โรคผมร่วงเป็นหย่อมคืออะไร
โรคผมร่วงเป็นหย่อม (Alopecia areata) เป็น ภาวะที่ผมร่วงเป็นหย่อมเล็ก ๆ ซึ่งสังเกตได้ยาก อย่างไรก็ตามอาการผมร่วงเป็นหย่อม ๆ เหล่านี้อาจเชื่อมต่อกันทำให้สังเกตเห็นได้ ภาวะเช่นนี้จะเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันทำลายเซลล์รากผม มีผลทำให้ผมร่วง
ผมร่วงอย่างกะทันหันอาจเกิดขึ้นที่หนังศีรษะ หรือในบางครั้งก็อาจเกิดขึ้นที่ คิ้ว ขนตา และใบหน้า รวมถึงส่วนอื่น ๆ ของร่างกาย นอกจากนี้ยังสามารถพัฒนาอย่างช้าๆ และเกิดอาการของโรคขึ้นซ้ำอีก
ภาวะนี้อาจส่งผลให้เกิดผมร่วงทั้งหมดที่เรียกว่า alopecia universalis และสามารถขัดขวางการงอกใหม่ของผม เมื่อผมกลับมางอกใหม่ก็มีโอกาสที่จะหลุดร่วงอีกครั้ง การสูญเสียเส้นผมและการงอกใหม่จะมีขอบเขตที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล
ปัจจุบันนี้ยังไม่มีวิธีรักษาอาการผมร่วงเป็นวง มีเพียงวิธีที่อาจช่วยให้ผมยาวเร็วขึ้น สามารถป้องกันผมร่วงในอนาคต รวมไปถึงวิธีการเฉพาะในการปกปิดผมร่วง นอกจากนี้ยังมีแหล่งข้อมูลต่างๆ เพื่อช่วยให้ผู้คนสามารถรับมือกับความเครียดที่เกี่ยวข้องกับผมร่วงได้
การรักษาผมร่วงเป็นหย่อม
ยังไม่มีวิธีรักษาอาการผมร่วงเป็นหย่อม แต่มีวิธีรักษาเพื่อช่วยชะลอการหลุดร่วงของเส้นผม หรือช่วยให้ผมกลับมายาวเร็วขึ้นในอนาคต
ผมร่วงเป็นหย่อมเป็นภาวะยากที่จะคาดเดา ซึ่งหมายความว่าอาจต้องใช้การลองผิดลองถูกหลายครั้งจนกว่าจะพบสิ่งที่เหมาะต่อการรักษา ในบางคนอาการผมร่วงอาจมีความรุนแรงขึ้นแม้ว่าจะได้รับการรักษาแล้วก็ตาม
การรักษาทางการแพทย์
ยาทาภายนอก
คุณสามารถนวดยาบนหนังศีรษะเพื่อกระตุ้นการงอกของผม ยาที่ใช้มีหลายชนิดทั้งที่ต้องใช้คำสั่งแพทย์ หรือยาที่สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป (OTC) ได้แก่
-
ไมนอกซิดิล (Minoxidil ;Rogaine) สามารถหาซื้อได้ตามร้านขายยาทั่วไป ใช้ทาบนหนังศีรษะ คิ้ว และเครา วันละ 2 ครั้ง มีความปลอดภัยค่อนข้างสูงแต่อาจต้องใช้ระยะเวลานานถึง 1 ปีจึงจะเห็นผลการรักษา ซึ่งมีประโยชน์สำหรับผู้ที่มีปัญหาผมร่วงในขอบเขตที่จำกัด
-
แอนทราลิน (Anthralin ; Dritho-Scalp) ยาชนิดนี้ทำให้เกิดการระคายเคืองผิวหนังบริเวณที่ทาเพื่อกระตุ้นการงอกของเส้นผม
-
การใช้ยาคอร์ติโคสเตอรอยด์ เช่น ครีมโคลเบทาซอล ( clobetasol ชื่อทางการค้า Impoyz) โฟม โลชั่น และขี้ผึ้ง เพื่อลดการอักเสบของรูขุมขน
-
การบำบัดด้วยภูมิคุ้มกันเฉพาะที่(Topical immunotherapy) เป็นเทคนิคที่ใช้สารเคมี เช่น diphencyprone กับผิวหนังเพื่อกระตุ้นให้เกิดผื่นแพ้ที่มีลักษณะคล้ายผื่นพิษโอ๊ก เพื่อกระตุ้นให้เกิดการงอกของเส้นผมใหม่ภายในหกเดือน แต่จะต้องทำการรักษาอย่างต่อเนื่องเพื่อรักษาการงอกใหม่ของเส้นผม
ยาฉีด
การฉีดสเตียรอยด์เป็นทางเลือกทั่วไปสำหรับรักษาผมร่วงเป็นหย่อมที่มีอาการไม่รุนแรง เพื่อช่วยให้ผมกลับมางอกในจุดที่ศีรษะล้าน ทำโดยการใช้เข็มเล็ก ๆ ฉีดสเตียรอยด์ลงไปในผิวหนังที่โล่งเตียนของบริเวณที่ได้รับผลกระทบ
ต้องทำการรักษาด้วยวิธีนี้ซ้ำทุกๆ 1 -2 เดือน เพื่อปลูกผมใหม่ แต่ไม่ได้เป็นการป้องกันการเกิดผมร่วงซ้ำอีก
ยากิน
ยาเม็ดคอร์ติโซน (Cortisone) ใช้รักษาอาการผมร่วงมาก แต่อาจเกิดผลข้างเคียงจากการใช้ยาได้ ดังนั้นควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะเลือกใช้ยานี้
ยาลดภูมิคุ้มกันในช่องปาก เช่น methotrexate และ cyclosporine เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่สามารถใช้รักษาผมร่วงได้ โดยยาจะออกฤทธิ์เพื่อปิดกั้นการตอบสนองของระบบภูมิคุ้มกัน แต่ไม่สามารถใช้ยานี้เป็นเวลานานได้ เพราะมีความเสี่ยงจากผลข้างเคียง เช่น ความดันโลหิตสูง ตับและไตได้รับความเสียหายของ เพิ่มความเสี่ยงของการติดเชื้อร้ายแรง และการเกิดมะเร็งชนิดที่เรียกว่ามะเร็งต่อมน้ำเหลือง
การบำบัดด้วยแสง
การบำบัดด้วยแสงเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า เคมีบำบัดร่วมแสง (photochemotherapy ) หรือ การส่องไฟ (phototherapy) เป็นการฉายรังสีชนิดหนึ่งร่วมกับการกินยา ที่เรียกว่า ซอราเลน (psoralens) และแสงอัลตราไวโอเลต
ธรรมชาติบำบัด
ผู้ที่มีอาการผมร่วงบางคนเลือกวิธีการรักษาทางเลือกเพื่อรักษาสภาพ ซึ่งอาจรวมถึง
- การบำบัดรักษาด้วยกลิ่นหอม
- การฝังเข็ม
- การกระตุ้นด้วยปลายเข็มขนาดเล็ก
- การใช้โปรไบโอติก
- การใช้ แสงเลเซอร์คลื่นแสงความถี่ต่ำ (LLLT)
- การใช้วิตามิน เช่น สังกะสี และไบโอติน
- ดื่มเครื่องดื่มว่านหางจระเข้และทาเจลเฉพาะที่
- นวดหนังศีรษะด้วยน้ำหัวหอม
- การใช้น้ำมันหอมระเหยจากต้นชา โรสแมรี่ ลาเวนเดอร์ และสะระแหน่
- การใช้น้ำมันอื่นๆ เช่น น้ำมันมะพร้าว น้ำมันละหุ่ง น้ำมันมะกอกและน้ำมันโจโจบา
- การกินอาหาร “ต้านการอักเสบ” หรือที่เรียกว่า “autoimmune protocol” ซึ่งเป็นการจำกัดอาหารโดยกินอาหารที่ประกอบด้วยเนื้อสัตว์และผักเป็นหลัก
- การนวดหนังศีรษะ
- การกินอาหารเสริมสมุนไพร เช่น โสม ชาเขียว ชบาจีน
การบำบัดทางเลือกส่วนใหญ่ยังไม่ได้รับการทดสอบทางคลินิก ดังนั้นจึงไม่ทราบแน่ชัดถึงประสิทธิภาพในการรักษาผมร่วง
นอกจากนี้สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ไม่ต้องการให้ผู้ผลิตอาหารเสริมพิสูจน์ว่าผลิตภัณฑ์ของตนมีความปลอดภัย บางครั้งการอ้างสิทธิ์บนฉลากอาหารเสริมก็ไม่ถูกต้องหรือสร้างความเข้าใจผิด ควรปรึกษาแพทย์ก่อนทดลองใช้สมุนไพรหรือวิตามินเสริม
