ออทิสติก (Autism) คือ กลุ่มโรคเกี่ยวกับความผิดปกติพัฒนาการของระบบประสาท โดยโรคนี้มีชื่อทางการภาษาอังกฤษว่า Autism spectrum disorder (ASD)
กลุ่มความผิดปกตินี้จะมีลักษณะของความบกพร่องหรือมีปัญหาในการสื่อสารและปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่นในสังคม ผู้ป่วยออทิสติกจะแสดงการเรียกร้องความสนใจในสิ่งที่ต้องการด้วยการแสดงออกทางพฤติกรรม
ออทิสติก (ASD) นั้นสามารถพบได้ทั่วไปในโลกโดยไม่เกี่ยวกับเชื้อชาติหรือวัฒนธรรมใดๆ ออทิสติกพบในเด็กชายมากกว่าเด็กหญิงในอัตราส่วน 4 ต่อ 1 และข้อมูลจากมูลนิธิออทิสติกไทย ระบุว่าทุกๆ 1,000 คน พบผู้ป่วยออทิสติกหรือที่เราเรียกว่าเด็กพิเศษจำนวน 6 คน และมีแนวโน้มจะเพิ่มขึ้นสูงขึ้นมากเรื่อย
ออทิสติกประเภทต่างๆ
คู่มือการวินิจฉัยและสถิติสำหรับความผิดปกติทางจิต (Diagnostic and Statistical Manual of Mental Disorders) ที่ตีพิมพ์โดย the American Psychiatric Association (APA) ถูกใช้อย่างแพร่หลายในวงการแพทย์สำหรับการวินิจฉัยและจำแนกประเภทของออทิสติกที่มีอยู่หลากหลาย ออทิสติกสามารถแบ่งเป็น 5 ประเภทหลักๆ (DSM-5) ได้ดังนี้- ออทิสติกแบบมีหรือปราศจากข้อบกพร่องทางปัญญา
- ออทิสติกแบบมีหรือปราศจากข้อบกพร่องด้านการใช้ภาษา
- ออทิสติกที่เกี่ยวข้องจากการรับสารเคมี, ทางพันธุกรรม หรือสภาพแวดล้อม
- ออทิสติกที่เกี่ยวข้องกับความผิดปกติด้านระบบประสาท อารมณ์ หรือพฤติกรรม
- ออทิสติกร่วมกับคาทาเนีย (Catatonia)
- ความผิดปกติออทิสติก
- โรคแอสเพอร์เกอร์ (Asperger’s syndrome)
- พีดีดี เอ็นโอเอส (PDD-NOS)
- การสูญเสียทักษะของเด็ก CDD (Childhood disintegrative disorder)
สาเหตุของออทิสติก
ออทิสติกเกิดจากอะไรนั้นไม่สามารถทราบได้แน่ชัด แต่จากงานวิจัยที่น่าเชื่อถือชี้ให้เห็นว่าการป่วยเป็นออทิสติกนั้นไม่ได้มาจากสาเหตุเพียงสาเหตุเดียว ปัจจัยความเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดออทิสติกมีดังนี้:- มีสมาชิกในครอบครัวป่วยเป็นออทิสติก
- การผ่าเหล่าทางพันธุกรรม
- การแตกตัวของโครโมโซม X และความผิดปกติด้านพันธุกรรมอื่นๆ
- พ่อแม่อยู่ในวัยชราระหว่างให้กำเนิดบุตร
- น้ำหนักแรกเกิดต่อ
- ระบบเมแทบอลิซึมขาดสมดุล
- สัมผัสกับโลหะหนักหรือสารพิษอื่นๆ
- เคยติดเชื้อไวรัส
- ผลข้างเคียงจากการได้รับ กรดวาลโปรเอท (Depakene) หรือทาลิโดไมด์ (Thalomid)
อาการออทิสติก
อาการของผู้ป่วยออทิสติกหรือเด็กออทิสติกที่ชัดเจนนั้นเราจะเห็นได้ในเด็กวัย 12 – 24 เดือน อย่างไรก็ตามความผิดปกติสามารถปรากฏได้ก่อนหรือหลังจากนั้น อาการเริ่มต้นของออทิสติกอาจจะประกอบไปด้วย พัฒนาการช้าด้านการพูด หรือ พัฒนาการทางสังคมที่ช้ากว่าเด็กวัยเดียวกันหมวดหมู่ความผิดปกติของผู้ป่วยออทิสติก
การวินิจฉัยแบบ DSM-5 แบ่งลักษณะเด็กออทิสติกเป็น 2 หมวดหมู่ใหญ่ๆ ได้แก่ ความบกพร่องด้านการสื่อสารและสังคม, พฤติกรรมที่ซ้ำซากความบกพร่องด้านการสื่อสารและสังคม ประกอบไปด้วย :
- ปัญหาด้านการพูดและการสื่อสาร เช่น การแสดงอารมณ์ การแสดงความสนใจ หรือการตอบโต้ระหว่างการสนทนา
- ปัญหาในการสื่อสารโดยใช้อวัจนะภาษา เช่น สายตา หรือ ภาษากาย
- พัฒนาการในการมีปฏิสัมพันธ์กับบุคคลอื่นนั้นต่ำหรือไม่มีเลย
พฤติกรรมที่ซ้ำซากประกอบไปด้วย :
- เคลื่อนไหวซ้ำๆ สภาวะอารมณ์เดิมซ้ำๆ รวมถึงการพูดประโยคเดิมซ้ำไปมา
- จดจ่อกับกิจวัตรหรือพฤติกรรมเดิมๆ
- ประสาทสัมผัสต่อสิ่งรอบข้างอาจมากหรือน้อยเกินไป เช่น การมีปฏิกิริยาตอบสนองกับเสียงที่จำเพาะเจาะจงan
- มีความสนใจเฉพาะสิ่ง และมีความเพ้อฝัน
การวินิจฉัยและการตรวจสอบออทิสติก
การวินิจฉัยออทิสติกนั้นจะทำโดยการคัดกรองพัฒนาการผู้ป่วย การทดสอบทางพันธุกรรม และการประเมินผลทางการแพทย์การคัดกรองพัฒนาการผู้ป่วยออทิสติก
สถาบันกุมารเวชศาสตร์ ให้คำแนะนำว่าการวินิจฉัยควรจะทำในช่วงที่เด็กอายุ 18 – 24 เดือน การคัดกรองช่วยให้สามารถตรวจพบอาการออทิสติกในเด็กตั้งแต่เนิ่นๆ ซึ่งนี่เป็นประโยชน์มากๆ สำหรับผู้ป่วยออทิสติก รายการตรวจสอบสำหรับเด็กออทิสติกวัยหัดเดิน (M-CHAT) ถูกใช้เป็นเครื่องมือในการคัดกรองอย่างแพร่หลายในวงการแพทย์ รายการตรวจสอบนี้ประกอบไปด้วย 23 คำถามสำหรับท่านผู้ปกครอง ผู้เชี่ยวชาญสามารถนำผลการตรวจสอบนี้ไปคัดกรองหรือจำแนกได้ว่าเด็กรายนี้มีความเสี่ยงจะเป็นออทิสติกหรือไม่ สิ่งสำคัญในการคัดกรองคือ เด็กที่ได้รับผลการตรวจสอบที่เป็นบวกไม่ได้หมายความว่าจะเป็นออทิสติกเสมอไป และในขณะเดียวกันเด็กที่เป็นออทิสติกก็อาจจะตรวจสอบไม่พบจากรายการตรวจสอบ M-CHATการคัดกรองและการตรวจสอบอื่นๆ สำหรับผู้ป่วยออทิสติก
แพทย์อาจจะแนะนำการตรวจสอบให้กับเด็กๆ ตามรายการดังต่อไปนี้:- การตรวจสอบทางพันธุกรรม (DNA testing for genetic diseases)
- การตรวจสอบพัฒนาการเด็ก
- การตรวจสอบสมรรถนะการมองเห็นและการได้ยิน
- กิจกรรมบำบัด
- การตอบแบบสอบถามด้านการพัฒนาทางอารมณ์
การรักษาผู้ป่วยออทิสติก
สำหรับผู้ป่วยออทิสติกนั้นไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ แต่ยังมีวิธีบำบัดและเยียวยาที่น่าสนใจอยู่หลายวิธีด้วยกันสำหรับใช้ดูแลเด็กออทิสติกกิจกรรมบำบัดออทิสติกโดยทั่วไป :
- การบำบัดพฤติกรรมร่วมกับการสังเกตพฤติกรรม
- การบำบัดด้วยการเล่น
- การบำบัดกิจวัตรประจำวัน
- การบำบัดทางกายภาพ
- การบำบัดการพูดและสนทนา
วิธีการบำบัดแบบทางเลือกสำหรับออทิสติก
การบำบัดทางเลือกสำหรับผู้ป่วยออทิสติกมีดังนี้:- การให้วิตามินในปริมาณสูง
- การบำบัดคีเลทชั่นที่ช่วยชำระล้างโลหะหนักออกจากร่างกาย
- การบำบัดแบบไฮเปอร์บาริค ออกซิเจน (Hyperbaric oxygen therapy)
- การใช้เมลาโทนินช่วยในการนอนหลับ
คำถามที่พบบ่อย
ผู้ที่เป็นออทิสติกสามารถใช้ชีวิตตามปกติได้หรือไม่ คำตอบง่ายๆ สำหรับคำถามนี้คือใช่ บุคคลที่เป็นโรคออทิสติกสเปกตรัมสามารถใช้ชีวิตอย่างอิสระเมื่อโตเป็นผู้ใหญ่ อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่ว่าทุกคนจะมีอิสระในระดับเดียวกัน ยากไหมที่จะอยู่กับคนเป็นออทิสติก การมีคู่นอนที่เป็นออทิสติกอาจ เป็นเรื่องยากที่จะรับมือ การมีคู่นอนที่เป็นออทิสติกอาจหมายถึงการต้องช่วยเหลือพวกเขาในเรื่องปฏิสัมพันธ์ทางสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งเกี่ยวกับกฎทางสังคมที่ไม่ได้เขียนไว้ เราอยากย้ำว่าคนออทิสติกก็สามารถมีความรักและความสัมพันธ์ที่ประสบความสำเร็จได้พอๆ กับคนที่ไม่ใช่ออทิสติก เป็นไปได้ไหมที่จะเป็นออทิสติกน้อยลง ในขณะที่การวิจัยนี้ดำเนินไป นักจิตวิทยายังคงเน้นย้ำว่าการสูญเสียอาการออทิสติกทั้งหมดนั้นเกิดขึ้นได้ยากและแม้ว่าอาการต่างๆ จะหายไป เด็กเหล่านี้อาจยังคงมีความแตกต่างทางสมองแฝงอยู่ ซึ่งอาจทำให้เกิดความท้าทายอย่างต่อเนื่อง ลูกเป็นออทิสติกจะพูดได้ไหม เนื่องจากความผิดปกติของออทิสติกสเปกตรัมจะแตกต่างกันไปตามความรุนแรงในเด็กแต่ละคน จึงไม่มีกฎตายตัวและเร็วเกินไป ไม่ใช่เรื่องแปลกที่เด็กที่เป็นโรค ASD จะเริ่มพัฒนาการพูดในลักษณะเดียวกับเด็กทั่วไป เช่นเดียวกับการถดถอยในการพูดและความเข้าใจภาษาประมาณอายุสองขวบ ออทิสติกส่งผลต่อความจำหรือไม่ บุคคลออทิสติกประสบปัญหาเฉพาะเกี่ยวกับความ จำและจุดแข็งของความจำ แม้ว่าปัญหาความจำไม่ได้เป็นส่วนหนึ่งของเกณฑ์การวินิจฉัยโรคออทิสติกสเปกตรัม (ASD) แต่ก็เป็นอาการทั่วไปที่บุคคลออทิสติกหลายคนเป็น คนออทิสติกมองโลกอย่างไร สำหรับคนที่เป็นออทิสติกโลกนี้เป็นสถานที่ที่น่าสับสน ด้วยระบบประสาทสัมผัสที่ไวเกินไป พวกเขาต้องต่อสู้เพื่อประมวลผลข้อมูลที่ไหลเข้าสู่สมองอย่างมหาศาล บ่อยครั้งผลที่ตามมาคือการรับความรู้สึกมากเกินไป ซึ่งนำไปสู่พฤติกรรมเฉพาะเช่น อารมณ์ฉุนเฉียว ความวิตกกังวล และการถอนตัวจากสังคม ช่วงขวบปีที่ยากที่สุดของออทิสติกคือช่วงอายุเท่าไหร่ การศึกษาล่าสุดโดยนักวิจัยของ UC Davis MIND Institute พบว่าความรุนแรงของอาการออทิสติกของเด็กสามารถเปลี่ยนแปลงได้อย่างมีนัยสำคัญระหว่างอายุ3 ถึง 11ปี การศึกษาได้รับการตีพิมพ์ใน Autism Research และสร้างขึ้นจากงานก่อนหน้านี้โดยนักวิจัยคนเดียวกันเกี่ยวกับการเปลี่ยนแปลงลักษณะออทิสติกในเด็กปฐมวัย เลี้ยงลูกออทิสติกยากไหม การดูแลเด็กออทิสติกอาจต้องใช้พลังงานและเวลามาก อาจมีบางวันที่คุณรู้สึกหนักใจ เครียด หรือท้อแท้ การเป็นพ่อแม่ไม่ใช่เรื่องง่าย และการเลี้ยงดูเด็กที่มีความต้องการพิเศษนั้นท้าทายยิ่งกว่า ในการเป็นพ่อแม่ที่ดีที่สุด สิ่งสำคัญคือคุณต้องดูแลตัวเอง การเป็นออทิสติกร้ายแรงหรือไม่ บางรายที่มีปัญหารุนแรงน้อยที่สุด อาจมีชีวิตปกติหรือใกล้เคียงปกติได้ในที่สุด อย่างไรก็ตาม คนอื่นๆ บางคนอาจมีปัญหาในการใช้ภาษาหรือทักษะทางสังคม และช่วงวัยรุ่นอาจทำให้ปัญหาทางพฤติกรรมและอารมณ์แย่ลงได้ ออทิสติกเป็นปัญหาทางสมองหรือไม่ ออทิสติกเป็นโรคทางสมองที่ส่งผลต่อการมีปฏิสัมพันธ์กับผู้อื่น มีอาการออทิสติกขั้นรุนแรงที่ปลายด้านหนึ่งและออทิสติกที่มีการทำงานสูงที่อีกด้านหนึ่ง ผู้ที่เป็นออทิสติกขั้นรุนแรงมักมีความบกพร่องทางสติปัญญาและพูดภาษาพูดได้น้อยลิ้งค์ด้านล่างเป็นแหล่งที่มาข้อมูลของเรา
- https://www.autismspeaks.org/what-autism
- https://www.webmd.com/brain/autism/understanding-autism-basics
- https://www.autism-society.org/what-is/
- https://www.nhs.uk/conditions/autism/what-is-autism/
- https://www.autism.org.uk/about/what-is/asd.aspx
- https://www.who.int/news-room/fact-sheets/detail/autism-spectrum-disorders
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น