แอมีลอยโดซิสคืออะไร?
แอมีลอยโดซิสคือโรคหรือภาวะที่เกิดจากการมีสารโปรตีนผิดปกติชนิดหนึ่งที่เรียกว่า แอมีลอย เข้าไปจับตัวอยู่ในร่างกายและทำให้อวัยวะนั้นเสียหาย รวมถึงเป็นสาเหตุทำให้อวัยวะนั้นล้มเหลว โรคนี้พบได้ยากแต่ก็เป็นโรคที่มีความรุนแรง
แอมีลอยโดซิสส่งผลต่ออวัยวะต่างๆเช่น:
-
หัวใจ
-
ไต
-
ลำไส้
-
ข้อต่อ
-
ตับl
-
ระบบประสาท
-
ผิวหนัง
-
เนื่อเยื่ออ่อน
บางครั้งแอมีลอยก็ไปสะสมอยู่ทั่วร่างกาย ที่เรียกว่าโรคอะมีลอยโดซิสทั่วกาย
โรคอะมีลอยโดซิสโดยทั่วไปมักไม่สามารถป้องกันได้ แต่อย่างไรก็ตามผู้ป่วยยังสามารถจัดการกับอาการที่เกิดขึ้นได้ด้วยการรักษา
ชนิดของโรคและสาเหตุมีอะไรบ้าง?
ไขกระดูกตามปกติแล้วนั้นจะทำหน้าที่ผลิตเซลล์ต้นกำเนิดของเม็ดเลือดชนิดต่างๆเพื่อลำเลียงออกซิเจนให้แก่ร่างกายและต่อสู้กับเชื้อโรค รวมถึงช่วยเรื่องการแข็งตัวของเลือด
นอกจากนี้ยังโรคอะมีลอยโดซิสอีกชนิดหนึ่งคือการติดเชื้อต่อสู้กับเซลล์เม็ดเลือดขาว(เซลล์พลาสม่า)ในการไขกระดูกทำให้เกิดการผลิตสารโปรตีนผิดปกติที่เรียกว่าอะมีลอย โปรตีนชนิดนี้จะจับตัวรวมเป็นกลุ่มก้อนและร่างกายไม่สามารถทำลายได้
สาเหตุหลักๆของโรคอะมีลอยโดซิสมาจากการสะสมของสารอะมีลอยตามอวัยวะต่างๆของร่างกาย ชนิดของอะมีลอยขึ้นอยู่กับว่ารูปแบบของโรคของผู้ป่วยเป็นชนิดไหน โดยแบ่งออกดังต่อไปนี้:
ชนิดLight chain (AL) amyloidosis: เป็นชนิดที่พบได้บ่อยมากที่สุด เกิดขึ้นเมื่อสารโปรตีนผิดปกติที่เรียกว่า light chains (เส้นเบา) ไปสะสมอยู่ในอวัยวะต่างๆเช่นที่บริเวณหัวใจ ไต ตับและผิวหนัง ชนิดนี้มักเรียกว่า primary amyloidosis
ชนิดAutoimmune (AA) amyloidosis: ชนิดนี้จะเกิดขึ้นหลังเกิดการติดเชื้อเช่นวัณโรคหรือเกิดจากโรคที่มีการอักเสบเช่นโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ หรือโรคลำไส้อักเสบเรื้อรัง พบว่ากว่าครึ่งของผู้ป่วยที่เป็นชนิด AA จะมีโรคข้ออักเสบรูมาตอยด์ร่วมด้วย โรคอะมีลอยโดซิสชนิด AA ส่วนใหญ่จะส่งผลกระทบต่อไต บางครั้งอาจทำความเสียหายให้ต่อลำไส้ ตับและหัวใจด้วย ชนิดนี้เรามักเรียกว่า secondary amyloidosis
ชนิด Dialysis-related amyloidosis: ชนิดนี้ส่งผลกระทบต่อผู้ป่วยที่ต้องฟอกไตมาเป็นเวลานานเป็นผลทำให้ไตมีปัญหา และสารอะมีลอยนี้ยังไปสะสมอยู่ในข้อต่อและเอ็นทำให้เป็นสาเหตุของอาการปวดเกร็ง
ชนิด Hereditary (familial) amyloidosis: เป็นชนิดที่พบได้ยาก มีสาเหตุมาจากกรรมพันธุ์ มักส่งผลกระทบต่อระบบประสาท หัวใจ ตับและไต
ชนิด Senile amyloidosis: ชนิดนี้มักส่งผลต่อหัวใจในผู้สูงอายุ
อาการของโรคอะมีลอยโดซิส
โรคอะมีลอยโดซิสในช่วงระยะแรกอาจไม่แสดงอาการให้เห็นชัดเจน แต่จะเห็นความผิดปกติเมื่อโรคเริ่มรุนแรงขึ้น ซึ่งอาการที่แสดงออกมาแต่ละคนขึ้นอยู่กับอวัยวะใดของร่างกายที่ได้รับผลกระทบ
หากโรคเกิดสารอะมีลอยที่หัวใจ ผู้ป่วยอาจมีอาการดังต่อไปนี้:
-
หายใจสั้น
-
หัวใจเต้นผิดจังหวะ เร็วบ้างช้าบ้าง
-
ระดับความดันเลือดต่ำเป็นสาเหตุของอาการวิงเวียนศีรษะ
หากโรคเกิดขึ้นที่บริเวณไต ผู้ป่วยอาจมีอาการบวมที่ขาเกิดขึ้นเพราะของเหลวสะสม(อาการบวมน้ำ) หรือปัสสาวะเป็นฟองจากโปรตีนส่วนเกิน
หากเกิดขึ้นที่ตับ ผู้ป่วยอาจรู้สึกเจ็บปวดและมีอาการบวมที่ช่องท้องส่วนบน
หากเกิดขึ้นที่ระบบทางเดินอาหาร ผู้ป่วยอาจมีอาการดังต่อไปนี้:
-
ท้องเสีย
-
น้ำหนักลด
-
รู้สึกแน่นและจุกหลังรับประทานอาหาร
หากมีสารอะมีลอยในระบบประสาท ผู้ป่วยอาจมีอาการดังต่อไปนี้:
-
รู้สึกเจ็บ ชา และเป็นเหน็บที่มือ เท้าและน่อง
-
รู้สึกหน้ามืดเมื่อลุกขึ้นยืน
-
คลื่นไส้
-
ท้องเสีย
-
ความสามารถในการรับรู้หนาวรู้ร้อนลดลง
อาการทั่วไปที่อาจเกิดขึ้น:
-
เหนื่อยล้า
-
มีรอยช้ำที่รอบดวงตาหรือบนผิวหนัง
-
ลิ้นบวม
-
เจ็บตามข้อ
-
กลุ่มอาการประสาทมือชา หรืออาการชาและเป็นเหน็บที่มือและนิ้วหัวแม่มือ
หากมีอาการต่างๆเหล่านี้มากเกินกว่า1-2วันควรไปพบแพทย์
ผู้ที่มีความเสี่ยง
ทุกคนมีความเสี่ยงต่อโรคอะมีลอยโดซิสทั้งสิ้น ปัจจัยเสี่ยงอาจเพิ่มมากขึ้นเนื่องจาก:
-
อายุ: ผู้ป่วยส่วนใหญ่ที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นชนิดที่พบได้บ่อยคือชนิด AL amyloidosis เป็นผู้ที่มีอายุมากกว่า 50 ปีขึ้นไป
-
เพศ: พบว่าเพศชายเป็นโรคนี้มากกว่า 70 เปอร์เซ็นต์
-
เชื้อชาติ: พบว่าคนแอฟริกันอเมริกันมีความเสี่ยงสูงในการเกิดโรคอะมีลอยโดซิสชนิดกรรมพันธ์ุได้สูงกว่าคนเชื้อชาติอื่น
-
ผู้ที่มีประวัติทางครอบครัว: โรคอะมีลอยโดซิสชนิดกรรมพันธุ์สามารถส่งต่อกันในครอบครัวได้
-
ประวัติการใช้ยา: การติดเชื้อหรือมีโรคที่ทำให้เกิดอาการอักเสบทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคอะมีลอยโดซิสชนิดAAมากขึ้น
-
ผู้ที่มีปัญหาที่ไต: หากผู้ป่วยมีโรคไตและมีความจำเป็นต้องฟอกไต คุณก็จะเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงสูง การฟอกไตไม่สามารถกำจัดโปรตีนใหญ่ๆออกจากเลือดได้ดังนั้นจึงส่งผลต่อการทำงานของไต
วินิจฉัยอย่างไร?
แพทย์จะสอบถามอาการและประวัติการใช้ยา อาการของโรคอะมีลอยโดซิสอาจคล้ายกับโรคอื่นๆทำให้การวินิจฉัยทำได้ยาก ดังนั้นสิ่งสำคัญคือผู้ป่วยต้องบอกอาการที่เกิดขึ้นให้แพทย์ทราบอย่างละเอียด เพื่อไม่ให้เกิดการวินิจฉัยโรคผิดพลาด
แพทย์อาจใช้การตรวจสอบดังต่อไปนี้เพื่อช่วยในการวินิจฉัยเพิ่มเติม
ตรวจเลือดและตรวจปัสาวะ: เพื่อช่วยหาระดับสารโปรตีนอะมีลอย การตรวจเลือดยังจะสามารถตรวจเช็คการทำงานของไทรอยด์และตับได้ด้วย
การตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงความถี่สูง (Echocardiogram): เพื่อตรวจสอบการทำงานและขนาดของหัวใจ
การตัดชิ้นเนื้อตรวจ: การตรวจสอบด้วยวิธีนี้แพทย์จะตัดชิ้นเนื้อเยื่อตัวอย่างจากตับ เส้นประสาท ไต หัวใจ ไขมันหน้าท้องหรืออวัยวะส่วนอื่นๆ จากนั้นนำไปวิเคราะห์เพื่อแยกประเภทชนิดของโรคอะมีลอยโดซิสได้
การเจาะไขกระดูกและตัดชิ้นเนื้อ: การเจาะไขกระดูกคือการนำเข็มเล็กๆเข้าไปที่กระดูกแล้วดูดน้ำไขกระดูกออกมาเล็กน้อย และการตัดเนื้อไขกระดูกก็จะเป็นการตัดเอาเนื้อเยื่อจากด้านในกระดูกออกมาตรวจ การตรวจทั้งสองแบบอาจทำพร้อมกันหรือทำแยกกันได้ นอกจากนี้การนำตัวอย่างชิ้นเนื้อไปส่งตรวจยังสามารถหาความผิดปกติของเซลล์ได้เช่นกัน
เมื่อได้รับผลการตรวจทั้งหมดแล้ว แพทย์จะสามารถหาชนิดของโรคได้ นอกจากนี้ยังมีวิธีการตรวจประเภทอื่น เช่นการย้อมพิเศษทางอิมมูโนฮีสโตเคมี(immunochemical staining) และการตรวจหาโปรตีนและการเผาผลาญสารอาหารโปรตีน(protein electrophoresis)
รักษาโรคอะมีลอยโดซิสอย่างไร?
โรคอะมีลอยโดซิสไม่สามารถรักษาได้ จุดประสงค์หลักของการรักษาโรคนี้คือทำให้การสร้างสารโปรตีนอะมีลอยช้าลงและลดอาการต่างๆที่เกิดขึ้น
การรักษาทั่วไป
การใช้ยาเป็นตัวช่วยในการควบคุมอาการของโรคดังต่อไปนี้:
-
ยาบรรเทาอาการปวด
-
ใช้ยาเพื่อจัดการกับอาการท้องเสีย คลื่นไส้และอาเจียน
-
ใช้ยาขับปัสสาวะเพื่อกำจัดน้ำส่วนเกินออกจากร่างกาย
-
ใช้ยาเจือจางเลือดเพื่อป้องกันการเกิดลิ่มเลือด
-
ใช้ยาเพื่อควบคุมอัตราการเต้นของหัวใจ
การดูแลรักษาโรคอะมีลอยโดซิสจะขึ้นอยู่กับประเภทที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วย
การรักษาโรคอะมีลอยโดซิสชนิด AL
การรักษานี้จะใช้วิธีเคมีบำบัด โดยปกติยาเคมีบำบัดนำมาใช้เพื่อรักษาโรคมะเร็ง แต่สามารถใช้กับโรคนี้ได้เช่นกัน โดยเมื่อนำมาใช้กับโรคอะมีลอยโดซิสตัวยาจะไปทำลายเซลล์เม็ดเลือดที่ผิดปกติที่เป็นตัวการในการสร้างโปรตีนอะมีลอยขึ้น หลังจากการได้รับเคมีบำบัดผู้ป่วยอาจต้องใช้สเต็มเซลล์ การปลูกถ่ายไขกระดูกมาทดแทนเซลล์ไขกระดูกที่ถูกทำให้เสียหายไป
การใช้ยาบางตัวก็อาจช่วยรักษาโรคอะมีลอยโดซิสแบบAIได้ เช่น:
ยากลุ่ม Proteasome inhibitors: เป็นยาสำหรับยับยั้งโพรทีเอโซมซึ่งช่วยทำลายโปรตีนได้
การใช้สารปรับปรุงภูมิคุ้มกัน: เป็นสารที่ยับยั้งการตอบสนองภูมิคุ้มกันของร่างกาย
การรักษาอะมีลอยโดซิสชนิด AA
การรักษาชนิดนี้จะรักษาตามอาการที่เกิดขึ้น หากมีการติดเชื้อแบคทีเรียจะรักษาด้วยยาปฏิชีวนะ ส่วนหากเกิดการอักเสบจะทำการรักษาด้วยยาแก้อักเสบ
การรักษาชนิด Dialysis-related amyloidosis
ผู้ป่วยสามารถรักษาชนิดนี้ด้วยการเปลี่ยนรูปแบบการฟอกไตที่ผู้ป่วยได้รับ หรืออาจใช้ทางเลือกอื่นเช่นการปลูกถ่ายไต
การรักษาโรคอะมีลอยโดซิสที่เกิดพันธุกรรม
ชนิดของโรคชนิดนี้เกิดจากโปรตีนที่ผิดปกติที่มาจากตับ ผู้ป่วยอาจต้องทำการปลูกถ่ายตับ
ภาวะแทรกซ้อนของโรคอะมีลอยโดซิส
โรคอะมีลอยโดซิสอาจสร้างความเสียหายให้กับอวัยวะต่างๆที่สารดังกล่าวไปสะสมอยู่เช่น:
หัวใจ: โรคอะมีลอยโดซิสจะไปขัดขวางการทำงงานของหัวใจ ส่งผลให้การเต้นของหัวใจไม่มีประสิทธิภาพ อะมีลอยในหัวใจเป็นสาเหตุให้การสูบฉีดของหัวใจทำงานอ่อนแรงอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการหายใจหอบเหนื่อยและมีอัตราความดันเลือดต่ำ ซึ่งอาจนำไปสู่ภาวะหัวใจล้มเหลวได้ในที่สุด
ไต: อาจส่งผลกระทบต่อการขับของเสียออกจากเลือดและทำให้ไตทำงานหนักเกินไป นำไปสู่ภาวะไตวายได้
ระบบประสาท: เมื่ออะมีลอยไปสะสมอยู่ที่ระบบประสาทและทำความเสียหาย จะทำให้ผู้ป่วยมีอาการเจ็บปวด ชารู้สึกคล้ายถูกเข็มทิ่มที่นิ้วเท้าและนิ้วมือหรืออาจเกิดผลกระทบต่อระบบประสาทอื่นๆ เช่นระบบที่ควบคุมการทำงานของลำไส้หรือความดันโลหิต
การใช้ชีวิตกับโรคอะมีลอยโดซิส
การใช้ชีวิตร่วมกับโรคอะไมลอยด์ซิสได้ ซึ่งเป็นกลุ่มความผิดปกติที่พบไม่บ่อยที่เกิดจากการสะสมโปรตีนอะไมลอยด์อย่างผิดปกติในอวัยวะและเนื้อเยื่อต่างๆ ของร่างกาย สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษากับผู้ให้บริการด้านการดูแลสุขภาพที่มีคุณสมบัติเหมาะสมเพื่อขอคำแนะนำเฉพาะบุคคล คำแนะนำทั่วไปมีดังนี้:- การจัดการทางการแพทย์: ทำงานอย่างใกล้ชิดกับทีมดูแลสุขภาพของคุณ รวมถึงผู้เชี่ยวชาญ เช่น นักโลหิตวิทยา นักไตวิทยา หรือแพทย์โรคหัวใจที่มีประสบการณ์ในการรักษาโรคอะไมลอยโดซิส พวกเขาจะช่วยสร้างแผนการรักษาส่วนบุคคลตามประเภทและความรุนแรงของอาการของคุณ
- ยา: ขึ้นอยู่กับชนิดของอะไมลอยโดซิส แพทย์ของคุณอาจสั่งยาเพื่อจัดการกับอาการและชะลอการลุกลามของโรค สิ่งเหล่านี้อาจรวมถึงยาเคมีบำบัด ยากระตุ้นภูมิคุ้มกัน หรือยาเพื่อควบคุมอาการของอวัยวะบางอย่าง
- อาหารและโภชนาการ: ผู้ที่เป็นโรคอะไมลอยด์ซิสบางคนอาจจำเป็นต้องปรับเปลี่ยนอาหารตามอาการและอวัยวะที่ได้รับผลกระทบ ทำงานร่วมกับนักโภชนาการที่ลงทะเบียนเพื่อสร้างอาหารที่สมดุลซึ่งตรงกับความต้องการทางโภชนาการของคุณและสนับสนุนสุขภาพโดยรวมของคุณ
- การบริโภคของเหลวและเกลือ: การจัดการการบริโภคของเหลวและเกลืออาจมีความสำคัญ ขึ้นอยู่กับประเภทของอะไมลอยโดซิส โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากโรคนี้ส่งผลต่อไตหรือหัวใจของคุณ แพทย์จะแนะนำคุณเกี่ยวกับระดับที่เหมาะสมสำหรับอาการของคุณ
- การติดตามผลอย่างสม่ำเสมอ: การตรวจสุขภาพเป็นประจำมีความสำคัญอย่างยิ่งในการติดตามอาการของคุณ การจัดการอาการ และปรับแผนการรักษาตามความจำเป็น ติดต่อกับทีมดูแลสุขภาพของคุณและรายงานการเปลี่ยนแปลงด้านสุขภาพของคุณ
- การดูแลแบบประคับประคอง: โรคอะไมลอยโดซิสอาจทำให้เกิดอาการได้หลายอย่าง รวมถึงความเหนื่อยล้า ความเจ็บปวด และความผิดปกติของอวัยวะ ทีมดูแลสุขภาพของคุณสามารถช่วยจัดการกับอาการเหล่านี้ได้ด้วยการใช้ยา กายภาพบำบัด เทคนิคการจัดการความเจ็บปวด และมาตรการสนับสนุนอื่นๆ
- การปรับเปลี่ยนไลฟ์สไตล์: การเปลี่ยนการใช้ชีวิตอาจแนะนำให้เปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตบางอย่าง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับสถานการณ์เฉพาะของคุณ ซึ่งอาจรวมถึงการจัดการกับความเครียด การรักษาน้ำหนักให้แข็งแรง ออกกำลังกายให้แข็งแรง (หากเหมาะสมกับสภาพของคุณ) และหลีกเลี่ยงการสูบบุหรี่และดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป
- การสนับสนุนทางอารมณ์และจิตใจ: การมีชีวิตอยู่กับภาวะเรื้อรังอาจเป็นเรื่องท้าทายทางอารมณ์ ลองขอการสนับสนุนจากนักบำบัด ผู้ให้คำปรึกษา กลุ่มสนับสนุน หรือแม้แต่เพื่อนและครอบครัวเพื่อช่วยคุณรับมือกับแง่มุมทางอารมณ์ในการจัดการอาการของคุณ
- รับทราบข้อมูล: แจ้งตัวเองเกี่ยวกับสภาพของคุณ การทำความเข้าใจโรคอะไมลอยโดซิส อาการ และทางเลือกในการรักษาสามารถช่วยให้คุณมีส่วนร่วมในการดูแลของตนเองได้
- ตัวเลือกการรักษาขั้นสูง:ในบางกรณี การปลูกถ่ายอวัยวะหรือการปลูกถ่ายสเต็มเซลล์อาจถือเป็นทางเลือกในการรักษา โดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับโรคอะไมลอยด์ซิสบางประเภท หารือเกี่ยวกับความเป็นไปได้เหล่านี้กับทีมดูแลสุขภาพของคุณ
ภาพรวมของโรคอะมีลอยโดซิส
โรคอะมีลอยโดซิสไม่สามารถรักษาได้ แต่สามารถจัดการและควบคุมระดับอะมีลอยได้ด้วยการรักษา ควรปรึกษาแพทย์เกี่ยวกับทางเลือกในการรักษาและหาวิธีวางแผนการรักษา เพื่อช่วยปรับเปลี่ยนแผนการรักษาและอาการต่างๆที่เกิดขึ้น รวมถึงทำให้ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ตามปกติต่อไป
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/amyloidosis/symptoms-causes/syc-20353178
-
https://www.webmd.com/cancer/lymphoma/amyloidosis-symptoms-causes-treatments
-
https://www.nhs.uk/conditions/amyloidosis/
-
https://rarediseases.org/rare-diseases/amyloidosis/
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team