กลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด (Antiphospholipid Syndrome) – อาการ การวินิจฉัย การดูแล

ภาพรวม

กลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด คือ กลุ่มโรคที่เกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิต้านทานเข้าใจผิดแล้วสร้างแอนติบอดี้ขึ้นมา ซึ่งทำให้เลือดเกิดการแข็งตัวขึ้น ภาวะนี้เป็นสาเหตุที่เป็นอันตรายในการทำให้เลือดแข็งตัวที่ขา ไต ปอด และสมอง ในหญิงตั้งครรภ์กลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิดอาจส่งผลให้เกิดการแท้งบุตร และทารกเสียชีวิตในครรภ์ ยังไม่ทางรักษากลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด แต่มีตัวยาที่สามารถลดความเสี่ยงในการเกิดการแข็งตัวของเลือดได้

อาการ

สัญญาน และอาการของกลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิดคือ:
  • เกิดลิ่มเลือดที่ขา (DVT) สัญญานของ DVT คือมีอาการปวด บวม และแดง ลิ่มเลือดนี้สามารถเดินทางต่อไปยังปอด (โรคลิ่มเลือดอุดตันในปอด) 
  • มีภาวะแท้งบุตรซ้ำ หรือภาวะทารกตายในครรภ์ ภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์อื่นๆซึ่งรวมไปถึงความดันโลหิตสูงที่เป็นอันตราย (ภาวะครรภ์เป็นพิษ) และการคลอดก่อนกำหนด
  • โรคหลอดเลือดสมอง สามารถเกิดขึ้นในเด็กที่มีกลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด แต่ยังไม่รู้ปัจจัยความเสี่ยงสำหรับโรคหัวใจ และหลอดเลือด
  • ภาวะสมองขาดเลือดชั่วคราว (TIA) คล้ายกับโรคหลอดเลือดสมอง ภาวะ TIA มักเกิดขึ้นเพียงสองสามนาที และเป็นสาเหตุของการเสียหายชั่วคราว 
  • ขึ้นผื่น ในบางคนอาจมีผื่นขึ้นคล้ายลูกไม้ มีรูปแบบคล้ายตาข่า
สัญญาน และอาการที่พบได้น้อยมากคือ:
  • ระบบประสาท และสมอง ปวดศีรษะเรื้อรังรวมถึงปวดไมเกรน สมองเสื่อม และชัก อาจเกิดขึ้นเมื่อมีลิ่มเลือดไปอุดกั้นการไหลเวียนของเลือดที่เป็นส่วนหนึ่งของสมอง
  • โรคหลอดเลือด และสมอง กลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิดสามารถสร้างความเสียหายต่อลิ้นหัวใจ
  • เลือดออก ในบางคนเซลล์เม็ดเลือดที่ใช้ในการแข็งตัวของเลือดอาจลดลง ซึ่งสามารถเป็นสาเหตุของการมีเลือดไหล อาจออกมาจากทางจมูก และเหงือก อาตออกมมาทางผิวหนังโดยจะปรากฏให้เห็นเป็นแผ่นที่มีจุดเล็กๆสีแดงบนผิว

ควรไปพบแพทย์เมื่อไร

ติดต่อแพทย์หากคุณมีเลือดออกที่ไม่สามารถอธิบายได้จากจมูก หรือเหงือก มีรอบเดือนออกมากผิดปกติ อาเจียนมีสีแดงจางๆ หรือมีสีคล้ายเม็ดกาแฟบด ถ่ายอุจจาระสีดำคล้ำ หรือมีสีแดงจางๆ หรือปวดท้องโดยไม่ทราบสาเหตุ พบแพทย์ฉุกเฉินหากพบว่ามีสัญญาน และอาการดังต่อไปนี้:
  • โรคหลอดเลือดสมอง มีลิ่มเลือดที่สมองที่เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการเหน็บชากระทันหัน อ่อนแรง หรือใบหน้า แขน หรือขาเป็นอัมพาต อาจมีปัญหาด้านการพูด หรือพูดฟังไม่เข้าใจ ภาพเบลอ และปวดศีรษะรุนแรง
  • โรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด หากลิ่มเลือดหลุดรอดเข้าไปในปอด คุณอาจหายใจสั้นกระทันหัน เจ็บหน้าอก และไอมีเมือกเลือดออกมา
  • ภาวะลิ่มเลือดอุดตันในหลอดเลือดดำส่วนลึก สัญญาน และอาการคือบวม แดง หรือเจ็บที่ขา หรือแขน

สาเหตุ

กลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิดเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิต้านทานเข้าใจผิดจึงสร้างแอนติบอดี้ขึ้นมาทำให้เลือดมีการแข็งตัวมากกว่าปกติ แอนติบดี้ปกติจะทำหน้าที่ปกป้องร่างกายจากผู้บุกรุก เช่นเชื้อไวรัส และแบคทีเรีย กลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิดอาจเป็นสาเหตุของโรคดังต่อไปนี้ เช่น โรคระบบภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตนเอง การติดเชื้อหรือโรคบางชนิด การเกิดภาวะนี้อาจเกิดขึ้นโดยไม่ทราบสาเหตุก็ได้เช่นกัน อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ โรคจากระบบภูมิคุ้มกัน Antiphospholipid Syndrome

ปัจจัยความเสี่ยง

ปัจจัยความเสี่ยงในการเกิดกลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด คือ
  • เพศ โรคนี้มักเกิดขึ้นกับผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย
  • โรคระบบภูมิต้านทาน มีโรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตัวเองอื่นๆ เช่นโรคลูปัส หรือกลุ่มอาการโจเกรน เป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดกลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด
  • การติดเชื้อ โรคนี้คือโรคที่มีการติดเชื้อบางอย่าง เช่นโรคซิฟิลิส เอชไอวี/ref=”https://ihealzy.com/hiv-and-aids-0126/”>เอดส์ โรคตับอักเสบซีหรือโรคไลม์
  • ยารักษาโรค ยาบางชนิดมีส่วนกับการเกิดกลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด ซึ่งรวมถึงยาไฮดราลาซีนสำหรับรักษาความดันโลหิตสูง ยาควินิดีนสำหรับควบคุมจังหวะการเต้นของหัวใจ ยาเฟนิโทอิน(ไดแลนติน)สำหรับต้านชัก และยาปฏิชีวนะอะม็อกซิลิน
  • ประวัติครอบครัว โรคนี้บางครั้งอาจ้ป็นโรคทางกรรมพันธุ์
อาจเป็นไปได้ว่าแอนติบอดี้อาจมีส่วนร่วมกับกลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิดได้โดยไม่จำเป็นต้องเกิดสัญญาน หรืออาการใดๆ แต่อย่างไรก็ตามการมรแอนติบอดี้นี้ก็จะเป็นการเพิ่มความเสี่ยงในการเกิดการแข็งตัวของเลือดอยูดี โดยเฉพาะหากคุณ
  • เริ่มตั้งครรภ์
  • ไม่มีการเคลื่อนไหวช่วงเวลาหนึ่ง เช่นต้องนอนพักบนเตียง หรือการนั่งในระหว่างบินนานๆ
  • มีการผ่าตัด
  • สูบบุหรี่
  • รับประทานยาคุมกำเนิด หรือมีการบำบัดเอสโตรเจนสำหรับวัยทอง
  • มีระดับคอเรสเตอรอล และไตรกลีเชอร์ไรด์สูง

ภาวะแทรกซ้อน

ขึ้นอยู่กับว่าอวัยวะส่วนไหนที่เกิดผลกระทบจากลิ่มเลือด และการอุดตันการไหลเวียนของเลือดอย่างรุนแรงไปยังอวัยวะส่วนใด กลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิดหากทิ้งไว้ไม่รักษาอาจทำให้เกิดความเสียหายต่ออวัยวะถาวรหรืออวัยวะตาย ภาวะแทรกซ้อนคือ:
  • ไตวาย เป็นผลมาจากการไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงไตลดลง
  • โรคหลอดเลือดสมอง การไหลเวียนของเลือดที่ไปเลี้ยงสมองลดลงเป็นสาเหตุของโรคหลอดเลือดสมอง ซึ่งอาจส่งผลให้ระบบประสามเสียหายถาวร เช่นอัมพาตบางส่วน และการสูญเสียการพูด
  • โรคหัวใจ และหลอดเลือด การเกิดลิ่มเลือดที่ขาสามารถสร้างความเสียหายให้กับลิ้นในหลอดเลือด ซึ่งเป็นตัวช่วยทำให้เลือดไหลไปยังหัวใจ อาจส่งผลให้เกิดอาการบวมเรื้อรัง และขาส่วนล่างมีการเปลี่ยนสี ภาวะแทรกซ้อนที่อาจเกิดขึ้นอื่นๆคือหัวใจได้รับความเสียหาย
  • ปัญหาปอด สิ่งนี้รวมไปถึงความดันโลหิตสูงในปอด และโรคลิ่มเลือดอุดกั้นในปอด
  • ภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ ซึ่งรวมไปถึงภาวะแท้งบุตร ทารกตายในครรภ์ การคลอดก่อนกำหนด การเจริญเติบโตของทารกล่าช้า และมีภาวะความดันเลือดสูงอย่างชนิดเป็นอันตรายในระหว่างการตั้งครรภ์ (ภาวะครรภ์เป็นพิษ)

การวินิจฉัยโรค

หากคุณเคยมีลิ่มเลือด หรือภาวะแท้งซ้ำซากที่ไม่สามารถอธิบายได้โดยโรคทางสุขภาพ แพทย์อาจสั่งตรวจเลือดเพื่อหาการเกิดลิ่มเลือดที่ผิดปกติ และเพื่อหาแอนติบอดี้ของฟอสโฟลิพิด เพื่อเป็นการยืรยันการวินิจฉัยกลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิดจะต้องเจอแอนติบอดี้ในเลือดอย่างน้อยสองครั้ง ในการตรวจซ้ำโดยเว้นช่วง 12 สัปดาห์ หรือมากกว่านั้น คุณอาจมีแอนติบอดี้แอนติฟอสโฟลิพิด และไม่เคยแสดงสัญญานหรืออาการใดๆ การวินิจฉัยกลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิดตือทำได้เมื่อมีแอนติบอดี้นี้เป็นสาเหตุของสุขภาพเท่านั้น

การรักษา

หากคุณมีภาวะลิ่มเลือด การรักษาเบื้องต้นตามมาตราฐานคือ การรักษาร่วมกับการรับประทานยาเจือจางเลือด ส่วนใหญ่คือ ยาเฮพาริน และวาร์ฟาริน (คูมาดิน แจนโทเวน) ยาเฮพาริน คือ ยาออกฤทธิ์เร็ว และส่งต่อได้ผ่านการฉีด ยาวาร์ฟารินมักมาในรูปแบบเม็ด และรับประทานหลายวันเพื่อเห็นผล ส่วนยาแอสไพรินคือยาเจือจางเลือด เมื่อรับประทานยาเจือจางเลือด คุณอาจเพิ่มความเสี่ยงภาวะเลือดไหล แพทย์จะติดตามปริมาณยาพร้อมกับการตรวจเลือดเพื่อให้แน่ใจว่าเลือดของคุณจะสามารถแข็งตัวได้มากพอที่จะหยุดการไหลของเลือดเมื่อเกิดบาดแผลหรือมีเลือดออกใต้ผิวหนังจากรอยฟกช้ำ

การทดสอบประสิทธิภาพของยาใหม่ทางคลีนิก

เป็นการทดสอบการรักษาแบบใหม่ การแทรกแซง และการทดสอบเพื่อเป็นการป้องกัน ค้นหา รักษา หรือจัดการกับโรคการจัดการกลุ่มอาการแอนไทฟอสโฟไลปิด (APS) มักเกี่ยวข้องกับการใช้ยาที่มุ่งลดความเสี่ยงของลิ่มเลือดและจัดการกับอาการเฉพาะที่เกี่ยวข้องกับภาวะดังกล่าว ยาหลักที่ใช้ในการรักษา APS คือยาต้านการแข็งตัวของเลือดหรือที่เรียกว่าทินเนอร์เลือด ต่อไปนี้เป็นยาทั่วไปบางส่วนที่กำหนดให้กับบุคคลที่มี APS:
  • วาร์ฟาริน (คูมาดิน):
      • Warfarin เป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือดในช่องปากที่ทำงานโดยรบกวนความสามารถของร่างกายในการใช้วิตามินเคซึ่งเป็นปัจจัยสำคัญในการแข็งตัวของเลือด จำเป็นต้องมีการตรวจสอบอัตราส่วนระหว่างประเทศปกติ (INR) เป็นประจำเพื่อให้แน่ใจว่าเลือดยังคงอยู่ในระดับการแข็งตัวของเลือดที่ต้องการ วาร์ฟารินมีประสิทธิภาพแต่ต้องมีการจัดการและติดตามอย่างระมัดระวัง เนื่องจากอาจมีปฏิกิริยากับอาหารและยาอื่นๆ
  • เฮปาริน :
      • เฮปารินเป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือดแบบฉีดซึ่งมักใช้ในสภาวะเฉียบพลัน เช่น ในโรงพยาบาล โดยทั่วไปแล้วเฮปารินที่แยกส่วนจะได้รับการบริหารผ่านทางหลอดเลือดดำ ในขณะที่เฮปารินที่มีน้ำหนักโมเลกุลต่ำ (LMWH) จะถูกฉีดเข้าใต้ผิวหนัง LMWH อาจถูกกำหนดไว้เพื่อใช้ในระยะยาวในบางกรณี และไม่จำเป็นต้องได้รับการตรวจสอบบ่อยครั้ง เช่น วาร์ฟาริน
  • แอสไพริน:
      • แอสไพรินเป็นยาต้านเกล็ดเลือดที่ช่วยป้องกันการเกิดลิ่มเลือด มักใช้ร่วมกับยาต้านการแข็งตัวของเลือด โดยเฉพาะในบุคคลที่มี APS ที่ไม่มีประวัติลิ่มเลือดที่สำคัญ โดยทั่วไปแอสไพรินจะรับประทานในขนาดที่ต่ำกว่า (81 ถึง 100 มก.) เนื่องจากมีฤทธิ์ต้านเกล็ดเลือด
  • Rivaroxaban (ซาเรลโต) และ Apixaban (Eliquis):
      • ยาเหล่านี้เป็นยาต้านการแข็งตัวของเลือดแบบรับประทานรุ่นใหม่ที่ทำงานโดยการยับยั้งปัจจัยการแข็งตัวของเลือดที่เฉพาะเจาะจง มีข้อดีตรงที่ไม่ต้องติดตามผลบ่อยๆ เมื่อเทียบกับวาร์ฟาริน อย่างไรก็ตามอาจไม่เหมาะสำหรับทุกคน และควรพิจารณาการใช้งานอย่างรอบคอบตามสถานการณ์ของแต่ละบุคคล
สิ่งสำคัญที่ควรทราบก็คือ การเลือกใช้ยาและแผนการรักษา APS จะขึ้นอยู่กับปัจจัยต่างๆ รวมถึงความรุนแรงของอาการ การมีลิ่มเลือด และการพิจารณาด้านสุขภาพของแต่ละบุคคล นอกจากนี้ แผนการรักษาอาจมีการปรับเปลี่ยนเมื่อเวลาผ่านไป โดยขึ้นอยู่กับการตอบสนองต่อยาและการเปลี่ยนแปลงสถานะสุขภาพของแต่ละบุคคล

การดำเนินชีวิตและการเยียวยาที่บ้าน

ขึ้นอยู่กับแผนการรักษาสำหรับกลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด และเพิ่มเติมขั้นตอนเข้าไปเพื่อปกป้องสุขภาพของคุณ หากคุณรับประทานยาเจือจางเลือดควรเพิ่มการดูแลเป็นพิเศษจากการให้ตัวเองได้รับบาดเจ็บ และหลีกเลี่ยงการทำให้เลือดออก
  • หลีกเลี่ยงกีฬาที่ต้องสัมผัสกัน หรือการทำกิจกรรมอื่นๆที่อาจเป็นสาเหตุให้มีรอยฟกช้ำ หรือบาดเจ็บหรือล้ม
  • ใช้แปรงสีฟันชนิดอ่อนนุ่ม และใช้ไหมขัดฟันชนิดสีผึ้ง
  • โกนหนวดด้วยเครื่องโกนหนวดไฟฟ้า
  • ระวังเป็นพิเศษเมื่อต้องใช้มีด กรรไกร และอุปกรณ์มีคมอื่นๆ

อาหารและการรับประทานอาหารเสริม

อาหารบางชนิด และยาอาจส่งผลกระทบต่อการทำงานเจือจางเลือด ปรึกษาแพทย์สำหรับคำแนะนำเกี่ยวกับ:
  • ทางเลือกโภชนาการที่ปลอดภัย วิตามินเคสามารถลดประสิทธิภาพของยาวอร์ฟารินได้ แต่ไม่ใช่กับยาเจือจางเลือดอื่นๆ คุณอาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงการรับประทานอาหารที่มีวิตามินเคสูงเช่น อะโวคาโด บล็อคโคลี่ กะหล่ำดาว กระหล่ำปลี ผักใบเขียวและถั่วลูกไก่ น้ำแครนเบอรี่ และแอลกอฮอล์อาจเพิ่มผลกระทบต่อยาเจือจางเลือด ปรึกษาแพทย์หากคุณต้องการจำกัด หรือหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มเหล่านี้
  • ยาที่มีความปลอดภัยและอาหารเสริม ยาบางชนิด วิตามิน และผลิตภัณฑ์สมุนไพรสามารถเกิดปฏิกิริยากับยาวอร์ฟาริน ซึ่งรวมถึงยาที่หาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไปเช่นบรรเทาอาการปวด ยาแก้หวัด ยาแก้ปวดท้อง หรือวิตามินรวม รวมไปถึงกระเทียม ใบแปะก๋วย และผลิตภัณฑ์ชาเขียว

การเตรียมตัวสำหรับการนัดหมาย

ภาวะแทรกซ้อนของกลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด – เช่น DVT โรคหลอดเลือดสมอง หรือภาวะแท้งซ้ำซาก – ต้องไปพบแพทย์ ขึ้นอยู่กับภาวะแทรกซ้อนของคุณ คุณอาจต้องไปพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในโรคหลอดเลือด และสมอง สูติแพทย์ หรือนักโลหิตวิทยา ต่อไปนี้คือข้อมูลเพื่อช่วยเตรียมความพร้อมสำหรับการนัดหมาย

สิ่งที่ควรทำ

ข้อควรระวังในการเตรียมตัวพบแพทย์ ควรเตรียมคำถามล่วงหน้าในสิ่งที่คุณต้องการรู้ มีรายละเอียดดังต่อไปนี้:
  • สัญญานหรืออาการที่เป็น และเริ่มมีอาการเมื่อไร
  • จดข้อมูลส่วนตัวลงไป รวมไปถึงเหตุการณ์หลักๆ หรือการเปลี่ยนแปลงในชีวิต
  • ข้อมูลด้านยา รวมถึงโรคอื่นๆ หรือการติดเชื้อของคุณ และประวัติทางครอบครัว โดยเฉพาะกับญาติสนิทที่เคบเป็นกลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด
  • ยาทุกชนิด วิตามิน และอาหารเสริม ทุกชนิดที่รับประทานรวมถึงปริมาณยา
  • คำถามที่อยากทราบ จากแพทย์
สำหรับกลุ่มอาการต้านฟอสโฟลิพิด บางคำถามที่ควรถามแพทย์คือ:
  • สาเหตุที่ทำให้เกิดอาการส่วนใหญ่คือ อะไร 
  • ต้องตรวจอะไรบ้าง 
  • มีคำแนะนำในการรักษาอะไรบ้าง 
  • มีวิธีประเมินว่าการรักษาได้ผลอย่างไร 
  • โรคนี้เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอื่นๆ หรือไม่ 
  • โรคนี้เพิ่มความเสี่ยงต่อปัญหาสุขภาพในระหว่างการตั้งครรภฺหรือไม่ มีการรักษาเพื่อลดความเสี่ยงหรือไม่ 
อย่าลังเลที่จะถามคำถามเหล่านี้

สิ่งที่คาดหวังจากแพทย์

แพทย์อาจถามคำถามคุณดังต่อไปนี้เช่น:
  • คุณเคยมีประวัติของโรคหลอดเลือด หรือการเกิดลิ่มเลือด หรือไม่ 
  • คุณเคยมีประวัติของภาวะแทรกซ้อนในการตั้งครรภ์ เช่นความดันโลหิตสูง ภาวะแท้งบุตร หรือภาวะทารกตายในครรภ์ หรือไม่ 
  • คุณเคยเป็นโรคลูปัส หรือโรคภูมิต้านทานเนื้อเยื่อตนเอง หรือไม่ 
  • คุณเคยเป็นโรคติดเชื้อทางเพศสัมพันธ์ หรือโรคไวรัสเรื้อรังเช่นไวรัสตับอักเสบหรือไม่ 
  • คุณเคยมีอาการปวดศีรษะบ่อยๆ หรือไม่ 
  • เคยสังเกตเห็นรอบผื่นแดงคล้ายตาข่ายบนข้อมือ หรือหัวเข่า หรือไม่?
  • สูบบุหรี่ หรือไม่ 
อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ เลิกบุหรี่ทำอย่างไร

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.nhs.uk/conditions/antiphospholipid-syndrome/
  • https://www.rheumatology.org/I-Am-A/Patient-Caregiver/Diseases-Conditions/Antiphospholipid-Syndrome
  • https://rarediseases.info.nih.gov/diseases/5824/antiphospholipid-syndrome
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด