การแพ้อย่างรุนแรง (Anaphylaxis) – อาการ สาเหตุ การรักษา 

Anaphylaxis คืออะไร 

สำหรับบางคนที่มีอาการแพ้รุนแรง การสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้มีอันตรายถึงชีวิต ทำให้เกิดปฏิกริยาแพ้รุนแรง (Anaphylaxis) การแพ้ที่รุนแรงนี้เป็นปฏิกริยาที่เกิดขึ้นกับพิษ อาหาร หรือยา ในกรณีส่วนใหญ่จะเกิดจากการที่ถูกผึ้งต่อย หรือการกินอาหารที่ทำให้แพ้ เช่น ถั่วลิสง  Anaphylaxis ทำให้เกิดอาการรุนแรง เช่น ผื่น ชีพจรต่ำ และช็อค เรียกว่า Anaphylactic shock เป็นอันตรายถึงชีวิต และต้องได้รับการรักษาทันที  เมื่อคุณได้รับการวินิจฉัยแล้ว แพทย์จะแนะนำให้มียา Epinephrine ติดตัวคุณไว้ตลอดเวลา ยานี้จะทำให้อาการที่จะเกิดขึ้นในอนาคตไม่เป็นอันตรายถึงชีวิต 

อาการแพ้อย่างรุนแรง

อาการต่าง ๆ จะเกิดขึ้นทันทีหลังการสัมผัสกับสารก่อภูมิแพ้ มีดังนี้: อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ ไอเรื้อรัง

Anaphylaxis

สาเหตุ 

ร่างกายสัมผัสกับสิ่งแปลกปลอม ทำให้แอนติบอดี้ในร่างกายปกป้องตัวเองจากสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้น ในกรณีส่วนใหญ่ ร่างกายจะไม่ทำปฏิกริยากับแอนติบอดี้ที่ถูกปล่อยออกมา อย่างไรก็ตาม ในกรณีของผู้ที่มีอาการแพ้รุนแรง ระบบภูมิคุ้มกันจะตอบสนองมากเกินไปทำให้เกิดปฏิกริยาแพ้ทั่วร่างกาย  สาเหตุส่วนใหญ่ของอาการแพ้รุนแรงมาจาก ยา ถั่ว แมลงกัดต่อย ปลา หอย และนม สาเหตุอื่น ๆ สามมรถมาจากการออกกำลังกาย และยางต่าง ๆ  อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ แพ้อาหารทะเล 

การรักษา 

เรียกรถพยาบาลทันที หากคุณ หรือใครก็ตามที่มีอาการแพ้รุนแรง  หากคุณกำลังช่วยคนที่มีอาการแพ้ อย่าลืมที่จะโทรหารถพยาบาลก่อน ให้พวกเขานอนหงายราบกับพื้น ยกเท้าขึ้น 12 นิ้ว และห่มผ้าให้  หากคน ๆ นั้นถูกแมลงต่อย ใช้การ์ดพลาสติกกด 1 นิ้วต่ำกว่าบริเวณที่ถูกต่อย เลื่อนการ์ดขึ้นไปหารอยต่อยช้า ๆ เมื่อการ์ดอยู่ใต้เหล็กในให้งัดการ์ดขึ้นเพื่อเอาเหล็กในออก หลีกเลี่ยงการใช้แหนบ การบีบจะทำให้พิษออกมามากขึ้น หากคน ๆ นั้นมียาแก้แพ้ ให้เขากินยาแก้แพ้ หากเขาหายใจลำบาก ไม่ควรพยายามให้กลืนยา  หากผู้ป่วยหยุดหายใจอาจต้องทำซีพีอาร์  ที่โรงพยาบาล ผู้ที่มีอาการแพ้จะถูกให้ Epinephrine ซึ่งเป็นยาที่ใช้ลดอาการแพ้ หากคุณรับประทานยานี้ไปแล้ว ให้แจ้งให้ผู้ที่ดูแลทราบ  นอกจากนี้ คุณอาจถูกให้ออกซิเจน ยาแก้แพ้ หรือ Fast-acting beta-agonist แบบสูดดม  อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจ ยาลดน้ำมูก

