สิว (Acne) คือการที่บริเวณรูขุมขนบนใบหน้าหรือผิวหนังมีการอุดตันโดยน้ำมัน หรือคอมีโดน เซลล์ผิวที่ตายแล้ว แบคทีเรีย หรือไขมัน เกิดเป็นจุดเล็ก ๆ อาจจะมีอาการอักเสบ บวมแดง หรือไม่อักเสบก็เป็นได้ สิวนั้นไม่ได้ก่อให้เกิดผลเสียร้ายแรง แต่อาจจะทำให้ผู้ที่เป็นขาดความมั่นในใจในรูปลักษณ์ได้ โดยส่วนใหญ่แล้วสิวมักจะเกิดได้กับคนในทุกวัย โดยเฉพาะวัยรุ่นเนื่องจากวัยรุ่นมีฮอร์โมนที่สามารถผลิตน้ำมันในผิวได้มาก ได้สิว นั้นสามารถเกิดขึ้นได้ในตั้งแต่วัยทารก จนถึงวัยกลางคน
อาการของสิวเป็นอย่างไร
โดยทั่วไปแล้วสิวสามารถเกิดขึ้นได้บริเวณผิวทุกที่ของร่างกาย โดยส่วนใหญ่แล้วมีกเกิดขึ้นบริเวณใบหน้าหลัง คอ หน้าอก และไหล่ สิวที่เกิดขึ้นบนใบหน้า หรือแผ่นหลัง หรือบริเวณอื่น ๆ มีหลายประเภท และเกิดได้จากหลายสาเหตุ อาจจะก่อให้เกิดการอักเสบ บวม แดง ร่วมด้วย หรืออาจจะเป็นแค่ต่อมไขมัน อาจจะมีหัวขาวหรือ ดำ อาการจะรุนแรงหรือไม่ขึ้นอยู่กับบุคคลสาเหตุของสิวคืออะไร
สาเหตุของสิวอักเสบเกิดขึ้นเมื่อรูขุมขนอุดตันด้วยน้ำมันผิว และเซลล์ผิวที่ตาย ทำให้ผิวเกิดการอุดตัน หรือบางครั้งอาจจะเกิดจากฮอร์โมนที่มากไปทำให้ผิวผลิต น้ำมันออกมามาก หรือสิ่งสกปรกต่าง ๆ ที่ทำให้ผิวมีแบคทีเรีย ในบางครั้งอาหารก็เป็นต้นเหตุได้ การทานอาหารที่มีความมันมากไป อาหารที่ทำให้เกิดสิว เช่นเฟรนส์ฟราย หรือของหวานเช่นช็อคโกแลต จะทำให้เกิดสิวได้ด้วยเช่นกัน สิวฮอร์โมนเกิดจาก การเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนเมื่อเข้าสู่วัยรุ่น จะทำให้ผิวผลิตน้ำมันออกมามากขึ้น หรือหากมีการตั้งครรภ์ ยาบางตัวเช่นยาคุมกำเนิดหรือการใช้สเตียรอยด์ประเภทของสิว (Acne)
สิวอุดตัน แบ่งออกเป็นสองประเภทคือ
- สิวหัวขาว คือสิวอุดตันชนิดปิด ต้องทำให้หัวเปิดก่อนสิวถึงจะหลุดออกมาได้
- สิวหัวดำ คือสิวอุดตันชนิดเปิด สามารถกดออกได้
สิวอักเสบ
- สิวอักเสบประเภท Papule คือ สิวอักเสบระยะแรก เปลี่ยนมาจากสิวอุดตัน ลักษณะเป็นตุ่มแดงเจ็บขนาดเล็ก
- สิวอักเสบประเภท Pastule คือสิวอักเสบตุ่มแดงเป็นหนองเล็ก ๆ ทำให้ผิวเจ็บ
- สิวอักเสบประเภท Cyst คือ สิวอักเสบเป็นตุ่มแดงใหญ่ ทำให้เจ็บมาก
วิธีรักษาสิว
การรักษาด้วยตัวเอง
คุณสามารถบรรเทาอาการสิวได้เองที่บ้านด้วยวิธีดังต่อไปนี้- ทำความสะอาดผิวของคุณทุกวันด้วยสบู่อ่อน ๆ เพื่อขจัดความมันส่วนเกินและสิ่งสกปรก
- รวบผมไม่ให้โดนหน้า และสระผมบ่อย ๆ
- เลือกเครื่องสำอางค์ที่ไม่อุดตันรูขุมขน
- ไม่บีบสิว หรือสัมผัสหน้าบ่อย ๆ
นอกจากนี้ยังมียาทารักษาสิวดังนี้
