โรคกลัวที่ชุมชน (Agoraphobia) : อาการ สาเหตุ การรักษา

ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
โรคกลัวที่ชุมชน

โรคกลัวที่ชุมชน (Agoraphobia)  คือโรควิตกกังวลชนิดหนึ่ง ซึ่งผู้ที่เป็นจะพยายามหลีกเลี่ยงสถานที่ และสถานการณ์ที่ทำให้รู้สึกดังนี้

  • หนีไปไหนไม่ได้

  • ไม่สามารถขอความช่วยเหลือจากใครได้

  • ตื่นตระหนก

  • รู้สึกอับอาย

  • รู้สึกหวาดกลัว

ผู้ที่เป็นโรคนี้ มักมีอาการของการตื่นตระหนก เช่น ใจเต้นเร็ว คลื่นไส้ เมื่ออยู่ในสถานการณ์ที่กดดัน อาจมีอาการตั้งแต่ยังไม่ได้พบสถานการณ์เช่นนั่นเลยก็ได้ บางครั้งอาการรุนแรงมากจนไม่สามารถดำเนินชีวิตประจำวันได้ เช่นไปธนาคาร ไปซื้อกับข้าว และหมกตัวอยู่ในบ้านตลอดวัน

หากท่านสงสัยว่าตนเองมีอาการนี้ ควรต้องรักษาให้เร็วที่สุด การรักษาจะทำให้จัดการกับอาการได้ดีและทำให้คุณภาพชีวิตดีขึ้น

การรักษาขึ้นกับความรุนแรงของอาการ ซึ่งการรักษาจะประกอบด้วย การบำบัด การทำสมาธิ และการปรับวิถีชีวิต

อาการของโรคกลัวที่ชุมชน

ผู้ที่เป็นโรคนี้จะมีอาการดังนี้

  • กลัวการออกจากบ้านไปนานๆ

  • กลัวการอยู่ท่ามกลางผู้คนจำนวนมาก

  • กลัวว่าจะควบคุมตนเองไม่ได้ในที่สาธารณะ

    Agoraphobia
  • กลัวการอยู่ในที่ที่หนีออกมาได้ยากเช่น ในรถหรือลิฟต์

  • ไม่สนิทสนมกับใคร รู้สึกแปลกแยก

  • กังวลหรืออยู่ไม่สุข

โรคนี้มักเกิดพร้อมอาการตื่นตระหนก หรือที่เรียกว่าโรคแพนิคซึ่งคือกลุ่มอาการที่เกิดในผู้ที่มีอาการกังวลและอาการผิดปกติทางจิตอื่นๆ อาการตื่นตระหนก มีอาการทางร่างกายเช่น

  • เจ็บหน้าอก 

  • ใจเต้นถี่

  • หายใจกระชั้น

  • วิงเวียน

  • ตัวสั่น

  • รู้สึกลำคอตีบตัน

  • เหงื่อแตก

  • รู้สึกร้อนวูบวาบ

  • หนาวสั่น

  • คลื่นไส้

  • ท้องเสีย

  • รู้สึกชา

  • รู้สึกเสียวซ่า

ผู้ป่วยมักมีอาการตื่นตระหนก เมื่อพบสถานการณ์ที่กดดันหรือไม่สบายใจ ซึ่งก่อให้เกิดความกลัวว่าตนจะตกอยู่ในสถานการณ์ที่ไม่ชอบใจ

สาเหตุของโรคกลัวที่ชุมชน

ไม่ทราบสาเหตุที่แท้จริง แต่มีหลายปัจจัยที่เพิ่มความเสี่ยงในการเกิดโรคเช่น

  • โรคซึมเศร้า

  • โรคกลัวชนิดอื่น เช่น โรคกลัวที่แคบ และ โรคกลัวสังคม

  • มีอาการของงโรควิตกกังวลชนิดอื่น เช่น โรควิตกกังวลทั่วไป หรือโรคย้ำคิดย้ำทำ

  • มีประวัติถูกละเมิดทางร่างกาย หรือทางเพศ

  • การใช้สารเสพติด

  • มีสมาชิกในครอบครัวเป็นโรคนี้

พบบ่อยในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย มักเกิดในวัยผู้ใหญ่ตอนต้น( อายุเฉลี่ยประมาณ 20ปี)  แต่ก็เกิดในคนวัยอื่นได้

การรักษาโรคกลัวชุมชน

การรักษามีหลายแบบ แต่ส่วนใหญ่จะใช้ร่วมกัน เช่น

การบำบัดรักษา

การบำบัดทางจิตหรือการบำบัดด้วยการพูดคุย

ผู้ป่วยต้องพบกับผู้บำบัด หรือผู้ชำนาญด้านสุขภาพจิต เป็นระยะสม่ำเสมอ เพื่อพูดคุยเกี่ยวกับความกลัว และสิ่งที่ทำให้เกิดความกลัวนั้น การบำบัดจิตมักทำร่วมกับการใช้ยา เพื่อให้ได้ผลสูงสุด เป็นการรักษาระยะสั้นซึ่งจะหยุดได้เมื่อท่านรับมือกับความกลัวและความกังวลใด้

การบำบัดด้วยความคิดและพฤติกรรม

เป็นการบำบัดจิตที่ใช้บ่อยกับผู้ป่วยโรคนี้ กระบวนการนี้ช่วยให้เข้าใจความรู้สึกและมุมมองที่ผิดปกติไป(ซึ่งทำให้เกิดโรค) และสอนวิธีการจัดการกับสถานการณ์ที่ตึงเครียดโดยการปรับวิธีคิด ทำให้ควบคุมตนเองได้ดีขึ้น

การบำบัดโดยการเผชิญหน้ากับสิ่งที่กลัว

ช่วยให้ก้าวข้ามความกลัว ในการบำบัดนี้จะให้ท่านค่อยๆเผชิญหน้ากับสถานการณ์หรือสถานที่ที่ท่านกลัวทีละน้อย ทำให้ความกลัวลดลง เมื่อเวลาผ่านไป

ยารักษาอาการกลัว

ยาช่วยลดอาการกลัวที่ชุมชน หรืออาการตื่นตระหนก เช่น

  • ยากลุ่ม selective serotonin reuptake inhibitors, เช่น paroxetine (Paxil) หรือ fluoxetine (Prozac)

  • ยากลุ่ม selective serotonin and norepinephrine reuptake inhibitors เช่น venlafaxine (Effexor) หรือ duloxetine (Cymbalta)

  • ยากลุ่ม tricyclic antidepressants, เช่น amitriptyline (Elavil) หรือ nortriptyline (Pamelor)

  • ยาต้านกังวล เช่น alprazolam (Xanax) หรือ clonazepam (Klonopin)

การเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิต

การเปลี่ยนพฤติกรรมไม่ได้ช่วยรักษาอาการ แต่จะช่วยลดความกังวลในชีวิตประจำวัน ควรลองปรับเปลี่ยนดังนี้

  • ออกกำลังกายสม่ำเสมอ เพื่อช่วยให้สมองผลิตสารเคมีที่ทำให้มีความสุขและผ่อนคลาย

  • กินอาหารที่ดีต่อสุขภาพที่ประกอบด้วย ธัญพืช ผัก และโปรตีน ปราศจากไขมัน เพื่อให้รู้สึกดีทั้งร่างกาย

  • ทำสมาธิทุกวัน หรือฝึกการหายใจลึกๆ เพื่อลดความกังวลและต้านอาการตื่นตระหนก

  • ระหว่างการรักษา ควรงดการใช้สมุนไพร และอาหารเสริม นอกจากจะไม่ช่วยให้ดีขึ้นแล้ว ยังอาจรบกวนต่อการออกฤทธิ์ของยาที่แพทย์สั่งด้วย

ผลกระทบของโรคกลัวที่ชุมชน

โรคกลัวที่ชุมชน เป็นภาวะสุขภาพจิตที่มีลักษณะเฉพาะคือความกลัวอย่างรุนแรงและการหลีกเลี่ยงสถานการณ์หรือสถานที่ที่การหลบหนีอาจเป็นเรื่องยากหรืออาจไม่สามารถช่วยเหลือได้ในกรณีที่เกิดอาการตื่นตระหนกหรืออาการที่น่าวิตกอื่นๆ มักนำไปสู่ข้อจำกัดที่สำคัญในชีวิตประจำวันของบุคคล และอาจส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆ ทั้งทางร่างกายและจิตใจ ภาวะแทรกซ้อนบางประการที่เกี่ยวข้องกับ โรคกลัวที่ชุมชน ได้แก่:
  • การแยกตัวทางสังคม: โรคกลัวที่ชุมชน สามารถนำไปสู่การแยกทางสังคมได้ เนื่องจากบุคคลที่มีอาการนี้มักจะหลีกเลี่ยงสถานที่สาธารณะและการรวมตัวทางสังคม การแยกตัวออกไปนี้อาจทำให้ความรู้สึกเหงาและซึมเศร้าแย่ลงได้
  • อาการซึมเศร้า: คนจำนวนมากที่เป็นโรคกลัวความกลัวในสังคมก็ประสบกับภาวะซึมเศร้าเช่นกัน เนื่องจากความกลัวและการหลีกเลี่ยงสถานการณ์บางอย่างอาจส่งผลเสียต่อสุขภาพจิตได้ การแยกตัวทางสังคมที่มักมาพร้อมกับอาการกลัวความกลัวสามารถทำให้เกิดอาการซึมเศร้าได้เช่นกัน
  • การใช้สารเสพติด: บุคคลบางคนที่เป็นโรคกลัวความกลัวอาจหันไปพึ่งเครื่องดื่มแอลกอฮอล์หรือยาเสพติดเพื่อเป็นแนวทางในการรักษาตนเองและบรรเทาความวิตกกังวลและความทุกข์ทรมาน สิ่งนี้สามารถนำไปสู่ความผิดปกติในการใช้สารเสพติดซึ่งเป็นภาวะแทรกซ้อนเพิ่มเติม
  • ปัญหาสุขภาพกาย: อาการทางกายภาพของความวิตกกังวลและอาการตื่นตระหนกซึ่งมักเกิดร่วมกับอาการกลัวความกลัวในสังคม อาจส่งผลเสียต่อสุขภาพกายของบุคคลได้ อาการเหล่านี้อาจรวมถึงอัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น เหงื่อออก และความทุกข์ทรมานในทางเดินอาหาร
  • ผลที่ตามมาทางการเงิน: โรคกลัวที่ชุมชนอาจนำไปสู่ปัญหาทางการเงินได้หากทำให้บุคคลไม่สามารถทำงานหรือสำเร็จการศึกษาหรือโอกาสในการทำงาน ค่าใช้จ่ายในการบำบัดและการรักษาพยาบาลสำหรับอาการกลัวที่เป็นโรคกลัวที่ชุมชน อาจเป็นภาระได้เช่นกัน
  • ทางเลือกในชีวิตที่จำกัด:  โรคกลัวที่ชุมชนสามารถจำกัดทางเลือกและโอกาสในชีวิตของบุคคลได้ พวกเขาอาจพลาดประสบการณ์ การศึกษา และความก้าวหน้าในอาชีพการงานอันเนื่องมาจากสภาพของพวกเขา
  • ปัญหาครอบครัวและความสัมพันธ์: ความเครียดในการใช้ชีวิตร่วมกับโรคกลัวที่ชุมชนความกลัวอาจส่งผลต่อความสัมพันธ์กับสมาชิกในครอบครัวและเพื่อนฝูง คนที่คุณรักอาจไม่เข้าใจสภาพนี้และอาจรู้สึกหงุดหงิดหรือขุ่นเคือง
  • อาการแย่ลง:หากปล่อยทิ้งไว้โดยไม่ได้รับการรักษา โรคกลัวที่ชุมชนอาจทำให้อาการแย่ลงและเพิ่มความกลัวได้ การหลีกเลี่ยงสถานการณ์ที่กระตุ้นให้เกิดความวิตกกังวลสามารถเสริมการตอบสนองต่อความกลัว ทำให้ยากต่อการเอาชนะอาการดังกล่าว
  • การละเลยสุขภาพกาย: ผู้เป็นโรคกลัวความกลัวอาจละเลยสุขภาพกายของตนเอง เนื่องจากการหลีกเลี่ยงสิ่งอำนวยความสะดวกทางการแพทย์ หรือไม่เต็มใจที่จะไปพบแพทย์เมื่อจำเป็น
  • ภาวะสุขภาพจิตอื่นๆ: อาการกลัวอาการกลัวโรคมักเกิดขึ้นร่วมกับสภาวะสุขภาพจิตอื่นๆ เช่น โรคตื่นตระหนก โรควิตกกังวลทั่วไป หรือโรคกลัวเฉพาะ ซึ่งอาจทำให้การรักษาและการจัดการซับซ้อนยิ่งขึ้น
สิ่งสำคัญคือต้องทราบว่าโรคกลัวที่ชุมชนเป็นอาการที่สามารถรักษาได้ ด้วยแนวทางการรักษาที่ถูกต้อง เช่น การบำบัดด้วยความรู้ความเข้าใจและพฤติกรรม (CBT) การบำบัดโดยการสัมผัส และการใช้ยา (เช่น Selective serotonin reuptake inhibitors หรือ SSRIs)  
 

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.nhs.uk/conditions/agoraphobia/

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/agoraphobia/symptoms-causes/syc-20355987

  • https://my.clevelandclinic.org/health/diseases/15769-agoraphobia

  • https://www.webmd.com/anxiety-panic/agoraphobia


เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด