โรคแอสเพอร์เกอร์ ซินโดรมคืออะไร
โรคแอสเพอร์เกอร์เป็นหนึ่งในโรคที่เกิดจากความผิดปกติของระบบประสาท หรือกลุ่มอาการออทิสซึ่ม โรคแอสเพอร์เกอร์เป็นโรคที่ไม่รุนแรง ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการดังนี้:- มีปัญหาการเข้าสังคม
- มีอาการย้ำคิดย้ำทำ
- ยืนหยัดในสิ่งที่ตัวเองคิด
- จดจ่อกับกฎต่าง ๆ และกิจวัตรประจำวัน
อาการของ Asperger’s syndrome
อาการของแอสเพอร์เกอร์นั้นแตกต่างกันไปในแต่ละคน แต่เด็กที่เป็นโรคนี้มักจะสนใจในเรื่องที่เฉพาะเจาะจง เด็กที่เป็นโรคแอสเพอร์เกอร์อาจมีความสนใจในเรื่องตารางรถไฟ ไดโนเสาร์ เป็นต้น ซึ่งความสนใจเหล่านี้มักไม่ถูกสนใจเมื่อนำไปพูดคุยกับเพื่อนวัยเดียวกัน หรือผู้ใหญ่ ผู้ที่เป็นโรคแอสเพอร์เกอร์จะไม่รู้ตัวว่าอีกฝ่ายกำลังพยายามเปลี่ยนเรื่องคุยอยู่ นี่เป็นหนึ่งในเหตุผลที่เด็กที่เป็นโรคนี้มีปัญหาในการเข้าสังคม พวกเขาจะไม่สามารถที่จะเข้าใจการแสดงออกทางสีหน้า และภาษากายได้ ผู้ที่เป็นโรคนี้หลายคนมองกว่าการรับรู้ถึงความรู้สึกของคนอื่นนั้นเป็นเรื่องยาก การหลีกเลี่ยงการสบตาในขณะที่พูดเป็นเรื่องปกติของคนที่เป็นโรคนี้ ผู้ที่เป็นโรคนี้อาจพูดน้ำเสียงโทนเดียว และมีการแสดงออกทางสีหน้าที่ไม่หลากหลาย พวกเขาอาจมีปัญหาการลดระดับเสียงเพื่อให้เหมาะสมกับที่ ๆ อยู่ในบางครั้ง เด็กที่เป็นโรคแอสเพอร์เกอร์อาจมีปัญหาเกี่ยวกับการเคลื่อนไหว เช่น การวิ่ง หรือการเดิน เด็กเหล่านี้อาจไม่สามารถเข้าร่วม หรือทำกิจกรรมบางอย่างได้ เช่น ปีนป่าย หรือปั่นจักรยานสาเหตุ
การเปลี่ยนแปลงในสมองเป็นสาเหตุของหลาย ๆ อาการในผู้ที่เป็นแอสเพอร์เกอร์ อย่างไรก็ตาม แพทย์ยังไม่สามารถบอกได้ว่าอะไรที่เป็นสาเหตุของการเปลี่ยนแปลงนั้น ปัจจัยทางพันธุกรรม และการสัมผัสสารพิษในสิ่งแวดล้อม เช่น สารเคมี หรือไวรัส เป็นส่วนหนึ่งของการทำให้เกิดโรคนี้ เด็กผู้ชายมีแนวโน้มที่จะเกิดโรคนี้มากกว่าเด็กผู้หญิงการรักษาอย่างไร
โรคแอสเพอร์เกอร์ไม่มีวิธีรักษาให้หายขาด อย่างไรก็ตาม มีการรักษาหลายอย่างที่สามารถลดอาการของโรคนี้ได้ และให้เด็กได้แสดงศักยภาพอย่างเต็มที่ การรักษานั้นขึ้นอยู่กับอาการของเด็กแต่ละคน ยาที่ใช้รักษาได้แก่:- aripiprazole (Abilify) เพื่อลดอาการหงุดหงิด
- guanfacine (Tenex) olanzapine (Zyprexa) และ naltrexone (ReVia)เพื่อลดอาการสมาธิสั้น
- selective serotonin reuptake inhibitors (SSRIs) เพื่อลดการย้ำคิดย้ำทำ
- risperidone (Risperdal Consta) เพื่อลดอาการกระวนกระวาย และนอนไม่หลับ
- การฝึกทักษะทางสังคม
- การบำบัดภาษา และการพูด
- กิจกรรมบำบัด
- กายภาพบำบัด
- การบำบัดทางความคิด และพฤติกรรม
นี่คือที่มาในบทความของเรา
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น