ในการรักษาสิวบนใบหน้าด้วยตัวยาเหล่านี้ส่วนใหญ่มีส่วนผสมที่สามารถช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรียหรือลดความมันบนผิวและเป็นวิธีรักษาสิวอุดตันด้วยตนเอง เนื่องจากตัวยาเหล่านี้จะทำให้หัวสิวเปิดและหลุดออกมาเอง:- Benzoyl peroxide มาในรูปแบบครีม หรือเจล ช่วยทำให้สิวแห้งและหลุดออกไปเองได้ และช่วยฆ่าเชื้อแบคทีเรีย เป็นทางเลือกหนึ่งในวิธีรักษาสิวหัวดำ เป็นยาทาแก้สิวอักเสบได้
- กรดซาลิไซลิกมักใช้ในสบู่และผลิตภัณฑ์ล้างสิว ช่วยป้องกันไม่ให้รูขุมขนอุดตัน
- Retinoic Acid (กรดวิตามินเอ) ใช้สำหรับรักษาสิวอุดตัน ลดความมันบนใบหน้า ผลัดเซลล์ผิว และละลายหัวสิว
- ซัลเฟอร์ (Sulfur) ช่วยต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย และผลัดเซลล์ผิว
- Resorcinol ช่วยกำจัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว
การพบแพทย์
หรือบางคนที่ใช้ยาทารักษาสิวแล้วยังไม่หาย อาจจะต้องพบแพทย์เพื่อปรึกษาที่จะหายาชนิดรับประทาน ซึ่งแพทย์อาจจะสั่งจ่ายยากินแก้สิวอักเสบได้ ดังนี้:- ยาฆ่าเชื้อ เพื่อจัดการกับแบคทีเรียที่ทำให้เกิดสิว กรณีที่สิวมีอาการอักเสบมาก แต่จะไม่สั่งจ่ายให้ใช้นานเกินไปเนื่องจากร่างกายอาจดื้อยา
- ยาแก้อักเสบรักษาสิวมักทานร่วมกันกับยาฆ่าเชื้อ
- ยากลุ่มอนุพันธ์วิตามินเอหรือกรดวิตามินเอ (Isotretinoin) แบบรับประทาน เป็นยาลดความมันบนใบหน้า ช่วยผลัดเซลล์ผิว จะสั่งจ่ายให้กรณีที่เป็นสิวอักเสบแบบรุนแรงเท่านั้น และมีผลข้างเคียง ควรใช้ตามแพทย์สั่งอย่างระมัดระวัง และมักจะใช้เป็นวิธีรักษาสิวหัวหนองที่รุนแรงให้แห้งลง
- ในกรณีสิวเกิดจากฮอร์โมนในเพศหญิง แพทย์อาจจะสั่งจ่ายยาคุมกำเนิด เพื่อควบคุมหรือลดการผลิตฮอร์โมนให้
นอกเหนือจากยารับประทานแล้วยังมีวิธีอื่น ๆ ดังนี้
- การบำบัดด้วยแสงโดยใช้ยาและแสงหรือเลเซอร์เพื่อลดการผลิตน้ำมันและแบคทีเรีย
- การกรอผิว Dermabrasion ช่วยผลัดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว รักษารอยแผลเป็นจากสิว
- การผลัดเซลล์ผิวด้วยกรดต่าง ๆ ช่วยลดเซลล์ผิวที่ตายแล้ว และช่วยบรรเทาสิวที่ไม่รุนแรง
- ยาฉีดสิวอักเสบ โดยการฉีดสเตียรอยด์กรณีที่สิวรุนแรง และบวมมากอาจจะมีการฉีดเพื่อให้สิวยุบ
เราจะป้องกันไม่ให้เป็นสิวได้อย่างไร
เนื่องจากสิวเกิดได้จากหลายปัจจัย มันจึงยากมากที่จะบอกว่าต้องทำอย่างไรจึงจะไม่เป็นสิวเลย แต่ทั้งนี้มีวิธีเบื้องต้นที่เราสามารถทำได้ :- ล้างหน้าให้สะอาดวันละสองครั้ง
- ใช้ผลิตภัณฑ์ควบคุมความมัน
- ไม่ใช้เครื่องสำอางค์ที่มีส่วนผสมของน้ำมัน
- ใช้ผลิตภัณฑ์ล้างเครื่องสำอางค์ก่อนล้างหน้าเพื่อป้องกันการตกค้าง
- ควรอาบน้ำหลังการออกกำลังกาย
- ลดการทานน้ำตาล
- ลดความเครียด
คำถามที่พบบ่อย
อะไรที่ส่งผลทำให้เกิดสิวมากที่สุด การบริโภคน้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตบางชนิด อาจทำให้มีแนวโน้มที่จะเป็นสิวมากขึ้นหากอาหารของคุณเต็มไปด้วยอาหารและเครื่องดื่ม เช่น โซดา ขนมปังขาว ข้าวขาว และเค้ก น้ำตาลและคาร์โบไฮเดรตในอาหารเหล่านี้มักจะเข้าสู่กระแสเลือดของคุณอย่างรวดเร็ว นั่นหมายความว่าพวกมันมีดัชนีน้ำตาลในเลือดสูงซึ่งเป็นตัววัดว่าอาหารส่งผลต่อน้ำตาลในเลือดอย่างไร อาหารชนิดใด ทำให้เกิดสิวมากที่สุด ตัวอย่างเช่น ขนมปังขาว คอร์นเฟลกข้าวพอง มันฝรั่งทอด มันฝรั่งหรือของทอดสีขาว โดนัทหรือขนมอบอื่นๆ เครื่องดื่มที่มีน้ำตาล เช่น มิลค์เชค และข้าวขาว ผลการวิจัยจากการศึกษาขนาดเล็กชี้ให้เห็นว่าการรับประทานอาหารที่มีระดับน้ำตาลในเลือดต่ำอาจช่วยลดจำนวนสิวที่คุณมี สิวหายเองตามธรรมชาติจริงหรือไม่ สิวส่วน ใหญ่หายได้เอง แต่อาจใช้เวลาสักระยะ สิวลึก (สิวใต้ผิวหนังที่ไม่มีหัวที่สัมผัสยาก) อาจใช้เวลา 2-3 สัปดาห์กว่าจะหาย หากไม่ใช่นานกว่านั้น การดื่มน้ำช่วยเรื่องสิวจริงหรือไม่ การศึกษาพบว่าการดื่มน้ำเพิ่มอีก 2 ลิตร ทุกวันจะช่วยเพิ่มความชุ่มชื้นของผิวได้อย่างมีนัยสำคัญ การรักษาน้ำให้เพียงพอยังสามารถปรับปรุง ระบบภูมิคุ้มกันของคุณ ช่วยให้ร่างกายของคุณต่อสู้กับการติดเชื้อ ซึ่งจะช่วยป้องกันการเกิดสิว ทำไมสิวถึงไม่หาย มีเหตุผลบางประการที่สิวไม่หายสักที เป็นเรื่องปกติที่สิวบางประเภท—โดยเฉพาะสิวเม็ดใหญ่ลึก—ต้องใช้เวลาสักพักจึงจะหาย นอกจากนี้ คุณยังอาจมีสิวขึ้นอย่าง ต่อเนื่องหากคุณไม่ดูแลผิว รับประทานยาบางชนิด หรือมีภาวะสุขภาพบางอย่าง ผลไม้อะไรดีสำหรับคนเป็นสิว กีวี เชอร์รี่ และผลไม้หิน (เช่น ลูกพีช เนคทารีน และลูกพลัม) อาจดีต่อสิวเพราะมีคุณสมบัติต้านอนุมูลอิสระและต้านการอักเสบ กีวีเป็นผลไม้ที่มีไฟเบอร์สูงและเต็มไปด้วยวิตามินซีและวิตามินอี ลูกพีชมีวิตามินบีคอมเพล็กซ์ ซึ่งอาจช่วยปรับสีผิวและเนื้อสัมผัสได้ น้ำแข็งช่วยเรื่องสิวจริงหรือไม่ การประคบเย็นด้วยน้ำแข็งบริเวณที่เป็นสิวสามารถช่วยบรรเทาความเจ็บปวดและรอยแดงที่อยู่รอบๆ ได้ชั่วคราว เนื่องจากการประคบเย็นที่ผิวหนังจะส่งเสริมการระบายของเหลวส่วนเกินออกจากระบบน้ำเหลืองของผิวหนังและทำให้หลอดเลือดของผิวหนังหดตัว นอกจากนี้ยังช่วยลดอาการปวดและบวมลิงค์ด้านล่างนี้เป็นแหล่งข้อมูลของบทความของเรา
- https://www.aad.org/public/diseases/acne-and-rosacea/acne
- https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC3080563/
หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น