อาการแทรกซ้อน 

บางคนอาจเกิดอาการช็อคจากการแพ้รุนแรง อาจเกิดการหยุดหายใจ เพราะทางเดินหายใจถูกขัดขวางเนื่องจากการอักเสบของทางเดินหายใจ บางครั้ง อาการแพ้รุนแรงสามารถทำให้หัวใจวายได้ อาการแทรกซ้อนเหล่านี้เป็นอันตรายถึงชีวิต 

วิธีป้องกันอาการแพ้ 

หลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้ หากคุณมีความเสี่ยงที่จะมีอาการแพ้รุนแรง คุณควรมียา Epinephrine ติดตัวเสมอเพื่อช่วยบรรเทาอาการแพ้ที่อาจจะเกิดขึ้น  ยานี้มีเป็นแบบฉีดที่ขะอยู่ในเข็มฉีดยาเล็ก ๆ ที่พร้อมใช้เสมอ เมื่อคุณเริ่มมีอาการเเพ้ ให้ฉีดยานี้เข้าไปที่ต้นขา และควรตรวจดูวันหมดอายุของยาเสมอ   มีขั้นตอนบางอย่างที่คุณสามารถทำได้เพื่อลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการแพ้และจัดการกับอาการแพ้ คำแนะนำทั่วไปมีดังนี้:
  • ระบุและหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น:
      • ขั้นตอนแรกในการจัดการกับโรคภูมิแพ้คือการระบุและหลีกเลี่ยงสิ่งกระตุ้น หากคุณรู้ว่าคุณแพ้อาหาร ยา หรือปัจจัยด้านสิ่งแวดล้อมบางชนิด ให้ทำตามขั้นตอนเพื่อลดการสัมผัสให้น้อยที่สุด
  • สร้างแผนการดูแลตัวเองเมื่อมีภูมิแพ้:
      • ทำงานร่วมกับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณเพื่อสร้างแผนปฏิบัติการด้านภูมิแพ้เฉพาะบุคคล แผนนี้อาจรวมถึงข้อมูลเกี่ยวกับอาการแพ้เฉพาะของคุณ การติดต่อในกรณีฉุกเฉิน และคำแนะนำในการใช้อะดรีนาลีน หากมีการกำหนดไว้
  • จัดการสารก่อภูมิแพ้ต่อสิ่งแวดล้อม:
      • ทำตามขั้นตอนในการจัดการสารก่อภูมิแพ้ในสิ่งแวดล้อม เช่น เกสรดอกไม้ ไรฝุ่น  ซึ่งอาจรวมถึงการใช้เครื่องฟอกอากาศ ปิดหน้าต่างในช่วงฤดูที่มีละอองเกสรดอกไม้สูง และทำความสะอาดพื้นที่อยู่อาศัยเป็นประจำ
  • รับประทานอาหารเพื่อสุขภาพ:
      • การรับประทานอาหารที่สมดุลและดีต่อสุขภาพอาจช่วยให้ระบบภูมิคุ้มกันโดยรวมมีสุขภาพที่ดีได้ อย่างไรก็ตาม สิ่งสำคัญที่ต้องทราบก็คือการเยียวยาตามธรรมชาติเพียงอย่างเดียวไม่เพียงพอที่จะรักษาหรือป้องกันภาวะภูมิแพ้
  • พิจารณาโปรไบโอติก:
    • งานวิจัยบางชิ้นชี้ให้เห็นว่าโปรไบโอติกอาจมีบทบาทในการปรับระบบภูมิคุ้มกันและอาจลดความเสี่ยงต่อการเกิดอาการแพ้ได้ อย่างไรก็ตาม ยังจำเป็นต้องมีการวิจัยเพิ่มเติม และบุคคลที่เป็นโรคภูมิแพ้ขั้นรุนแรงไม่ควรพึ่งพาโปรไบโอติกเพียงอย่างเดียวในการป้องกัน
สิ่งสำคัญคือต้องย้ำว่าภาวะภูมิแพ้เป็นเหตุฉุกเฉินทางการแพทย์ และการให้ยาอะพิเนฟรีนโดยทันทีถือเป็นสิ่งสำคัญ ปฏิบัติตามคำแนะนำของผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพของคุณเสมอและปฏิบัติตามแผนการรักษาที่คุณกำหนดไว้ หากคุณพบอาการของโรคภูมิแพ้ ให้ไปพบแพทย์ทันทีหรือโทรเรียกบริการฉุกเฉิน
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด