ยาลดกรด (Antacid) : วิธีใช้ และผลข้างเคียง 

ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
ยาลดกรด

 ชนิดของยา Antacid

  • เจล/เยลลี่
  • ยาเม็ด
  • ยาน้ำแขวนตะกอน
  • ยายาลดกรดแบบเม็ดเคี้ยว
  • ยาน้ำ
  • ยาผงซองเล็กๆ
  • แคปซูล
  • เม็ดขนาดเล็ก
  • เม็ดฟู่ละลายน้ำ
  • ยาผง

การใช้ยาลดกรดไหลย้อน

ยาลดกรดใช้รับประทาน เพื่อลดอาการแสบร้อนกลางอก ปวดท้อง และกรดไหลย้อน ออกฤทธิ์โดยการลดกรดส่วนเกิน ยาบางชนิดผสม Simethicone ซึ่งช่วยลดอาการที่เกิดจากแก๊สในกระเพาะอาหารมากไป ยาลดกรดอย่างเดียวหรือผสม Simethicone มักใช้รักษาอาการของแผลในกระเพาะอาหารหรือลำไส้เล็ก หากใช้ปริมาณที่มากกว่าปกติ ยาลดกรดที่ผสมแมกนีเซียมไฮดรอกไซด์ และแมกนีเซียมออกไซด์จะมีฤทธิ์เป็นยาระบาย ข้อมูลต่อไปนี้เป็นข้อมูลของการใช้ยาเพื่อลดกรดเท่านั้น ยาลดกรดบางชนิด เช่น อลูมินั่มคาร์บอเนตและอลูมินั่มไฮดรอกไซด์ อาจให้รับประทานพร้อมกับอาหารที่มีฟอสเฟตน้อย เพื่อป้องกันภาวะฟอสเฟตในเลือดสูง และยังใช้ป้องกันการก่อตัวของนิ่วในไตด้วย อลูมินั่มไฮดรอกไซด์สามารถใช้รักษาโรคอื่นๆได้ด้วย ยาเหล่านี้ซื้อได้ตามร้านขายยา แต่อาจจำเป็นต้องกำหนดปริมาณยาที่เหมาะสมโดยแพทย์  อาหารก็สำคัญ ควรแจ้งให้แพทย์ผู้รักษาทราบ หากคุณกำลังรับประทานอาหารโซเดียมต่ำ เพราะยาลดกรดบางชนิดมักจะมีโซเดียมในปริมาณสูง

ก่อนเริ่มใช้ยาลดกรดในกระเพาะ 

อาการแพ้ 

แจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณมีอาการแพ้ยาในกลุ่มนี้ หรือยาชนิดอื่น และหากคุณเคยมีอาการแพ้ชนิดใดๆ เช่น สีผสมอาหาร สารกันบูด หรือสัตว์ต่างๆ ถ้าหากซื้อยาด้วยตนเอง ควรอ่านฉลากยาให้ละเอียด

เด็ก 

เด็กอายุต่ำกว่า 6 ปี ไม่ควรกินยาลดกรด ยกเว้นแพทย์จะสั่ง เพราะเด็กไม่อาจบอกอาการได้ดี แพทย์ต้องตรวจร่างกายก่อน เด็กอาจเป็นโรคอื่นซึ่งยาลดกรดไม่ช่วยให้ดีขึ้น แต่อาจมีผลทำให้เลวลงด้วย และยาที่มีส่วนประกอบของอลูมินั่มและแมกนีเซียมนั้นไม่ควรให้เด็กกินเพราะอาจเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรงในเด็ก โดยเฉพาะกับเด็กที่มีโรคของไตหรืออยู่ในภาวะขาดนำ้

คนชรา 

คนชราที่มีปัญหาเกี่ยวกับกระดูกหรืออัลไซเมอร์ ไม่ควรใช้ยาลดกรดที่มีอลูมินั่ม เพราะจะทำให้อาการเลวลง

ทารกในครรภ์ 

มีรายงานว่ายาลดกรดมีผลข้างเคียงต่อทารกในครรภ์ที่มารดารับประทานยาลดกรดนานๆ ในปริมาณมากขณะตั้งครรภ์ ดังนั้นควรหลีกเลี่ยงยาลดกรดที่มีโซเดียมหากคุณกำลังตั้งครรภ์

มารดาที่กำลังให้นมบุตร Breast Feeding

ยาลดกรดที่มีอลูมินั่ม แคลเซียมหรือแมกนีเซียม อาจจะซึมเข้าไปในน้ำนมแม่ได้ แต่ก็ยังไม่พบรายงานใดๆ ว่า ก่อให้เกิดปัญหาในทารกที่ดื่มนมแม่

ปฏิกิริยาต่อยาอื่น 

แม้ว่ายาบางชนิดไม่ควรใช้ร่วมกันเด็ดขาด แต่บางครั้งอาจจำเป็น โดยแพทย์จะปรับปริมาณยา และป้องกันด้วยวิธีอื่นๆที่จำเป็น หากคุณกำลังใช้ยาชนิดใดชนิดหนึ่งตามรายการด้านล่าง ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ เพื่อพิจารณาตามความจำเป็น ไม่ควรใช้ยาลดกรดร่วมกับยาต่อไปนี้ โปรดแจ้งแพทย์เพื่อที่จะทำการตัดสินใจ
  • Amantadine
  • Atropine
  • Belladonna
  • Belladonna Alkaloids
  • Benztropine
  • Bepridil
  • Biperiden
  • Cisapride
  • Clidinium
  • Darifenacin
  • Dicyclomine
  • Dronedarone
  • Eplerenone
  • Fesoterodine
  • Glycopyrrolate
  • Hyoscyamine
  • Mesoridazine
  • Methscopolamine
  • Oxybutynin
  • Pimozide
  • Piperaquine
  • Procyclidine
  • Saquinavir
  • Scopolamine
  • Solifenacin
  • Sparfloxacin
  • Terfenadine
  • Thioridazine
  • Tolterodine
  • Trihexyphenidyl
  • Trospium
  • Ziprasidone

ปฏิกิริยาต่ออาหาร/ยาสูบ/ แอลกอฮอล์

ยาบางชนิดไม่ควรรับประทานร่วมกับอาหารบางชนิด เพราะอาจเกิดปฏิกิริยา รวมทั้งการดื่มแอลกอฮอล์หรือใช้ยาสูบอาจเกิดปฏิกิริยาได้เช่นกัน ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับเรื่องนี้

โรคอื่นๆ

การใช้ยานี้อาจมีผลต่อโรคอื่นๆ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบหากคุณมีโรคอื่นอยู่ด้วย โดยเฉพาะ โรคดังต่อไปนี้
  • อัลไซเมอร์( ไม่ควรใช้ยาลดกรดที่มีอลูมินั่ม)
  • ไส้ติ่งอักเสบ (หรือมีอาการ)
  • ริดสีดวงทวาร
  • กระดูกหัก
  • ลำไส้อักเสบ
  • ท้องผูก(รุนแรง และต่อเนื่อง)
  • ลำไส้อุดตัน
  • มีเลือดออกในลำไส้หรือทวารหนัก ยาลดกรดอาจทำให้อาการแย่ลง
  • ผ่าตัดลำไส้ใหญ่หรือลำไส้เล็กออกทางหน้าท้อง
  • ลำไส้อักเสบ การใช้ยาลดกรดอาจทำให้ร่างกายเก็บน้ำและเกลือแร่ เช่น โซเดียมและโพแทสเซียมไว้มาก
  • เท้าหรือปลายขาบวม
  • โรคหัวใจ
  • โรคตับ
  • ครรภ์เป็นพิษ ยาลดกรดที่มีโซเดียมทำให้ร่างกายเก็บน้ำไว้
  • โรคไต ยาลดกรดทำให้มีอลูมินั่ม แคลเซียมหรือแมกนีเซียมในเลือดสูง เสี่ยงต่อการเกิดผลข้างเคียงที่รุนแรง
  • Sarcoidosis การใช้ยาลดกรดที่มีแคลเซียมอาจทำให้เกิดปัญหากับไต หรือมีแคลเซียมในเลือดสูง
  • ต่อมพาราไทรอยด์ทำงานน้อย การใช้ยาลดกรดที่มีแคลเซียมทำไห้มีแคลเซียมในเลือดสูง
การใช้ยาลดกรดอย่างเหมาะสม ผู้ป่วยที่ใช้ยาลดกรดชนิดเคี้ยว 
  • ควรเคี้ยวยาให้ละเอียดก่อนกลืน เพื่อให้ยาออกฤทธิ์ได้เร็วและมีประสิทธิภาพ
ผู้ป่วยที่เป็นแผลในกระเพาะอาหารและลำไส้เล็ก 
  • รับประทานยาให้ตรงเวลาเสมอ เพื่อบรรเทาอาการได้ดีที่สุด
  • รับประทานยา 1 หรือ 3 ชั่วโมงหลังอาหาร และก่อนนอนเพื่อให้ได้ผลดีที่สุด  หรือรับประทานตามคำแนะนำแพทย์
ผู้ป่วยที่รับประทานอลูมินั่ม คาร์บอเนตหรือ อลูมินั่ม ไดออกไซด์ เพื่อป้องกันนิ่วในไต
  • ดื่มน้ำตามมากๆ เพื่อให้ได้ผลดีที่สุด เว้นแต่แพทย์สั่งเป็นอย่างอื่น
ผู้ป่วยที่รับประทานยาที่มีอลูมินั่ม คาร์บอเนต หรืออลูมินั่ม ไดออกไซด์เพื่อรักษาภาวะฟอสเฟตในเลือดสูง
  • แพทย์อาจให้คุณรับประทานอาหารฟอสเฟตต่ำ หากมีข้อสงสัยโปรดซักถามแพทย์

ปริมาณยา

ปริมาณของยาในกลุ่มนี้อาจแตกต่างกันไปในผู้ป่วยแต่ละคน โปรดรับประทานยาตามแพทย์สั่งหรือตามฉลากยา นี่เป็นข้อมูลทั่วไป ไม่ควรเพิ่มหรือลดปริมาณด้วยตนเอง ต้องปรึกษาแพทย์ทุกครั้ง ปริมาณยาที่คุณรับประทานนั้นขึ้นกับความแรงของยา และจำนวนครั้งที่รับประทานต่อวัน ช่วงห่างระหว่างมื้อ และช่วงเวลาที่ใช้ยานั้นขึ้นกับโรคของคุณ

หากลืมรับประทานยา 

หากลืมรับประทานยา ให้รับประทานทันทีที่นึกได้ แต่ถ้าใกล้เวลารับประทานมื้อต่อไป ให้รอรับประทานมื้อต่อไปเลย ไม่ควรเพิ่มยาเป็นสองเท่า

การเก็บรักษา 

เก็บไว้ให้พ้นจากมือเด็ก เก็บยาในภาชนะปิดสนิทที่อุณหภูมิห้อง พ้นจากความร้อน ความชื้นและแสงแดด ไม่นำไปแช่แข็ง ไม่ควรเก็บยาที่หมดอายุ หรือยาที่ไม่ใช้แล้วไว้Antacid

ข้อควรระวังเมื่อใช้ยานี้

หากแพทย์เป็นผู้สั่งยาให้ และคุณต้องรับประทานเป็นปริมาณมากหรือเป็นเวลานาน แพทย์จะนัดพบเป็นระยะ เพื่อให้แน่ใจว่ายาไม่ก่อให้เกิดผลที่ไม่ต้องการ ยาอาจมีผลต่อการตรวจบางอย่าง หากต้องมีการตรวจเกี่ยวกับกรดในกระเพาะอาหาร ควรแจ้งให้แพทย์ทราบว่าใช้ยานี้อยู่ ไม่ควรใช้ยาลดกรดในกรณีดังต่อไปนี้ ในผู้ป่วยที่รับประทานอาหารลดโซเดียม
  • ยาลดกรดบางชนิด(โดยเฉพาะที่มีโซเดียมไบคาร์บอเนต)จะมีโซเดียมสูง โปรดปรึกษาแพทย์ก่อนใช้งาน
ผู้ป่วยที่ใช้ยา เพื่อลดกรดในกระเพาะอาหาร
  • ไม่ควรรับประทานยานี้นานเกิน 2 เดือน เว้นแต่แพทย์สั่ง ยาลดกรดควรใช้เพื่อลดอาการเป็นครั้งคราว
  • หากยาลดกรดไม่ช่วยแก้ปัญหา หรืออาการไม่ดีขึ้น ควรปรึกษาแพทย์
  • การใช้ยาลดกรดที่มีแมกนีเซียมหรือโซเดียมไบคาร์บอเนตบ่อยๆ หรือปริมาณมากอาจทำให้ระบายท้อง โดยขึ้นกับความไวต่อยาของบุคคลนั้น
ผู้ป่วยที่รับประทานยาลดกรดที่ผสมอลูมินั่ม
  • ก่อนที่จะตรวจโดยใช้รังสีวิทยาใดๆ โปรดแจ้งแพทย์ให้ทราบหากมีการใช้ยานี้ เพราะผลที่ได้จากการตรวจสอบอาจจะผิดพลาด
ผู้ป่วยที่ใช้ยาลดกรดที่ผสมแคลเซียมหรือโซเดียมไบคาร์บอเนต
  • ไม่ควรรับประทานยาพร้อมกับนมหรือผลิตภัณฑ์นมปริมาณมาก เพราะจะทำให้เกิดผลข้างเคียงได้

ผลข้างเคียงของยาลดกรดในกระเพาะอาหาร

ยามีทั้งผลดี และผลข้างเคียงที่ไม่ต้องการ แม้ว่าจะไม่เกิดผลข้างเคียงทั้งหมด แต่ถ้ามันเกิดขึ้นคุณอาจต้องได้รับการดูแล แม้ว่าผลข้างเคียงของยาเกิดได้น้อยมาก หากรับประทานตามที่กำหนดให้ แต่หากรับประทานมากไป นานไป หรือเป็นผู้ป่วยโรคไต ก็อาจเกิดผลข้างเคียงที่ไม่ต้องการได้ หากมีอาการดังต่อไปนี้ ควรไปพบแพทย์ทันที ยาลดกรดที่มีอลูมินั่ม  ยาลดกรดที่มีแคลเซียม
  • ท้องผูก(รุนแรงและต่อเนื่อง)
  • ปัสสาวะลำบากและปวด
  • ปวดปัสสาวะบ่อย
  • ปวดศีรษะต่อเนื่อง
  • เบื่ออาหารต่อเนื่อง
  • อารมณ์ จิตใจเปลี่ยนแปลง
  • กล้ามเนื้อปวดหรือกระตุก
  • คลื่นไส้หรืออาเจียน
  • วิตกกังวล  
  • หายใจช้า
  • รู้สึกรสชาติแปลกๆ ในปาก
  • เหนื่อย อ่อนเพลียผิดปกติ
ยาลดกรดที่มีแมกนีเซียม
  • ปัสสาวะลำบากและปวด
  • มึนงง วิงเวียนศีรษะ
  • รู้สึกไม่สบายต่อเนื่อง
  • หัวใจเต้นผิดจังหวะ
  • เบื่ออาหารต่อเนื่อง
  • อารมณ์ จิตใจเปลี่ยนแปลง
  • กล้ามเนื้ออ่อนแรง
  • เหนื่อยอ่อน อ่อนเพลียผิดปกติ
  • น้ำหนักลดผิดปกติ
ยาลดกรดที่มีโซเดียมไบคาร์บอเนต
  • กลั้นปัสสาวะไม่อยู่
  • ปวดศีรษะต่อเนื่อง
  • เบื่ออาหารต่อเนื่อง
  • กล้ามเนื้อปวดหรือกระตุก
  • คลื่นไส้หรืออาเจียน
  • กังวล อยู่ไม่สุข
  • หายใจช้า
  • รู้สึกรสแปลกๆในปาก
  • เหนื่อย อ่อนเพลียผิดปกติ
  • ขาส่วนล่างหรือเท้าบวม
ผลข้างเคียงบางอย่างอาจไม่ต้องการการรักษา มันอาจหายไปเองเมื่อร่างกายปรับตัวให้เข้ากับยาได้แล้ว แพทย์อาจให้คำแนะนำวิธีลดหรือป้องกันผลข้างเคียงได้ ปรึกษาแพทย์หากผลข้างเคียงเหล่านี้ยังเกิดต่อเนื่องหรือทำให้คุณลำบากหรือมีคำถามใดๆ ผลข้างเคียงที่พบได้บ่อย
  • รสชาติเหมือนมีปูนในปาก
ผลข้างเคียงที่พบได้น้อย
  • ท้องผูก (เล็กน้อย)
  • ท้องเสียหรือระบายท้อง
  • กระหายน้ำมาก
  • อุจจาระมีจุดสีขาว หรือเป็นสีขาว
  • ปวดเกร็งท้อง
ผลข้างเคียงอื่นๆ ที่ไม่ได้กล่าวถึงอาจเกิดได้กับผู้ป่วยบางคน หากคุณพบว่ามีสิ่งผิดปกติ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบ 

เมื่อไหร่ที่ควรใช้ยาลดกรด

ยาลดกรดเป็นยาที่จำหน่ายทั่วไปตามร้านขายยาซึ่งใช้ในการบรรเทาอาการกรดไหลย้อน กรดไหลย้อน และอาหารไม่ย่อย ออกฤทธิ์โดยการทำให้กรดในกระเพาะเป็นกลางเพื่อบรรเทาอาการเหล่านี้ในระยะสั้น โดยทั่วไปแล้วยาลดกรดจะปลอดภัยและสามารถใช้ได้ในสถานการณ์ต่างๆ ต่อไปนี้เป็นสถานการณ์ทั่วไปที่คุณอาจใช้ยาลดกรด:
  • แสบร้อนกลางอก:หากคุณมีอาการแสบร้อนกลางอกหรือไม่ย่อยเป็นครั้งคราว คุณสามารถใช้ยาลดกรดเพื่อบรรเทาอาการไม่สบายและแสบร้อนได้ ยาลดกรดออกฤทธิ์เร็วและบรรเทาอาการได้ชั่วคราว
  • หลังมื้ออาหารรสเผ็ดหรือเมื่อทานอิ่มเกินไป:หากคุณทานอาหารรสเผ็ด มันเยิ้ม หรือมื้อหนักเป็นพิเศษจนทำให้รู้สึกไม่สบายหรือกรดไหลย้อน การใช้ยาลดกรดสามารถช่วยบรรเทาอาการเหล่านี้ได้
  • อาการอาหารไม่ย่อยที่เป็นกรด:สำหรับผู้ที่มีอาการอาหารไม่ย่อยที่เป็นกรด สามารถรับประทานยาลดกรดได้เมื่อมีอาการเพื่อทำให้กรดในกระเพาะอาหารส่วนเกินเป็นกลางและบรรเทาอาการไม่สบาย
  • โรคกรดไหลย้อน:ยาลดกรดอาจใช้เป็นส่วนหนึ่งของแผนการจัดการระยะสั้นสำหรับโรคกรดไหลย้อน โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีอาการไม่รุนแรงหรือไม่บ่อยนัก อย่างไรก็ตาม ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาระยะยาวสำหรับโรคกรดไหลย้อน
  • ปวดท้องเป็นครั้งคราว:ยาลดกรดสามารถช่วยบรรเทาอาการได้หากคุณมีอาการปวดท้องที่ทำให้เกิดอาการไม่สบายและมีอาการที่เกี่ยวข้องกับกรด
  • อาหารและเครื่องดื่มที่เป็นกรด:สามารถใช้ยาลดกรดได้ก่อนรับประทานอาหารหรือเครื่องดื่มที่เป็นกรดซึ่งคุณรู้ว่าอาจทำให้เกิดอาการเสียดท้องหรือไม่ย่อยได้
สิ่งสำคัญคือต้องใช้ยาลดกรดตามที่ระบุไว้บนฉลากผลิตภัณฑ์หรือตามคำแนะนำของผู้ให้บริการด้านสุขภาพ หลักเกณฑ์ทั่วไปบางประการที่ควรคำนึงถึงเมื่อใช้ยาลดกรด ได้แก่:
  • ปฏิบัติตามคำแนะนำในการใช้ยาที่แนะนำ
  • อย่าให้เกินปริมาณที่แนะนำ เนื่องจากการใช้มากเกินไปอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น อิเล็กโทรไลต์ไม่สมดุล
  • อย่าใช้ยาลดกรดเป็นวิธีแก้ปัญหาระยะยาวสำหรับภาวะที่เกี่ยวข้องกับกรดเรื้อรัง เช่น โรคกรดไหลย้อน อาการเรื้อรังจำเป็นต้องได้รับการประเมินและการจัดการทางการแพทย์ที่เหมาะสม
หากคุณมีอาการกรดไหลย้อน แสบร้อนกลางอก หรืออาหารไม่ย่อยบ่อยครั้งหรือรุนแรง หรือหากอาการยังคงอยู่แม้ว่าจะใช้ยาลดกรดก็ตาม สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษาผู้ให้บริการด้านสุขภาพ อาการเหล่านี้สามารถบ่งบอกถึงสภาวะทางเดินอาหารที่อาจต้องมีการประเมินและการรักษาเพิ่มเติม ในกรณีเช่นนี้ ผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพสามารถให้การประเมินที่ครอบคลุมและแนะนำวิธีการรักษาที่เหมาะสมได้

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/drugs/2/drug-76860-769/antacid-oral/aluminum-magnesium-antacid-simethicone-oral/details
  • https://pubmed.ncbi.nlm.nih.gov/2729939/
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด