โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) : อาการ สาเหตุ การรักษา

โรคหลอดเลือดแดงแข็งคืออะไร

โรคหลอดเลือดแดงแข็ง (Atherosclerosis) คือโรคที่หลอดเลือดแดงตีบตันเพราะเกิดการสะสมของตะกอน หลอดเลือดแดงคือเส้นเลือดที่ทำหน้าที่นำพาออกซิเจนและสารอาหารจากหัวใจไปสู่ส่วนต่างๆของร่างกาย

โรคหลอดเลือดแดงแข็งคือภาวะผนังเส้นโลหิตแดงหนาและมีความยืดหยุ่นน้อยรูปแบบหนึ่ง หรือที่รู้จักกันดีว่าเส้นเลือดแข็งตัว ซึ่งเราอาจเรียกชื่อโรคทั้งสองอย่างแทนกันได้

เมื่อคุณเริ่มมีอายุมากขึ้น ไขมัน คอเรสเตอรอล และแคลเซียมก็จะเริ่มสะสมในหลอดเลือดและมีคราบตะกอนก่อตัวขึ้น เมื่อคราบก่อตัวขึ้นจะทำให้เลือดไหลเวียนผ่านหลอดเลือดแดงยาก การสะสมนี้อาจเกิดขึ้นในหลอดเลือดได้ทุกที่ รวมไปถึงที่บริเวณหัวใจ ขาและไต

ส่งผลให้มีเลือดและออกซิเจนไม่เพียงพอสำหรับเนื้อเยื่อต่างๆของร่างกาย คราบตะกอนสะสมอาจสลายแตกตัวออกเป็นชิ้นๆ เป็นสาเหตุของลิ่มเลือด หากทิ้งไว้โดยไม่รักษา โรคหลอดเลือดแดงแข็งก็สามารถนำไปสู่ภาวะหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง หรือหัวใจล้มเหลว

โรคหลอดเลือดแดงแข็งคือปัญหาที่พบได้ทั่วไปมักเกิดร่วมกับเรื่องของอายุ โรคนี้สามารถป้องกันได้และมีทางเลือกในการรักษาที่ประสบความสำเร็จมากมาย

อาการของโรคหลอดเลือดแดงแข็ง

อาการส่วนใหญ่ของโรคหลอดเลือดแดงแข็งมักไม่แสดงอาการจนกว่าจะเกิดการอุดตันขึ้น อาการทั่วไปที่พบคือ:

อาการของโรคหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมอง เป็นสิ่งสำคัญที่ควรรู้ไว้ เพราะโรคทั้งสองอย่างอาจมีสาเหตุมาจากโรคหลอดเลือดแดงแข็ง และเป็นโรคที่ต้องการการดูแลอย่างเร่งด่วน

อาการของโรคหัวใจวายคือ:

อาการของโรคหลอดเลือดสมองคือ:

  • อ่อนแรงหรือชาที่บริเวณใบหน้าหรือแขนขา

  • มีปัญหาในการพูด

  • ยากที่จะเข้าใจคำพูด

  • มีปัญหาการมองเห็น

  • สูญเสียการทรงตัว

  • ปวดศีรษะรุนแรงและฉับพลัน

ทั้งโรคหัวใจวายและโรคหลอดเลือดสมองภาวะฉุกเฉิน โทรเรียกรภพยาบาลและรีบไปโรงพยาบาลให้เร็วที่สุดเท่าที่จะทำได้หากคุณมีภาวะโรคหัวใจวายหรือโรดหลอดเลือดสมอง

สาเหตุของโรคหลอดเลือดแดงแข็ง

คราบตะกอนที่เกิดจากการสะสมและภาวะที่เลือดไหลเวียนในหลอดเลือดถูกจำกัดซึ่งมีการแข็งตัวตามมาภายหลัง ทำให้เลือดและออกซิเจนไปเลี้ยงเนื้อเยื่อและอวัยวะต่างๆไม่เพียงพอ ซึ่งส่งผลต่อการทำงานของอวัยวะนั้นๆ

