ยาอัลปราโซแลม มีชื่อทางการค้าอยู่หลายชื่อ อาทิ ซาแน็กซ์ (Xanax), อัลแน็กซ์ (Alnax) โดยในทางการแพทย์เราใช้อัลปราโซแลมในการบรรเทา หรือรักษาอาการวิตกกังวลและอาการตื่นกระหนก หรือจะใช้เป็นยานอนหลับ ซึ่งมีประสิทธิภาพดีในการรักษา
สิ่งที่ควรรู้
- อัลปราโซแลมถูกจัดอยู่ในกลุ่มยาเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepines : BZDs) ซึ่งเป็นกลุ่มยาทางจิตเวช
- ถูกนำมาใช้รักษากลุ่มโรควิตกกังวล ได้แก่ โรควิตกกังวลทั่วไป, โรควิตกกังวลร่วมกับมีอาการซึมเศร้า หรือโรคตื่นตระหนกหวาดกลัว
- อัลปราโซแลมเป็นยาอันตรายที่ต้องใช้ยาภายใต้การดูแลของแพทย์เท่านั้น ไม่ควรซื้อยามาทานเอง หรือหยุดยาเอง เพราะอาจก่อให้เกิดอาการถอนยาได้
- หากเกินอาการลมพิษ หายใจลำบาก เกิดอาการบวมที่ใบหน้า ริมฝีปาก ลิ้น หรือลำคอ และกลืนลำบาก ให้รีบหยุดยาและไปพบแพทย์ทันที เพราะนั่นอาจเป็นการallergy-0094/”>แพ้ยาที่รุนแรง อาจก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิตได้
ข้อบ่งใช้
รักษาผู้ป่วยที่มีความวิตกกังวลผิดปกติ ซึ่งมีอาการซึมเศร้าร่วมด้วยกลไกการออกฤทธิ์
กดประสาทส่วนกลาง โดยเสริมฤทธิ์ Gamma aminobutyric acid (GABA) ทำให้การยับยั้งและอุดกั้นการตื่นตัวของกระแสประสาททั้งส่วน Limbic และ Subcotical จึงทำให้สมองส่วนรับความรู้สึกถูกกด การเคลื่อนไหวจึงช้าลง การทำหน้าที่ของสมองเกิดการเปลี่ยนแปลง ทำให้เกิดอาการซึม มึนงง ง่วงหลับขนาดและวิธีใช้
แบบเม็ดรับประทานมีอยู่ด้วยกัน 4 ขนาด ได้แก่ 0.25, 0.5, 1.0 และ 2.0 มก. แนวทางการให้ยา- การใช้ยาในครั้งแรก แพทย์จะปรับขนาดยาอย่างช้าๆ เพื่อหลีกเลี่ยงผลข้างเคียงต่างๆ
- ในผู้สูงอายุหรือผู้ที่มีการทำงานของตับผิดปกติ ขนาดยาอาจต่ำกว่าปกติ
- หากต้องการหยุดยา แพทย์จะปรับขนาดยาลดลงอย่างช้าๆก่อนที่จะหยุดยา เช่นเดียวกับตอนเริ่มให้ยา
- หากลืมยา ให้คุณรับประทานยาทันทีที่นึกขึ้นได้ หากใกล้กับเวลายาของมื้อถัดไป ให้ข้ามไปทานยามื้อถัดไปตามเวลาปกติได้เลย โดยที่ไม่ต้องเพิ่มยาเป็นสองเท่า
- หากรับประทานยาเกินขนาด สามารถโทรปรึกษาศูนย์พิษวิทยา หรือหน่วยฉุกเฉิน 1669 เพื่อขอวิธีสังเกตตัวเองว่าใช้ยาเกินขนาดจริงหรือไม่ แล้วรีบมาโรงพยาบาล
- ในหญิงตั้งครรภ์ ยาอัลปราโซแลม จัดเป็นยากลุ่ม D หมายถึงเป็นยาอันตรายต่อพัฒนาการของตัวอ่อนในครรภ์มารดา อาจก่อให้เกิดภาวะพิการแต่กำเนิดได้ (Terratogenic effects) โดยเฉพาะหากใช้ยาในช่วงสามเดือนแรกของการตั้งครรภ์ รวมไปถึงการใช้ยาช่วงใกล้คลอดก็อาจมีผลเสียอื่นๆต่อทารกได้อีกด้วย
- ในหญิงที่ให้นมบุตร ยาไม่ปลอดภัยสำหรับการรับประทานขณะให้นมบุตร ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบหากคุณกำลังอยู่ในช่วงที่ต้องให้นมบุตร
- เก็บยาไว้ที่อุณหภูมิห้อง เก็บให้พ้นจากความร้อน, ความชื้น และมือเด็ก
อาการถอนยา
การหยุดยาโดยทันทีจะก่อให้เกิดอาการถอนยา (Withdrawal syndrome) ได้แก่- วิตกกังวล
- มีความคิดฆ่าตัวตาย
- นอนไม่หลับ
- การมองเห็นผิดปกติ
- อาการชัก
- เหงื่อออก มือสั่น หัวใจเต้นเร็ว
- พฤติกรรมก้าวร้าว
- ซึมเศร้า
- คลื่นไส้
ข้อควรระวัง
ไม่ควรใช้ยาร่วมกับแอลกอฮอร์ระหว่างที่คุณรับประทานยาอัลปราโซแลม เพราะอาจก่อให้เกิดผลข้างเคียงจากยาที่รุนแรงมากยิ่งขึ้น เช่น- อาการง่วงซึม
- สับสน
- เดินเซ
ผลข้างเคียงของยา
ผลข้างเคียงที่พบได้ทั่วไป ได้แก่- อาการง่วงซึม
- วิงเวียนศีรษะ มึนศีรษะ
- นอนไม่หลับ
- กล้ามเนื้อเกิดการเคลื่นไหวที่ผิดปกติ
- พูดช้าลง
- ความจำถดถอย
- เกิดผื่นลมพิษ
- หายใจลำบาก
- เกิดอาการบวมที่บริเวณ ริมฝีปาก ลิ้น ลำคอ หรือใบหน้า
- กลืนลำบาก
ปฏิกิริยาต่อกันของยา
- ยาในกลุ่มเบนโซไดอะซีปีน (Benzodiazepines : BZDs) : Clonazepam(Klonopin), Diazepem(Valium), Lorazepam(Ativan) หากใช้ร่วมกับยาแก้ปวดกลุ่มโอปิออยล์ (Opioids) : Tramadol, Oxycodone, Hydrocodone จะมีผลทำให้นอนกลับนานเกินไป กดการหายใจ หมดสติ หรืออาจถึงแก่ชีวิตได้
- ยาฆ่าเชื้อราบางชนิด : Ketoconazole(Nizoral), Diflucan(Fluconazole)
- ยารักษาจิตเภท : Aripiprazole
- ยาแก้ปวดชนิดเสพติด : Codeine, Hydrocodone
- ยารักษาโรคซึมเศร้า : ยากลุ่ม SSRIs (Selective Serotonin Reuptake Inhibitor) เช่น Fluoxetine
- ยากันชัก : Carbamazepine, Sodium valproate
- ยาแก้แพ้ที่ทำให้ง่วงนอน : Benadryl, Atarax
- ยาแก้แพ้กลุ่มยาต้านฮีสตามีน
- ยาปฏิชีวินะบางชนิด : Erythromycin, Rifampin(Rifampicin)
- ยาคุมกำเนิด
- ยาต้านเชื้อเอชไอวี
- ยาลดการหลั่งกรด (H2-blockers) : Ranitidine
- ยายับยั้งการหลั่งกรด (Proton pump inhibitor : PPIs) : Dexlansoprazole (Dexilant), Esomeprazole (Nexium), Lansoprazole (Prevacid), Omeprazole (Prilosec), Omeprazole (Zegerid), Pantoprazole (Protonix) หรือ Rabeprazole (Aciphex)
- ยาอื่นๆ : Amiodarone, Dexamethasone, Uniphyl(Theophylline), Digoxin
- ส้มโอ (Grapefruits) ส่งผลต่อการเปลี่ยนแปลงของฤทธิ์ยา
ใครที่ควรหลีกเลี่ยง Alprazolam
อัลปราโซแลมเป็นยาที่อยู่ในกลุ่มเบนโซไดอะซีพีน และมักใช้รักษาอาการวิตกกังวลและอาการตื่นตระหนก อย่างไรก็ตาม มีเงื่อนไขบางประการที่อาจห้ามใช้ยาอัลปราโซแลม และบุคคลทั่วไปไม่ควรรับประทานหรือควรใช้ด้วยความระมัดระวัง สิ่งสำคัญที่ควรทราบก็คือ การตัดสินใจเกี่ยวกับการใช้ยาอัลปราโซแลมควรปรึกษาแพทย์ ต่อไปนี้เป็นเงื่อนไขบางที่ไม่แนะนำให้ใช้อัลปราโซแลม:- ปฏิกิริยาการแพ้:
-
-
- บุคคลที่ทราบว่าแพ้อัลปราโซแลมหรือเบนโซไดอะซีปีนชนิดอื่น ควรหลีกเลี่ยงการรับประทานอัลปราโซแลม ปฏิกิริยาการแพ้อาจมีตั้งแต่ผื่นผิวหนังเล็กน้อยไปจนถึงปฏิกิริยารุนแรงและอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้
-
- โรคต้อหินมุมแคบเฉียบพลัน:
-
-
- Alprazolam สามารถเพิ่มความดันในลูกตาได้ และห้ามใช้ยานี้ในผู้ที่เป็นโรคต้อหินมุมแคบเฉียบพลัน
-
- โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงกราวิส:
-
-
- Alprazolam อาจทำให้อาการของโรค myasthenia Gravis แย่ลง ซึ่งเป็นโรคทางประสาทและกล้ามเนื้อที่มีลักษณะเฉพาะคือกล้ามเนื้ออ่อนแรงและเหนื่อยล้า บุคคลที่เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรงชนิดร้ายควรใช้อัลปราโซแลมด้วยความระมัดระวัง
-
- ประวัติการใช้ยาหรือแอลกอฮอล์ในทางที่ผิด:
-
-
- บุคคลที่มีประวัติเสพยาหรือแอลกอฮอล์ในทางที่ผิดอาจมีความเสี่ยงเพิ่มขึ้นที่จะติดยาอัลปราโซแลม ในกรณีเช่นนี้ ควรมีการประเมินผลประโยชน์และความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นอย่างรอบคอบ
-
- การตั้งครรภ์และให้นมบุตร:
-
-
- การใช้ยาอัลปราโซแลมในระหว่างตั้งครรภ์ โดยเฉพาะในช่วงไตรมาสแรก อาจสัมพันธ์กับความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของความผิดปกติแต่กำเนิด โดยทั่วไปควรหลีกเลี่ยงยาอัลปราโซแลมในระหว่างตั้งครรภ์และให้นมบุตร เว้นแต่ประโยชน์ที่ได้รับจะมีมากกว่าความเสี่ยง
-
- โรคตับอย่างรุนแรง:
-
-
- Alprazolam ถูกเผาผลาญในตับ และบุคคลที่มีความบกพร่องทางตับอย่างรุนแรงอาจจำเป็นต้องปรับขนาดยาหรือติดตามอย่างระมัดระวัง ในกรณีที่รุนแรง อาจจำเป็นต้องหลีกเลี่ยงยาอัลปราโซแลม
-
- การใช้งานร่วมกันกับ Ketoconazole และ Itraconazole:
-
- การบริหาร alprazolam ร่วมกับยาต้านเชื้อรา ketoconazole และ itraconazole มีข้อห้าม เนื่องจากอาจทำให้ความเข้มข้นของ alprazolam เพิ่มขึ้น
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
- https://www.webmd.com/drugs/2/drug-8171-7244/alprazolam-oral/alprazolam-oral/details
- https://www.medicalnewstoday.com/articles/alprazolam-oral-tablet
- https://medlineplus.gov/druginfo/meds/a684001.html
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น