ประสิทธิภาพของการรักษาในแต่ละครั้งจะให้ผลที่แตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล บางคนอาจไม่จำเป็นต้องได้รับการรักษาเพราะผมจะงอกขึ้นมาเอง อย่างไรก็ตามในบางกรณีก็ไม่เห็นผลของการรักษาแม้ว่าจะพยายามเลือกใช้การรักษาทุกทางแล้วก็ตาม
คุณอาจต้องลองทำการรักษามากกว่าหนึ่งครั้งเพื่อสังเกตความแตกต่างที่ได้รับจากการรักษา และต้องไม่ลืมว่าการงอกของเส้นผมอาจเกิดขึ้นได้เพียงชั่วคราวเท่านั้น และมีความเป็นไปได้ว่าผมที่งอกกลับมาแล้วนั้นจะหลุดร่วงอีกครั้ง
สาเหตุของผมร่วงเป็นหย่อม
ผมร่วงจากภูมิแพ้ คือ ภาวะภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง (autoimmune condition) ภาวะแพ้ภูมิตัวเองเกิดขึ้นเมื่อระบบภูมิคุ้มกันจดจำว่าเซลล์ที่มีสุขภาพดีในร่างกายของตนเองเป็นสิ่งแปลกปลอม โดยปกติระบบภูมิคุ้มกันจะปกป้องร่างกายของเราจากสิ่งแปลกปลอมภายนอกร่างกาย เช่น ไวรัส และแบคทีเรีย
อย่างไรก็ตามหาก ระบบภูมิคุ้มกันโจมตีเซลล์รากขนที่เป็นโครงสร้างที่เส้นขนเติบโตโดยไม่ตั้งใจ เซลล์รากขนจะมีขนาดเล็กลงและหยุดสร้างเส้นผมทำให้ผมร่วง
นักวิจัยยังไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริงของภาวะนี้
อย่างไรก็ตาม ส่วนใหญ่ภาวะนี้มักเกิดกับผู้ที่มีประวัติครอบครัวเป็นโรคภูมิต้านทานตนเองอื่น ๆ เช่น เบาหวานชนิดที่ 1 หรือโรคไขข้ออักเสบ ซึ่งเป็นเหตุผลที่นักวิทยาศาสตร์บางคนตั้งข้อสังเกตว่าพันธุกรรมอาจมีส่วนร่วมในการพัฒนาของอาการผมร่วง
นอกจากนี้ พวกเขายังเชื่อว่า ต้องมีปัจจัยจำเป็นบางอย่างในสิ่งแวดล้อมที่กระตุ้นให้เกิดอาการผมร่วงในผู้ที่มีแนวโน้มผมร่วงทางพันธุกรรม
อาการของโรคผมร่วงเป็นหย่อม
อาการหลักของผมร่วงเป็นหย่อม คือ ผมร่วง โดยที่ผมมักจะร่วงเป็นหย่อมเล็ก ๆ ผมร่วงเป็นกระจุกเดียวกันบนหนังศีรษะ วงเล็กๆเหล่านี้มักมีความยาวเล็กน้อยไปจนถึงหลายเซนติเมตร ทำให้ดูเหมือนผมแหว่ง
ผมร่วงอาจเกิดขึ้นได้ในส่วนอื่น ๆ ของใบหน้า เช่น คิ้ว ขนตา เครา และไปรวมถึงส่วนอื่น ๆ ของร่างกายด้วย บางคนมีผมร่วงไม่กี่แห่ง แต่บางคนมีผมร่วงในหลาย ๆ จุด
ในเบื้องต้น คุณอาจสังเกตเห็นกระจุกผมบนหมอนหรือตอนอาบน้ำ หากมีจุดที่ด้านหลังศีรษะอาจมีคนเตือนเพื่อให้คุณรู้ อย่างไรก็ตามสภาวะสุขภาพอื่น ๆ ก็อาจทำให้เกิดผมร่วงในรูปแบบที่คล้ายกันได้ ดังนั้น จึงไม่ได้ใช้อาการผมร่วงเป็นข้อบ่งชี้เพียงอย่างเดียวสำหรับ
การวินิจฉัยว่าเป็นโรคผมร่วง ในบางคนที่มีอาการผมร่วงมากขึ้น โดยปกติอาจจะใช้เป็นข้อบ่งชี้ของอาการผมร่วงประเภทอื่น เช่น
-
alopecia totalis คือภาวะผมร่วงเป็นหย่อมที่ไม่ทราบสาเหตุ ซึ่งหมายถึงการสูญเสียเส้นผมทั้งหมดบนหนังศีรษะ
-
alopecia universalis คือภาวะผมที่ศีรษะ และขนส่วนอื่นๆ เช่น ขนรักแร้ ขนที่หัวหน่าว ร่วงทั้งหมด
แพทย์อาจหลีกเลี่ยงการใช้คำว่า “totalis” และ “universalis” เนื่องจากบางคนอาจพบอาการบางอย่างระหว่างผมร่วงทั้ง 2 ประเภทนี้ ซึ่งมีความเป็นไปได้ที่จะสูญเสียเส้นขนทั้งหมดที่แขนขาและผมบนหนังศีรษะ แต่จะไม่เกิดอาการหลุดร่วงของเส้นขนที่หน้าอก
การสูญเสียเส้นผมที่เกี่ยวข้องกับอาการผมร่วงนั้นไม่สามารถคาดเดาได้ ตราบใดที่แพทย์และนักวิจัยบอกว่าอาการนี้สามารถเกิดขึ้นได้เอง
เส้นผมอาจจะกลับมางอกใหม่เมื่อไหร่ก็ได้แล้วก็อาจหลุดร่วงได้อีกครั้ง ซึ่งขอบเขตของการสูญเสียเส้นผมและการงอกใหม่มีความแตกต่างกันอย่างมากในแต่ละบุคคล
ผมร่วงเป็นหย่อมในเพศชาย
ผมร่วงเป็นหย่อมเกิดขึ้นได้ทั้งในผู้ชายและผู้หญิง แต่การสูญเสียเส้นผมมีแนวโน้มที่จะเกิดขึ้นได้มากกว่าในผู้ชาย ซึ่งผู้ชายมักมีประวัติครอบครัวเป็นโรคผมร่วง
ผู้ชายอาจมีปัญหาเส้นขนบนใบหน้า บนอก และที่แผ่นหลังหลุดร่วงเช่นเดียวกับการร่วงเส้นผมบนหนังศีรษะ ซึ่งอาการนี้ทำให้ผมร่วงเป็นหย่อมๆ หากเปรียบเทียบกับอาการศีรษะล้านแบบผู้ชายซึ่งเส้นผมค่อยๆ บางลงผมจนกระทั่งผมร่วงหมดทั้งศีรษะ
ผมร่วงเป็นหย่อมในเพศหญิง
ผู้หญิงมีแนวโน้มที่จะเกิดอาการผมร่วงมากกว่าผู้ชาย แต่ก็ไม่รู้สาเหตุที่ชัดเจน อาจมีผมบนหนังศีรษะร่วงเช่นเดียวกับการร่วงของขนคิ้วและขนตา
ความแตกต่างของผมร่วงแบบผู้หญิงกับแบบผู้ชายคือ ผมซึ่งครอบคลุมพื้นที่ขนาดใหญ่จะบางลงทีละน้อย ซึ่งอาการผมร่วงอาจถูกจำกัด ไว้ในบริเวณเล็ก ๆ หรืออาจเกิดผมร่วงทั้งหมดในคราวเดียวด้วย ผมร่วงสามารถค่อยๆ ขยายบริเวณออกไปเรื่อยๆซึ่งส่งผลให้ผมร่วงมากขึ้น
ผมร่วงเป็นหย่อมในเด็ก
อาการผมร่วงสามารถพบได้ในเด็ก ความเป็นจริงแล้วคนส่วนใหญ่ที่มีอาการนี้จะมีผมร่วงครั้งแรกก่อนอายุ 30 ปี
แม้จะมีองค์ประกอบทางพันธุกรรมบางอย่างที่ทำให้เกิดอาการผมร่วงเป็นหย่อม แต่พ่อแม่ที่มีอาการก็ไม่ได้ถ่ายทอดลักษณะเหล่านี้ให้ลูกเสมอไป ในทำนองเดียวกันเด็กที่มีนอกจากผมร่วงแล้ว เด็ก ๆ อาจมีความเสียหายของเล็บ เช่น มีรูพรุน หรือพบรอยโรค ซึ่งอาจพบอาการนี้ในผู้ใหญ่เช่นกันแต่มักพบบ่อยในเด็ก
จากข้อมูลของมูลนิธิผมร่วงแห่งชาติ ( National Alopecia Areata Foundation ) เด็กที่อายุน้อยกว่า 5 ขวบมักจะไม่ได้รับผลกระทบทางอารมณ์จากผมร่วงมากนัก อย่างไรก็ตามหลังจากอายุ 5 ขวบ ภาวะผมร่วงอาจสร้างความบอบช้ำให้กับเด็กเล็กได้เนื่องจากพวกเขาเริ่มสังเกตเห็นว่าตนเองมีความแตกต่างจากคนอื่นอย่างไร
หากเด็กมีภาวะเครียดหรือซึมเศร้า ให้ปรึกษากุมารแพทย์เพื่อขอคำแนะนำเกี่ยวกับประสบการณ์ของเด็กคนอื่น
การป้องกันผมร่วงเป็นหย่อม
ผมร่วงเป็นหย่อม (alopecia areata) เป็นโรคแพ้ภูมิตนเองที่ทำให้ผมร่วงเป็นหย่อมๆ กลมๆ บนหนังศีรษะและบริเวณอื่นๆ ของร่างกาย แม้ว่าการป้องกันการเกิดอาการผมร่วงเป็นหย่อมจะเป็นเรื่องที่ท้าทายเนื่องจากสาเหตุที่แน่ชัดยังไม่เป็นที่ทราบแน่ชัด แต่ก็มีกลยุทธ์และการเปลี่ยนแปลงวิถีชีวิตบางประการที่อาจช่วยจัดการกับอาการนี้หรือลดความเสี่ยงที่จะทำให้อาการแย่ลงได้:- การจัดการความเครียด: เชื่อกันว่าความเครียดเป็นสาเหตุของบุคคลบางคนที่มีอาการผมร่วงเป็นหย่อม การฝึกเทคนิคการลดความเครียด เช่น การทำสมาธิ โยคะ การหายใจลึกๆ หรือการออกกำลังกายเป็นประจำอาจช่วยได้
- อาหารเพื่อสุขภาพ: อาหารที่สมดุลซึ่งอุดมไปด้วยวิตามิน แร่ธาตุ และสารต้านอนุมูลอิสระสามารถช่วยดูแลสุขภาพโดยรวมและอาจลดความเสี่ยงของความผิดปกติของภูมิต้านทานตนเอง ตรวจสอบให้แน่ใจว่าคุณได้รับสารอาหารอย่างเพียงพอ เช่น ไบโอติน สังกะสี เหล็ก และวิตามิน A, C และ D. ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหรือนักโภชนาการเพื่อดูว่าอาหารเสริมจำเป็นหรือไม่
- หลีกเลี่ยงปัจจัยกระตุ้น: บางคนรายงานว่าปัจจัยบางอย่าง เช่น การแพ้ การติดเชื้อ หรือการบาดเจ็บที่ผิวหนัง สามารถกระตุ้นหรือทำให้อาการผมร่วงบริเวณนั้นรุนแรงขึ้นได้ หากคุณระบุตัวกระตุ้นที่เฉพาะเจาะจงได้ ให้พยายามหลีกเลี่ยงหรือจัดการสิ่งเหล่านั้น
- การดูแลเส้นผมอย่างอ่อนโยน: อ่อนโยนต่อเส้นผมและหนังศีรษะของคุณ หลีกเลี่ยงการทำผมที่ดึงรั้งเกินไป การทำเคมีรุนแรง และการจัดแต่งทรงผมด้วยความร้อนจัด ซึ่งอาจทำให้เส้นผมเสียหายและอาจทำให้อาการแย่ลงได้
- การป้องกันแสงแดด: หากคุณผมร่วงบนหนังศีรษะ ให้ปกป้องผมจากแสงแดดด้วยการสวมหมวกหรือทาครีมกันแดดเพื่อป้องกันการถูกแดดเผาและระคายเคืองต่อไป
- ปรึกษาผู้เชี่ยวชาญด้านการดูแลสุขภาพ: หากคุณสังเกตเห็นผมร่วงผิดปกติหรือสงสัยว่าคุณมีอาการผมร่วงเป็นหย่อม ให้ปรึกษาแพทย์ผิวหนังหรือผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพทันที การแทรกแซงตั้งแต่เนิ่นๆอาจช่วยชะลอการลุกลามของอาการได้
- ทางเลือกการรักษา: ทางเลือกในการรักษาผมร่วงเป็นหย่อม ได้แก่ คอร์ติโคสเตียรอยด์ การบำบัดด้วยภูมิคุ้มกันเฉพาะที่ และการใช้ยารับประทาน ทรีทเม้นต์เหล่านี้สามารถช่วยกระตุ้นการงอกใหม่ของเส้นผมและจัดการสภาพเส้นผมได้ ปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพเพื่อกำหนดแผนการรักษาที่เหมาะสมที่สุดสำหรับกรณีเฉพาะของคุณ
นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา
-
https://www.medicalnewstoday.com/articles/70956
-
https://www.webmd.com/skin-problems-and-treatments/guide/alopecia-areata
-
https://www.niams.nih.gov/health-topics/alopecia-areata
-
https://medlineplus.gov/genetics/condition/alopecia-areata
เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team