อาหารขยะ คืออะไร
คำจำกัดความของอาหารขยะแต่ละคนนั้นแตกต่างกันไป แต่ส่วนมากจะระบุว่าอาหารขยะคืออาหารที่ไม่มีประโยชน์ อย่างขนมขบเคี้ยวที่ผ่านการแปรรูปที่มีแคลอรีมากมาย โดยเฉพาะแคลอรี่ในรูปของไขมันและน้ำตาล โดยมีวิตามิน แร่ธาตุ หรือไฟเบอร์เพียงเล็กน้อยหรือไม่มีเลย ตัวอย่าง ได้แก่- น้ำอัดลม
- มันฝรั่งทอด
- ลูกอม
- คุ้กกี้
- โดนัท
- เค้ก
- ขนมอบ
Junk food มีอะไรบ้าง
อาหารขยะมีอยู่แทบทุกที่ มีขายในซูเปอร์มาร์เก็ต ร้านสะดวกซื้อ สถานที่ทำงาน โรงเรียน และตู้จำหน่ายสินค้าอัตโนมัติ ความพร้อมในการบริโภค และความสะดวกของอาหารขยะทำให้ยากที่จะจำกัดหรือหลีกเลี่ยง เคยสงสัยหรือไม่ว่าควรหลีกเลี่ยงไม่บริโภคเลย หรือกินเพื่อความเพลิดเพลิน แบบพอประมาณได้หรือไม่อาหารขยะแบบแฝงตัว
อาหารหลายอย่างที่คิดว่าดีต่อสุขภาพอาจเป็นอาหารขยะได้ ตัวอย่างเช่น เครื่องดื่มผลไม้ที่มีวิตามิน และแร่ธาตุ เพราะอาจมีน้ำตาลและแคลอรีเท่ากันกับน้ำโซดาและน้ำอัดลม กราโนล่าและอาหารเช้าแบบแท่งที่แม้จะมีธัญพืชที่ดีต่อหัวใจเป็นส่วนประกอบ แต่กลับมีน้ำเชื่อมข้าวโพดฟรุกโตสหรือน้ำตาลในปริมาณสูงเทียบเท่าลูกอม รวมถึงผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากกลูเตน เช่น คุกกี้ เค้ก และมันฝรั่งทอด ดูเป็นตัวเลือกที่ดีต่อสุขภาพมากกว่าผลิตภัณฑ์ที่มีกลูเตน แต่คุณค่าทางโภชนาการของอาหารทั้งสองชนิดกลับคล้ายคลึงกัน แม้แต่ผลิตภัณฑ์ที่ปราศจากกลูเตนตามธรรมชาติอยู่แล้ว เช่น น้ำผลไม้บางชนิด ช็อกโกแลตแท่ง และฮอทดอกก็ถูกระบุว่า “ปราศจากกลูเตน” เพื่อให้ดูมีสุขภาพที่ดีขึ้น กลูเตนพบมากในข้าวสาลี ข้าวไรย์ และข้าวบาร์เลย์ และมีเพียงไม่กี่คนเท่านั้นที่ต้องหลีกเลี่ยงกลูเตนด้วยเหตุผลทางการแพทย์เหตุผลที่หลายคนติดอาหารขยะ
หลายคนมีอาการติดอาหารขยะ คุณสมบัติที่ทำให้เสพติดอยู่ที่น้ำตาลและไขมัน น้ำตาลจะกระตุ้นให้สมองกระปรี้กระเปร้าเหมือนกับยาเสพติดอย่างโคเคน และโดยมากน้ำตาลเพียงอย่างเดียวจะไม่สามารถทำให้ติดได้ แต่เมื่อรวมกับไขมันแล้ว ก็กลายเป็นแรงดึงดูดที่ยากต่อการต้านทาน เพราะสามารถกระตุ้นและสร้างนิสัยในสมองให้เกิดความอยากอาหาร ทำให้อยากบริโภคอาหารขยะมากเกิดขึ้น และเมื่อเวลาผ่านไปน้ำหนักก็จะเพิ่มขึ้นโทษของอาหารขยะ
โรคที่เกิดจากอาหารอย่างโรคอ้วนเป็นโรคที่ซับซ้อน และมีหลายปัจจัย โดยไม่ทราบสาเหตุชัดเจน แต่คาดว่าความสะดวกในการซื้อหา ความอร่อยสูง และต้นทุนต่ำของอาหารขยะ ถือเป็นปัจจัยสำคัญทำให้เกิดโรคต่าง ๆ เช่น โรคหัวใจ และเบาหวานประเภทที่ 2โรคอ้วน
อาหาร junk food มีค่าความอิ่มต่ำ หมายความว่าการกินอาหารขยะจะทำให้ไม่ค่อยอิ่ม เครื่องดื่มที่มีแคลอรี่อย่างน้ำโซดา เครื่องดื่มเกลือแร่ และกาแฟบางชนิด คือปัจจัยที่ส่งผลเลวร้ายที่สุด เนื่องจากสามารถให้แคลอรีได้หลายร้อยแคลอรี โดยไม่ลดความอยากอาหารลงเลย แม้จะดูเหมือนไม่มีความสำคัญ แต่ก็อาจสัมพันธ์กับน้ำหนักที่เพิ่มขึ้นในแต่ละปี ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่โรคหัวใจ
โรคหัวใจเป็นสาเหตุสำคัญของการเสียชีวิตทั่วโลก การบริโภคน้ำตาลถือเป็นหนึ่งในปัจจัยเสี่ยงสำหรับโรคนี้ น้ำตาลที่มากเกินไปยังสัมพันธ์กับการเพิ่มของไขมันในเลือด ที่เรียกว่าไตรกลีเซอไรด์ และเพิ่มความดันโลหิต ทั้ง 2 ปัจจัยนี้จะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหัวใจ การกินอาหารที่เป็นอันตรายต่อสุขภาพเป็นประจำยังพบว่าเพิ่มไตรกลีเซอไรด์และลด HDL (คอเรสเตอรอลดี) ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหัวใจเบาหวานประเภทที่ 2
โรคเบาหวานประเภท 2 เกิดขึ้นเมื่อร่างกายกับการทำงานของอินซูลินไม่สัมพันธ์กัน ซึ่งเป็นฮอร์โมนที่เกี่ยวข้องกับระดับน้ำตาลในเลือด ไขมันในร่างกายส่วนเกิน จะทำให้ความดันโลหิตสูง HDL ต่ำ (คอเลสเตอรอลดี) ยิ่งมีประวัติเป็นโรคหัวใจ หรือโรคหลอดเลือดสมองก็ยิ่งเพิ่มความเสี่ยงชั้นต่อโรคเบาหวานประเภทที่ 2 การบริโภคอาหารอันตรายต่อสุขภาพเกี่ยวข้องกับไขมันในร่างกายที่มากเกินไป ความดันโลหิตสูง และคอเลสเตอรอล HDL ต่ำ ซึ่งยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคเบาหวานประเภทที่ 2วิธีกินอาหารขยะให้น้อยลง
หลายวิธีที่ใช้เพื่อลดการบริโภคอาหารขยะได้มีดังนี้ ขั้นแรก ลองซื้อหาให้น้อยลง การที่อาหารขยะอยู่ไกลตาจะลดความอยากรับประทานได้ ขั้นที่ 2 หลีกเลี่ยงการกินมันฝรั่งทอด หรือขนมอื่น ๆ หากอยากกินจริง ๆ ให้กินครั้งละน้อย ๆ แทน รับประทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพทดแทน ได้แก่:- ผลไม้: แอปเปิ้ล กล้วย ส้ม และเบอร์รี่
- ผัก: ผักใบเขียว พริก บล็อกโคลี และกะหล่ำดอก
- ธัญพืชเต็มเมล็ดและแป้ง: ข้าวโอ๊ต ข้าวกล้อง คีนัว และมันเทศ
- เมล็ดพืชและถั่ว: อัลมอนด์ วอลนัท และเมล็ดทานตะวัน
- พืชตระกูลถั่ว: ถั่ว ถั่วลันเตา และถั่วฝักยาว
- แหล่งโปรตีนที่ดีต่อสุขภาพ: ปลา หอย เต้าหู้ สเต็ก และสัตว์ปีก
- ผลิตภัณฑ์นม: กรีกโยเกิร์ต ชีส และผลิตภัณฑ์นมหมัก เช่น kefir
- ไขมันที่ดีต่อสุขภาพ: น้ำมันมะกอก เนยถั่ว อะโวคาโด และมะพร้าว
- เครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ: น้ำ ชาเขียว และชาสมุนไพร
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น