ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
ตาล้า
อาการตาล้าเป็นความรู้สึกที่รู้สึกว่าตาเหนื่อย ปวด หรือคัน ความรู้สึกนี้อาจเกิดขึ้นได้หลังจากอ่านหนังสือหรือมองจอคอมพิวเตอร์หรือมือถือนาน ๆ อาการนี้เกิดขึ้นจากการใช้กล้ามเนื้อที่ควบคุมการเคลื่อนไหวของตานานเกินไป  ผู้ที่มีตาแห้งหรือมีปัญหาเกี่ยวกับสายตาแต่ไม่ใช้เลนส์ที่ถูกต้องมีแนวโน้มที่จะเกิดอาการตาล้ามากขึ้น ส่วนมากแล้ว การพักสายตาและดูแลตาให้มีสุขภาพดีอยู่เสมอช่วยบรรเทาอาการตาล้าได้  หากอาการตาล้าเป็นปัญหาสำหรับคุณ มีหลายวิธีที่สามารถช่วยได้ เช่น การปรับแสงที่จอคอมพิวเตอร์หรือการปรับแสงในห้อง 

อาการตาล้า

อาการของผู้ที่ตาล้าจะมีอาการเหมือนกันในทุกช่วงวัย ผู้ที่มีอาการจะรู้สึกเมื่อต้องอ่านหนังสือหรือมองหน้าจอ แต่บางครั้งก็อาจไม่รู้จนกว่าจะหยุดพักสายตา  อาการตาล้ามักเกิดขึ้นเพียงไม่กี่นาที แต่บางครั้งก็อาจเกิดขึ้นานหลายชั่วโมง หากคุณมีอาการบ่อย ๆ อาการจะเกิดขึ้นบ่อยและเกิดขึ้นไว ไม่เพียงแต่ช่วงที่พักสายตาจากสิ่งที่ทำอยู่เท่านั้น อาการอาจเกิดขึ้นทันทีเมื่อเริ่มทำสิ่งนั้น ๆ  อาการต่าง ๆ มีดังนี้:
  • ปวดตา 
  • ตาแห้ง
  • คันหรือแสบร้อน
  • ตาเอียง
  • ปวดหัว โดยเฉพาะรอบ ๆ ดวงตาและหน้าผาก 
  • สายตาเบลอหรือเห็นภาพซ้อน 
  • จดจ่อได้ไม่ดี 
  • ตากระตุก 
  • ตาไวต่อเเสง 
ผู้ป่วยอาจมีอาการปวดคอและไหล่เมื่อมีอาการตาล้า ท่าทางของร่างกายที่ทำให้เกิดอาการตาล้าทำให้เกิดอาการกล้ามเนื้อล้าในร่างกายด้วยเช่นกัน 

สาเหตุ

อาการตาล้าเกิดหลังจากการเพ่งสายตานาน ๆ กิจกรรมต่าง ๆ เช่น การอ่านหนังสือ การขับรถ หรือการทำงานฝีมือเล็ก ๆ สามารถทำให้เกิดอาการตาล้าได้ 

อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ 

การใช้อุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์บ่อย ๆ อาจทำให้เกิดอาการตาล้าได้ การท่องอินเตอร์เน็ตหรือการอ่านข้อความและอีเมล์เป็นการใช้สายตาเยอะมาก ตาจึงเกิดความล้าจากการอ่านตัวหนังสือตัวเล็ก ๆ และแสงสีฟ้าจากจอที่รบกวน  ผู้ที่มีแนวโน้มเกิดอาการตาล้าจากอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์:
  • นักเรียนที่ใช้เวลาหลายชั่วโมงอ่านหรือทำงานบนคอมพิวเตอร์
  • ผู้ที่ทำงานโดยใช้จอคอมพิวเตอร์ทั้งวัน 
  • ผู้ที่ทำงานที่ต้องอ่านมาก เช่น นักรังสีวิทยา ทนายความ และนักบัญชี 
ไม่เพียงแต่การทำงานเท่านั้นที่ทำให้เกิดอาการตาล้า การเล่นเกมส์ก็สามารถทำให้เกิดอาการตาล้าได้เช่นกันเพราะต้องเพ่งสายตามากและเคลื่อนไหวตาอย่างรวดเร็ว  คุณอาจมีอาการปวดคอและปวดหลังเมื่อมีอาการตาล้า ซึ่งเป็นเพราะท่าทางที่ทำให้เกิดการตาล้าทำให้กล้ามเนื้อส่วนอื่นล้าด้วย  Asthenopia

อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับ: กระจกตาอักเสบอ่านต่อได้ที่นี่

ารรักษา 

ไม่มียาหรือวิธีที่จะรักษาอาการตาล้าได้ แต่มีวิธีที่มีประโยชน์ที่สามารถจัดการกับอาการนี้ได้:
  • พักสายตา: เมื่ออาการตาล้าเกิดขึ้น หรือเมื่ออาการแย่ลง ให้หลับตาสักพัก นอกจากนี้ ควรพักจากการเพ่งสายตาที่สิ่งของเล็ก ๆ หรือรายละเอียดต่าง ๆ 
  • การปรับแสง: ใช้แสงที่เหมาะสมขณะที่อ่านหนังสือหรือทำงาน หากคุณหรี่ไฟแล้วทำงาน อาจทำให้เกิดอาการตาล้าภายหลังได้ 
  • จอคอมพิวเตอร์หรือจอมือถือ: ตั้งค่าหน้าจอให้สว่างเพียงพอที่จะอ่านสิ่งต่าง ๆ 
  • นั่งให้ห่างขึ้น: ควรนั่งให้ห่าง 1 ช่วงแขนจากจอคอมพิวเตอร์ 
  • ขนาดตัวหนังสือ: ปรับขนาดตัวหนังสือในคอมหรือจอมือถือไม่ให้เล็กหรือใหญ่จนเกินไป ใช้ตัวหนังสือที่อ่านชัดโดยที่ไม่ต้องเพ่งอ่าน 
  • พักสายตา: หากคุณต้องทำงานที่ต้องอ่านเป็นเวลานานหรือต้องทำงานกับสิ่งของเล็ก ๆ ให้มองไปที่อื่นทุก ๆ 20 นาที เมื่อคุณหลับตาสักครู่หรือมองไปทางอื่นจะเป็นการพักกล้ามเนื้อที่ตา คุณอาจคิดว่าการทำแบบนี้จะทำให้ทำงานช้าลง แต่การพักสายตาจะช่วยให้คุณทำงานได้นานขึ้น 
  • แก้ไขปัญหาสายตา: หากอาการตาล้าเป็นปัญหารบกวนคุณ สาเหตุอาจมาจากปัญหาสายตา ควรลองไปตรวจตาเพื่อทราบสาเหตุ 
อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเกี่ยวกับจอประสาทตอลอกได้ที่นี่

โภชนาการมีผลต่ออาการตาล้าหรือไม่

อาการตาล้าจากจอดิจิทัลเป็นภาวะที่ซับซ้อนและมีหลายปัจจัย ซึ่งอาจเกิดจากการใช้เวลาอยู่หน้าจอมากเกินไปกับอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ต่างๆ เช่น สมาร์ทโฟน แท็บเล็ต อีรีดเดอร์ และคอมพิวเตอร์ วรรณกรรมปัจจุบันชี้ให้เห็นว่าความเสียหายจากออกซิเดชันที่เกิดขึ้นพร้อมกับภาวะการอักเสบเรื้อรังแสดงถึงกลไกทางสาเหตุที่สำคัญ การทบทวนนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อหารือเกี่ยวกับบทบาทที่เป็นไปได้ในการบริโภคสารอาหารรองที่มีคุณสมบัติทางโภชนเภสัช เพื่อบรรเทาอาการทางตาและการมองเห็นที่เกี่ยวข้องกับความเครียดทางสายตาทางดิจิทัล สำหรับความผิดปกติของพื้นผิวตา ประโยชน์ในการต้านการอักเสบที่เพิ่มขึ้นด้วยกรดไขมันไม่อิ่มตัวเชิงซ้อน โอเมก้า 3 ได้รับการบันทึกไว้เป็นอย่างดีในการรักษาโรคตาแห้ง คุณสมบัติในการต่อต้านอนุมูลอิสระและกดภูมิคุ้มกันของสารพฤกษเคมีแอนโทไซยานินยังอาจให้ผลในการป้องกันความเครียดทางการรับรู้ที่เกิดจากการมองเห็นและภาวะสายตาล้าทางดิจิทัล ในขณะเดียวกัน กลยุทธ์ทางโภชนเภสัชที่เกี่ยวข้องกับแคโรทีนอยด์จุดรับภาพแซนโทฟิลล์ แสดงให้เห็นถึงการทำงานด้านการรับรู้ที่เพิ่มขึ้นและประสิทธิภาพการมองเห็นโดยรวมที่ช่วยลดอาการปวดตาทางดิจิทัล โดยรวมแล้ว การค้นพบเบื้องต้นดูเหมือนจะเสนอหลักฐานที่ชัดเจนเพื่อยืนยันความจำเป็นในการทดลองแบบสุ่มที่มีกลุ่มควบคุมเพิ่มเติม ซึ่งมุ่งเป้าไปที่การรักษาอาการปวดตาทางดิจิทัลด้วยกลยุทธ์เสริมทางโภชนเภสัชเสริม จำเป็นต้องมีการทดลอง RCT เพิ่มเติมและการเปรียบเทียบผลิตภัณฑ์เสริมอาหารที่มีจำหน่ายในท้องตลาดเพื่อประเมินประโยชน์ทางคลินิกเชิงปริมาณ

นี่คือที่มาในบทความของเรา

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด