ปัจจุบันการหาซื้อยาตามร้านขายยาทั่วไปเป็นเรื่องที่สะดวกสบาย บางครั้งก็สามารถซื้อยาได้โดยไม่ต้องมีใบสั่งยา รวมไปถึงแอสไพริน ทั้งที่เป็นยาที่หลายคนรู้กันดีว่าผลข้างเคียงของแอสไพรินอาจทำให้เกิดภาวะเลือดออกผิดปกติได้ ทำให้เกิดข้อสงสัยว่ายาชนิดนี้สามารถซื้อกินเองได้หรือไม่
แอสไพริน (Aspirin) เป็นยาในกลุ่ม NSAIDs : Non Steroidal Anti-Inflammatory Drugs. ใช้สำหรับต้านการอักเสบ ปวด บวม แดง ลดไข้ กล่าวอีกนัยคือ เป็นยาหลักของของยาในกลุ่มยาระงับปวด ลดไข้ (Analgesics/antipyretics) ชนิดไม่เสพติด อีกทั้งยังใช้ในการป้องกันการเกิดหลอดเลือดอุดตันได้อีกด้วย (Antiplatelet)
ชื่อสามัญ Aspirin (Acetylsalicylic acid : ASA)
ชื่อทางการค้า Aggrenox, Alka-Seltzer, Caparin
ข้อบ่งใช้
- ใช้เพื่อการบรรเทาปวด ต้านการอักเสบ และลดไข้
- ใช้เพื่อรักษาภาวะหลอดเลือดอุดตัน
Aspirin กลไกการออกฤทธิ์
แอสไพรินเป็นยาที่มีประสิทธิภาพ ทั้งในเรื่องของฤทธิ์ในการบรรเทาปวด ลดไข้ และต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ปัจจุบันแอสไพรินถูกใช้กันอย่างแพร่หลาย จนกลายเป็นยาที่มียอดขายสูงสุดตัวหนึ่งของโลกเลยก็ว่าได้ ในฤทธิ์ต้านการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือด ทำให้แอสไพรินถูกใช้ในการป้องกันภาวะแทรกซ้อนที่เกิดจากการอุดตันของหลอดเลือด เช่น เส้นเลือดหัวใจอุดตัน เส้นเลือดสมองอุดตัน และเส้นเลือดที่ขาอุดตัน เป็นต้น โดยการออกฤทธิ์ แอสไพรินจะไปยับยั้งเอนไซม์ในร่างกายที่ทำให้เกิดสารที่ก่อให้เกิดการอักเสบที่มีชื่อว่า Cyclooxygenase : COX โดยเอนไซม์นี้ยังมีผลในการกระตุ้นเพื่อสร้างสารที่ทำให้เเกิดการเกาะกลุ่มกันของเกล็ดเลือดมีชื่อว่า Thromboxane-A2 ฉะนั้นหากเราไปยับยั้งแอสไพริน นอกจากกจะได้ทั้งบรรเทาอาการอักเสบแล้ว ยังทำให้เกล็ดเลือดเกาะกลุ่มกันมากขึ้นขนาดและวิธีใช้ยาแอสไพริน
ขนาดยาแอสไพรินขึ้นอยู่กับข้อบ่งใช้และดุลพินิจของแพทย์- เพื่อบรรเทาอาการปวด อักเสบ และลดไข้ : 325 – 650 มก. ทุก 4 – 6 ชม. หรือใช้เมื่อมีอาการ รับประทานยาหลังอาการทันที
- เพื่อป้องกันโรคหลอดเลือดอุดตัน ไม่ว่าจะเป็นที่หลอดเลือดสมอง หรือหลอดเลือดหัวใจ ครั้งแรกของการใช้ยา แพทย์จะให้เคี้ยวยาขนาด 300 – 325 มก.เพื่อให้ระดับยาในเลือดมากพอ และเกิดการยับยั้งการเกาะกลุ่มของเกล็ดเลือดอย่างรวมเร็ว เพื่อป้องกันการกลับมาเป็นซ้ำ แพทย์ก็จะลดขนาดยาแอสไพรินเป็นขนาดต่ำ 81 มก. หรือที่เรียกกันว่า “Baby aspirin”
ผลข้างเคียง
- คลื่นไส้
- อาเจียน
- ปวดท้อง
- ระคายเคืองกระเพาะอาหาร เกิดแผลในทางเดินอาหาร
- หลอดลมตีบ โรคหืดกำเริบ
- เลือดออกผิดปกติ
- ผื่นลมพิษ
ข้อควรระวัง
- ในผู้ที่เสี่ยงต่อการมีเลือดออก เช่น ผู้ป่วยที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติ โรคไข้เลือดออก ผู้ที่กำลังจะเข้ารับการผ่าตัด หรือถอนฟัน ผู้ป่วยควรปรึกษาแพทย์เพื่อหยุดยาก่อนการผ่าตัด ห้ามหยุดยาเอง
- เนื่องด้วยผลข้างเคียงของยาที่ทำให้เกิดการระคายเคืองกระเพาะอาหาร ทำให้ต้องรับประทานยาหลังอาหารทันที โดยเฉพาะผู้ที่มีประวัติเป็นโรคกระเพาะอาหาร อาจใช้ยาลดกรดควบคู่ไปด้วย
- การแบ่งยา เนื่องด้วยตัวยาอาจระคายเคืองทางเดินอาหาร การหัก หรือแบ่งยาจึงเป็นสิ่งที่ไม่ควรกระทำ
- หลีกเลี่ยงการดื่มแอลกอฮอร์ระหว่างที่รับประทานยาแอสไพริน เพราะจะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงของภาวะเลือดออกผิดปกติได้
- ผู้ที่มีประวัติallergy-0094/”>แพ้ยาแอสไพริน หรือยาตัวอื่นๆในกลุ่ม NSAIDs ไม่ควรใช้ยา
- ผู้ที่มีประวัติเป็นโรคหืด ควรหลีกเลี่ยงการใช้ยาแอสไพริน เนื่องด้วยผลข้างเคียงที่ทำให้หลอดลมตีบ อาจทำให้โรคหืดกำเริบได้ ทั้งนี้ควรปรึกษาแพทย์ก่อนการใช้ยา
- ในหญิงตั้งครรภ์ แอสไพรินถูกจัดให้อยู่ในยากลุ่ม C ไม่ควรใช้ตลอดการตั้งครรภ์ ตัวยาอาจส่งผลต่อทารกในครรภ์ได้ และเมื่อต้องให้นมบุตร ยายังสามารถส่งผ่านทางนมแม่ได้ ฉะนั้นอาจทำให้เกิดอาการไม่พึงประสงค์ เช่น เลือดออก กลุ่มอาการเรย์ (Reye’s syndrome) ในทารกได้ โดยเป็นโรคที่เกิดความผิดปกติของตับและสมองอย่างเฉียบพลันและรุนแรง พบได้น้อย แต่รุนแรงถึงขั้นเสียชีวิตได้ จึงควรหลีกเลี่ยงการใช้แอสไพรินระหว่างให้นมบุตร
เมื่อไร่ที่ไม่ควรใช้แอสไพริน
แอสไพรินเป็นยาที่ใช้กันทั่วไปและมีประโยชน์หลายอย่าง เช่น บรรเทาอาการปวด ลดไข้ และฤทธิ์ต้านการอักเสบ อย่างไรก็ตาม มีสถานการณ์และเงื่อนไขที่อาจไม่แนะนำให้ใช้แอสไพรินหรืออาจต้องใช้ความระมัดระวัง สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือ การตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้ยาแอสไพรินควรปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพ ต่อไปนี้คือบางสถานการณ์ที่คุณไม่ควรใช้ยาแอสไพรินหรือควรใช้ด้วยความระมัดระวัง:- แพ้แอสไพรินหรือ NSAIDs:
-
-
- บุคคลที่แพ้แอสไพรินหรือยาแก้อักเสบที่ไม่ใช่สเตียรอยด์ (NSAIDs) อื่นๆ ไม่ควรใช้แอสไพริน
-
- โรคแผลในกระเพาะอาหาร:
-
-
- แอสไพรินสามารถเพิ่มความเสี่ยงของการมีเลือดออกในทางเดินอาหารและอาจทำให้แผลในกระเพาะอาหารรุนแรงขึ้น บุคคลที่เป็นโรคแผลในกระเพาะอาหารหรือมีประวัติเลือดออกในทางเดินอาหารควรหลีกเลี่ยงแอสไพริน
-
- ความผิดปกติของเลือดออก:
-
-
- แอสไพรินอาจรบกวนการแข็งตัวของเลือด และการใช้ยานี้อาจมีข้อห้ามในบุคคลที่มีภาวะเลือดออกผิดปกติหรือมีประวัติมีปัญหาเลือดออก
-
- โรคหอบหืดไวต่อแอสไพริน:
-
-
- บุคคลที่เป็นโรคหอบหืดบางรายอาจไวต่อยาแอสไพรินและยากลุ่ม NSAID อื่นๆ และการใช้ยาเหล่านี้อาจทำให้เกิดอาการหอบหืดได้ บุคคลที่เป็นโรคหอบหืดที่ไวต่อแอสไพรินควรหลีกเลี่ยงแอสไพริน
-
- โรคตับหรือไตอย่างรุนแรง:
-
-
- บุคคลที่เป็นโรคตับหรือไตอย่างรุนแรงอาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นต่อผลข้างเคียงจากแอสไพริน และควรติดตามหรือหลีกเลี่ยงการใช้ยาในกรณีเช่นนี้
-
- การตั้งครรภ์ (โดยเฉพาะในไตรมาสที่ 3):
-
-
- การใช้แอสไพรินในช่วงไตรมาสที่ 3 ของการตั้งครรภ์อาจสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของภาวะแทรกซ้อนที่มีเลือดออกทั้งในมารดาและทารก โดยทั่วไปจะหลีกเลี่ยงในช่วงเวลานี้ เว้นแต่จะมีการกำหนดโดยผู้เชี่ยวชาญทางการแพทย์โดยเฉพาะ
-
- เด็กและวัยรุ่นที่ติดเชื้อไวรัส:
-
-
- Reye’s syndrome ซึ่งเป็นภาวะที่พบไม่บ่อยแต่ร้ายแรง มีความเกี่ยวข้องกับการใช้ยาแอสไพรินในเด็กและวัยรุ่นที่ติดเชื้อไวรัส โดยเฉพาะไข้หวัดใหญ่และอีสุกอีใส ด้วยเหตุนี้ จึงมักหลีกเลี่ยงแอสไพรินในประชากรกลุ่มนี้
-
- ก่อนการผ่าตัดหรือการทำทันตกรรม:
-
-
- แอสไพรินสามารถเพิ่มความเสี่ยงต่อการตกเลือดได้ และควรปรึกษาเรื่องการใช้แพทย์ก่อนเข้ารับการผ่าตัดหรือทำหัตถการทางทันตกรรมตามกำหนด ในบางกรณีอาจจำเป็นต้องหยุดยาแอสไพรินชั่วคราว
-
- โรคเกาต์:
-
- แอสไพรินอาจรบกวนการขับกรดยูริกและอาจทำให้อาการของโรคเกาต์รุนแรงขึ้น ผู้ที่เป็นโรคเกาต์ควรใช้แอสไพรินด้วยความระมัดระวังและอยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.medicalnewstoday.com/articles/161255
- https://www.webmd.com/drugs/2/drug-1082-3/aspirin-oral/aspirin-oral/details
- https://www.nhs.uk/medicines/low-dose-aspirin/
- https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a682878.html
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น