สาเหตุที่ทำให้หลอดเลือดมีการแข็งตัวคือ:

คอเรสเตอรอลสูง

คอเรสเตอรอลคือสสารสีเหลืองคล้ายขี้ผึ้ง ที่พบได้ในร่างกายตามธรรมชาติเหมือนกับที่พบในอาหารที่เรารับประทานเข้าไป

หากมีระดับคอเรสเตอรอลในเลือดสูงเกินไป คอเรสเตอรอลนี้อาจไปอุดกั้นหลอดเลือดของเราได้ โดยเริ่มจากคราบแข็งที่ไปขัดขวางหรือกีดกั้นการไหลเวียนโลหิตสู่หัวใจและอวัยวะอื่นๆ

อาหาร

การรับประทานอาหารที่ดีต่อสขภาพเป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก สมาคมโรคหัวใจแห่งอเมริกาได้ให้คำแนะนำถึงรูปแบบอาหารเพื่อสุขภาพที่คุณสามารถปฏิบัติตามได้ไว้ดังต่อไปนี้ :

  • รับประทานอาหารจำพวกผักและผลไม้ที่หลากหลาย

  • โฮลเกรน

  • ผลิตภัณฑ์นมไขมันต่ำ

  • สัตว์ปีกและปลาไม่ติดหนัง

  • ถั่วต่างๆและลิกูม

  • น้ำมันพืช เช่นน้ำมันมะกอก หรือน้ำมันดอกทานตะวัน

ข้อแนะนำสำหรับอาหาร:

  • หลีกเลี่ยงอาหารและเครื่องดื่มที่มีการเติมน้ำตาล เช่นเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ลูกอมและขนมหวาน สมาคมโรคหัวใจระบุไว้ว่าผู้หญิงไม่ควรบริโภคน้ำตาลมากกว่า 6 ช้อนชาหรือ 100 แคลลอรี่ต่อวัน และไม่ควรเกิน 9 ช้อนชาหรือ 150 แคลลอรี่ต่อวันในผู้ชาย

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีปริมาณเกลือสูง ปริมาณโซเดียมไม่ควรมากกว่า 2300 มิลลิแกรมต่อวัน ถ้าจะให้ดีที่สุดก็ไม่ควรเกิน 1500 มิลลิแกรมต่อวัน

  • หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันไม่ดีสูง เช่นไขมันทรานส์ และเลือกรับประทานที่มีไขมันไม่อิ่มตัวทดแทน หากคุณต้องการลดคอเรสเตอรอลในเลือด ควรลดไขมันชนิดอิ่มตัวลงและไม่ควรเกิน 5-6 เปอร์เซนต์ของแคลลอรี่ทั้งหมด สำหรับคนที่รับประทานอาหารวันละ 2000 แคลลอรี่ ปริมาณไขมันอิ่มตัวก็อยู่ที่ประมาณ 13กรัม

อายุ

เมื่ออายุมากขึ้น หัวใจและหลอดเลือดของคุณจะต้องทำงานหนักในการสูบฉีดเลือด หลอดเลือดของคุณอาจอ่อนแอและเริ่มยืดหยุ่นได้น้อยลง ยิ่งทำให้หลอดเลือดอ่อนแอลงเมื่อเกิดคราบตะกอนสะสม

ผู้ที่มีปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดโรคหลอดเลือดแดงแข็ง

มีหลายปัจจัยที่ก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดแดงแข็งได้ บางความเสี่ยงสามารถแก้ไขได้ แต่บางอย่างก็ไม่สามารถทำได้

ปาะวัติครอบครัว

หากมีคนในครอบครัวเป็นโรคหลอดเลือดแดงแข็ง คุณก็อาจมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคนี้ได้ด้วยเช่นกัน อาจได้รับการถ่ายทอดมา ซึ่งโรคนี้มักมีปัญหาเกี่ยวพันกับหัวใจด้วย

ขาดการออกกำลังกาย

การออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอเป็นสิ่งที่ดีต่อหัวใจ ช่วยให้กล้ามเนื้อหัวใจแข็งแรงและยังช่วยเสริมให้ออกซิเจนและการไหลเวียนเลือดไปทั่วร่างกายได้ดีมากขึ้น

การใช้ชีวิตเรื่อยๆเนือยๆยิ่งเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคบางอย่าง เช่นโรคหัวใจ เป็นต้น

ระดับความดันโลหิตสูง

ความดันโลหิตสูงอาจสร้างความเสียหายต่อเส้นเลือดด้วยการทำให้เกิดความอ่อนแอในบางพื้นที่ เมื่อเวลาผ่านไปอย่างช้าๆคอเรสเตอรอลและสสารที่อยู่ในเลือดจะไปลดความยืดหยุ่นของหลอดเลือดลง

การสูบบุหรี่

การสูบบุหรี่สามารถทำความเสียหายให้กับหลอดเลือดและหัวใจ

โรคเบาหวาน

คนที่เป็นโรคเบาหวานมีความเสี่ยงที่จะเกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้สูง

การวินิจฉัยโรคหลอดเลือดแดงแข็ง

แพทย์จะตรวจร่างกายหากคุณมีอาการโรคหลอดเลือดแดงแข็ง โดยดูจากสิ่งต่อไปนี้:

  • ชีพจรเต้นอ่อน
  • หลอดเลือดแดงโป่งพอง คือหลอดเลือดมีการขยายใหญ่หรือปูดอย่างผิดปกติเนื่องจากผนังหลอดเลือดแดงอ่อนแอ
  • แผลหายช้า ซึ่งบ่งชี้ได้ว่าการไหลเวียนเลือดถูกจำกัด
Atherosclerosis

อายุรแพทย์หัวใจอาจฟังเสียงหัวใจเพื่อดูเสียงที่อาจผิดปกติ แพทย์จะฟังเพื่อหาเสียงฟู่ ซึ่งสามารถบ่งชี้ได้ว่าหลอดเลือดมีการถูกปิดกั้น แพทย์จะสั่งตรวจเพิ่มเติมหากคิดว่าคุณอาจเป็นโรคหลอดเลือดแดงแข็ง

การตรวจอาจมีวิธีดังต่อไปนี้:

  • การตรวจเลือดเพื่อเช็คระดับคอเรสเตอรอล

  • การตรวจดอปเพลอร์อัลตราซาวด์ คือการใช้คลื่นเสียงในการสร้างภาพของหลอดเลือด ที่จะแสดงตำแหน่งของการอุดตันหากมีเกิดขึ้นในหลอดเลือด

  • การตรวจด้วย ankle-brachial index (ABI) เป็นการตรวจเพื่อหาการอุดตันที่แขนหรือขา ด้วยการเปรียบเทียบความดันเลือดในแขนขาแต่ละข้าง

  • การตรวจ magnetic resonance angiography (MRA) หรือ computed tomography angiography (CTA) ในการสร้างภาพหลอดเลือดใหญ่ในร่างกายของเรา

  • การตรวจ a cardiac angiogram เป็นการเอกซเรย์ปอดรูปแบบหนึ่ง ที่ทำหลังจากฉีดสารกัมมันตภาพรังสีเข้าไปที่หลอดเลือดหัวใจ

  • การตรวจคลื่นไฟฟ้าหัวใจ (ECG or EKG) ซึ่งไว้วัดการทำงานของหัวใจเพื่อมองหาบริเวณที่การไหลเวียนของเลือดลดน้อยลง

  • การตรวจสมรรถภาพหัวใจด้วยการออกกำลังกาย โดยการเฝ้าติดตามดูอัตราการเต้นของหัวใจและความดันเลือดในขณะออกกำลังกายบนลู่วิ่งหรือจักรยานออกกำลังกาย

การรักษาโรคหลอดเลือดแดงแข็ง

การรักษารวมไปถึงการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตเพื่อเป็นการลดจำนวนไขมันและคอเรสเตอรอลจากการบริโภค คุณอาจต้องการการออกกำลังกายเพิ่มมากขึ้นเพื่อให้หัวใจและหลอดเลือดของคุณดีขึ้น

เว้นแต่ว่าโรคหลอดเลือดแดงแข็งของคุณมีความรุนแรง แพทย์อาจจะแนะนำการเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตเป็นหนึ่งในการรักษาร่วมกับการรักษาทางการแพทย์ เช่นการใช้ยาหรือการผ่าตัด

การรักษาด้วยา

ยาจะสามารถช่วยป้องกันไม่ให้โรคหลอดเลือดแดงแข็งมีอาการแย่ลง

ยาที่ใช้รักษาโรคหลอดเลือดแดงแข็ง เช่น:

  • ยาลดไขมันในกระแสเลือด รวมถึงสแตตินและไฟเบรท

  • ตัวยับยั้งแองจิดอเทนซิน-คอนเวอร์ติง เอนไซม์ เป็นยาช่วยป้องกันไม่ให้หลอดเลือดตีบแคบ

  • ยาเบต้า บล็อกเกอร์ หรือ ยาต้านแคลเซียม ที่มีไว้เพื่อลดความดันโลหิต

  • ยาขับปัสสาวะเพื่อช่วยลดความดันโลหิตลง

  • ยาต้านเกล็ดเลือดและยาต้านการแข็งตัวของเลือด เช่นยาแอสไพริน ที่ช่วยป้องกันไม่ให้เลือดเป็นลิ่มและไปอุดตันที่หลอดเลือด

ยาแอสไพรินคือยาที่มีประสิทธิภาพโดยเฉพาะสำหรับผู้ที่ป่วยเป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด (เช่น หัวใจวาย หรือโรคหลอดเลือดสมอง) การทานยาแอสไพรินอย่างเคร่งครัดสามารถช่วยลดความเสี่ยงต่อการเกิดโรคอื่นได้

การผ่าตัด

การผ่าตัดมักใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยมีอาการรุนแรง หรือเกิดอันตรายต่อเนื้อเยื่อและกล้ามเนื้อ

การผ่าตัดสำหรับโรคหลอดเลือดแดงแข็งเพื่อรักษาอาจทำได้โดย:

  • การทำบายพาส เป็นการใช้หลอดเลือดจากส่วนอื่นในร่างกายหรือท่อสังเคราะห์ในการทำทางเบี่ยงให้เลือดในบริเวณที่หลอดเลือดถูกปิดกั้นหรือตีบแคบ

  • การให้ยาละลายลิ่มเลือด ซึ่งช่วยให้ลิ่มเลือดจางหายไปโดยการฉีดยาเข้าไปยังบริเวณหลอดเลือดที่โดนผลกระทบ

  • การผ่าตัดขยายหลอดเลือด โดยการใช้สายสวนและบอลลูนเข้าขยายหลอดเลือด ในบางครั้งอาจมีการใส่ขดลวดเข้าไปเพื่อทำให้หลอดเลือดเปิด

  • การผ่าตัดเปิดหลอดเลือด คือการผ่าตัดเพื่อกำจัดตะกรันไขมันออกจากหลอดเลือด

สิ่งที่ควรคาดหวังในระยะยาวคืออะไร

จากการรักษา อาจทำให้สุขภาพของคุณดีขึ้น เพียงแต่อาจใช้เวลานาน การรักษาจะประสบผลสำเร็จได้ขึ้นอยู่กับสิ่งต่อไปนี้:

  • ความรุนแรงของโรค

  • การรักษาทันท่วงที

  • อวัยวะที่มีผลกระทบ

หลอดเลือดที่แข็งไปแล้วไม่สามารถเรียกกลับคืนมาได้ แต่การรักษาถุงสาเหตุและมีการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตและโภชนาการจะสามารถช่วยชะลอกระบวนการหรือป้องกันโรคไม่ให้แย่ลงได้

ควรปรึกษาแพทย์อย่างใกล้ชิดเพื่อการปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิต คุณอาจได้รับยาเพื่อควบคุมอาการของโรคและเพื่อหลีกเลี่ยงภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้น

โรคแทรกซ้อนที่อาจเกิดร่วมกับโรคหลอดเลือดแดงแข็งคือโรคอะไรบ้าง

โรคหลอดเลือดแข็งสามารถทำให้เกิดสิ่งต่อไปนี้:

การป้องกันโรคหลอดเลือดแดงแข็ง

เมื่อรูปแบบการดำเนินชีวิตเปลี่ยนไปก็จะสามารถช่วยในการป้องกันได้ดีพอกับการรักษาโรคหลอดเลือดแข็งได้ โดยเฉพาะในผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2

การเปลี่ยนแปลงรูปแบบการดำเนินชีวิตดังต่อไปนี้สามารถช่วยป้องกันโรคได้:

  • การรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพด้วยการลดจำนวนไขมันอิ่มตัว  และคอเรสเตอรอลให้น้อยลง

  • การหลีกเลี่ยงอาหารที่เต็มไปด้วยไขมัน

  • รับประทานปลาอย่างน้อยสัปดาห์ละสองครั้ง

  • ออกกำลังแบบหนักอย่างน้อย 75 นาที หรือ แบบปานกลางอย่างน้อย 150 นาที ต่อสัปดาห์

  • เลิกสูบบุหรี่

  • ลดน้ำหนักหากคุณมีน้ำหนักเกินหรือเป็นโรคอ้วน

  • จัดการความเครียด

  • รักษาโรคที่เกิดร่วมกับโรคหลอดเลือดแดงแข็ง เช่นโรคความดันโลหิตสูง คอเรสเตอรอลสูง และโรคเบาหวาน

โภชนาการที่แนะนำของผู้ป่วยโรคหลอดเลือดแดงแข็ง

โภชนาการมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาและการจัดการภาวะหลอดเลือด ซึ่งเป็นภาวะที่เกิดจากการสะสมของคราบพลัคในหลอดเลือดแดง หลอดเลือดเป็นปัจจัยเสี่ยงที่สำคัญสำหรับโรคหัวใจ โรคหลอดเลือดสมอง และปัญหาหัวใจและหลอดเลือดอื่นๆ ต่อไปนี้เป็นแนวทางการบริโภคอาหารและคำแนะนำเพื่อช่วยป้องกันหรือจัดการโรคหลอดเลือด:
  • ลดไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์:จำกัดการบริโภคไขมันอิ่มตัวและไขมันทรานส์เนื่องจากอาจทำให้ระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดี (LDL) เพิ่มขึ้น อาหารที่มีไขมันเหล่านี้สูง ได้แก่ เนื้อแดง ผลิตภัณฑ์นมไขมันเต็ม อาหารทอด และของขบเคี้ยวแปรรูปและบรรจุหีบห่อมากมาย เลือกแหล่งโปรตีนไร้ไขมันและเลือกอาหารที่มีไขมันที่ดีต่อสุขภาพ เช่น ไขมันไม่อิ่มตัวเชิงเดี่ยวและไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน
  • เพิ่มไขมันไม่อิ่มตัว:รวมแหล่งของไขมันไม่อิ่มตัวในอาหารของคุณ ไขมันเหล่านี้สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลชนิดไม่ดีและลดการอักเสบได้ แหล่งที่ดี ได้แก่ น้ำมันมะกอก อะโวคาโด ถั่ว และปลาที่มีไขมันสูง เช่น ปลาแซลมอน ปลาแมคเคอเรล และปลาเทราท์
  • กินไฟเบอร์มากขึ้น:อาหารที่มีไฟเบอร์สูง เช่น ธัญพืชไม่ขัดสี ผลไม้ ผัก และพืชตระกูลถั่ว สามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลและปรับปรุงสุขภาพของหัวใจได้ ตั้งเป้าได้รับใยอาหารอย่างน้อย 25-30 กรัมต่อวัน
  • จำกัดปริมาณน้ำตาลที่เพิ่ม:การบริโภคน้ำตาลที่มากเกินไปอาจทำให้เกิดโรคอ้วนและปัจจัยเสี่ยงอื่นๆ ในการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัวได้ ลดการบริโภคเครื่องดื่มที่มีน้ำตาล ขนมหวาน และอาหารแปรรูปที่เติมน้ำตาล
  • เพิ่มสารต้านอนุมูลอิสระ:สารต้านอนุมูลอิสระสามารถช่วยปกป้องหลอดเลือดแดงของคุณจากความเสียหายที่เกิดจากอนุมูลอิสระ กินผักและผลไม้หลากสีสัน รวมถึงอาหารที่อุดมด้วยสารต้านอนุมูลอิสระ เช่น วิตามินซีและอี
  • การบริโภคแอลกอฮอล์ในระดับปานกลาง:หากคุณเลือกที่จะดื่มแอลกอฮอล์ ให้ดื่มในปริมาณที่พอเหมาะ การบริโภคเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ในระดับปานกลางอาจมีประโยชน์ต่อระบบหัวใจและหลอดเลือด แต่การดื่มมากเกินไปอาจทำให้เกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัวได้
  • การควบคุมน้ำหนัก: หลีกเลี่ยงการกินมากเกินไป ซึ่งอาจนำไปสู่การเพิ่มน้ำหนักและโรคอ้วน ซึ่งทั้งสองอย่างนี้เป็นปัจจัยเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือด
  • เลือกโปรตีนไร้มัน:เลือกแหล่งโปรตีนไร้ไขมัน เช่น สัตว์ปีกไร้หนัง ปลา ถั่ว และเต้าหู้ แทนเนื้อสัตว์ที่มีไขมันสูง
  • จำกัดการบริโภคเกลือ:การบริโภคเกลือในปริมาณมากอาจทำให้เกิดความดันโลหิตสูง ซึ่งเป็นปัจจัยเสี่ยงต่อการเกิดภาวะหลอดเลือดแข็งตัว พยายามบริโภคโซเดียมให้น้อยกว่า 2,300 มิลลิกรัมต่อวัน
  • รักษาความชุ่มชื้น:ดื่มน้ำปริมาณมากเพื่อให้ร่างกายไม่ขาดน้ำและช่วยให้ร่างกายทำงานได้อย่างเหมาะสม
  • พิจารณาอาหารเสริม:ในบางกรณี ผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณอาจแนะนำอาหารเสริม เช่น กรดไขมันโอเมก้า 3 สเตอรอลจากพืช หรือเส้นใยไซเลี่ยม เพื่อช่วยจัดการระดับคอเลสเตอรอล ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพก่อนเริ่มอาหารเสริมใหม่เสมอ
  • ติดตามคอเลสเตอรอลของคุณ:ตรวจสอบระดับคอเลสเตอรอลของคุณเป็นประจำและทำงานร่วมกับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพเพื่อจัดการพวกมันผ่านการรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย และการใช้ยา หากจำเป็น
โปรดจำไว้ว่าการรับประทานอาหารเพื่อสุขภาพหัวใจเป็นเพียงองค์ประกอบหนึ่งของการป้องกันและการจัดการหลอดเลือด ปัจจัยด้านไลฟ์สไตล์ เช่น การออกกำลังกายเป็นประจำ การไม่สูบบุหรี่ และการจัดการความเครียด ยังมีบทบาทสำคัญในการลดความเสี่ยงของหลอดเลือดและโรคหลอดเลือดหัวใจอีกด้วย การทำงานร่วมกับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหรือนักโภชนาการที่ลงทะเบียนเป็นสิ่งสำคัญ เพื่อสร้างแผนโภชนาการเฉพาะบุคคลที่เหมาะกับความต้องการเฉพาะและเป้าหมายด้านสุขภาพของคุณ

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/arteriosclerosis-atherosclerosis/symptoms-causes/syc-20350569

  • https://www.webmd.com/heart-disease/what-is-atherosclerosis

  • https://www.nhlbi.nih.gov/health-topics/atherosclerosis

  • https://www.medicalnewstoday.com/articles/247837


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด