถานการณ์ มีประสิทธิภาพในการต่อต้านแบคทีเรียในวงกว้าง
สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือแม้ว่ายาปฏิชีวนะเหล่านี้จะมีความคล้ายคลึงกัน แต่ก็อาจมีความแตกต่างในแง่ของขอบเขตการออกฤทธิ์ ผลข้างเคียง และสิ่งบ่งชี้เฉพาะ การเลือกยาปฏิชีวนะขึ้นอยู่กับชนิดของการติดเชื้อ แบคทีเรียที่เกี่ยวข้อง และปัจจัยของผู้ป่วยแต่ละราย

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/drugs/2/drug-1527-2223/azithromycin-oral/azithromycin-600-mg-oral/details
  • https://www.nhs.uk/medicines/azithromycin/
  • https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a697037.html
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด