เส้นเอ็นไขว้หน้าหัวเข่าบาดเจ็บ (ACL Injury) : การบาดเจ็บ ACL

Anterior Cruciate Ligament

ACL Injury คือ อาการบาดเจ็บ หรือการฉีกขาดของเอ็นที่อยู่บริเวณไขว้หน้าของข้อเข่า (Anterior Cruciate Ligament) ซึ่งเป็นเส้นเอ็นหลักชนิดหนึ่งในหัวเข่า อาการบาดเจ็บนี้มักเกิดจากการเปลี่ยนทิศทาง การกระโดด หรือเมื่อหยุดการเคลื่อนไหวอย่างกะทันหัน มักเกิดในขณะเล่นกีฬาที่ต้องเคลื่อนไหวร่างกายมากๆ อย่างฟุตบอล หรือบาสเกตบอล ผู้ป่วยอาจได้ยินเสียงในข้อเข่า ในขณะที่รู้สึกปวดหรือบวมที่ข้อเข่า การรักษา ACL Injury คือ การรักษาตามความรุนแรงของอาการ ผู้ป่วยอาจต้องพักการใช้งานข้อเข่า และหยุดออกกำลังกายเพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงของข้อเข่า แต่ผู้ป่วยบางรายอาจต้องเข้ารับการผ่าตัด และทำกายภาพฟื้นฟูร่างกายด้วย เพราะหากปล่อยให้เกิดอาการผิดปกติโดยไม่ทำการรักษาอย่างเหมาะสม อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนตามมาในภายหลังได้

อาการของ ACL Injury

อาการในช่วงแรก คือ อาการข้อเข่าบวม เนื่องจากมีเลือดออกภายในข้อเข่า อาจมีอาการเกร็งของกล้ามเนื้อร่วมด้วย ต่อมาผู้ป่วยมักรู้สึกว่าข้อเข่าหลวมขึ้น เหมือนไม่มั่นคง อาจมีอาการเข่าพลิก หรือข้อเข่าเคลื่อนหลุดออกจากกันได้ โดยเฉพาะในขณะที่กำลังบิดขา หรือเดินไม่ถูกท่า ส่วนมากผู้ป่วยจะไม่สามารถวิ่งซิกแซ็กได้ หรือหยุดวิ่งทันทีไม่ได้ เนื่องจากข้อเข่าเคลื่อนที่ไม่หยุดนิ่ง หรือเข่าหลุด กรณีที่มีการฉีกขาดของหมอนรองกระดูกข้อเข่าร่วมด้วย ในขณะเคลื่อนไหวจะมีอาการเจ็บตามแนวข้อต่อ หรือมีอาการข้อเข่าติดร่วมด้วย หรือที่เรียกว่าเข่าล็อก ความรุนแรงของอาการเอ็นฉีกขาด แบ่งได้ 3 ระดับ คือ
  • 1 การฉีกขาดภายในเนื้อเยื่อของเอ็น โดยที่เอ็นยังไม่ยึด หรือขาดจากกันอย่างชัดเจน
  • 2 เกิดการฉีกขาดของเอ็นบางส่วน
  • 3 เส้นเอ็นฉีกขาดจากกันทั้งหมด

การวินิจฉัยอาการเอ็นไขว้หน้าขาด

สามารถวินิจฉัยตามอาการบาดเจ็บได้ 3 ระดับดังนี้
  • 1 เกิดจากการฉีกขาดบางเส้นใยของเนื้อเอ็น มักมีเลือดออกมาเพียงเล็กน้อย โดยไม่ทำให้เกิดการเสียสมรรถนะของเอ็นที่มากเกินไป (Functional loss) เส้นเอ็นยังไม่สูญเสียความแข็งแรง การรักษาจะบรรเทาตามอาการ
  • 2 ลักษณะของการบาดเจ็บจะมีการฉีกขาดของตัวเส้นเอ็นบางส่วน ผู้ป่วยจะเกิด Functional Loss โดยจะรู้สึกเจ็บมาก เดินเกินลำบาก หรือเดินไม่ได้  เกิดอาการปวด บวม เจ็บ มีรอยเขียวช้ำที่ชัดเจน ต้องใช้เวลา 2 – 3 สัปดาห์รอยบวมจึงจะค่อย ๆ ยุบลง แต่ข้อต่อยังคงแข็งแรงมั่นคง ผู้ป่วยมักสามารถกลับไปเล่นกีฬาได้อีก เมื่อเข้ารับการรักษาที่ถูกต้องและรวดเร็ว และระมัดระวังการใช้ข้อในระหว่างการรักษา และควรทำกายภาพบำบัดรักษาการเคลื่อนไหวขัอต่อ เพื่อเสริมสร้างความแข็งแรงกล้ามเนื้อ ไม่หักโหมใช้งานเส้นเอ็นจนกว่าอาการจะหายสนิท ระยะเวลาในการรักษาโดยทั่วไปจะอยู่ที่ 6 – 10 สัปดาห์ vkdkiบาดเจ็บจะสมานเข้ากันดีในระยะเวลาประมาณ 4 เดือน
  • 3 หากผู้ป่วยบาดเจ็บในระดับนี้ จะทำเอนเสียสมรรถภาพ เพราะเกิดการฉีกขาดอย่างรุนแรง จนเส้นเอ็นไม่มีความต่อเนื่อง ทำให้ ACL ฉีกออกจากกัน หรือขาดจากส่วนที่ยึดเกาะกับกระดูกได้เช่นกัน ลักษณะการบาดเจ็บแบบนี้จะส่งผลเกิดการหลวมหลุดของข้อต่อ ทำให้ข้อต่อไม่มั่นคง การรักษาโดยมากต้องใช้การผ่าตัด อย่างการผ่าตัดเพื่อเย็บซ่อม (Primary Repair) หรือการผ่าตัดเพื่อสร้างเอ็นขึ้นมาใหม่ (Reconstruction)

ACL Injury

สาเหตุของ ACL Injury

หัวเข่าประกอบด้วยกระดูก กระดูกอ่อน เอ็นกล้ามเนื้อ และ Anterior Cruciate ligament โดยเอ็นยึดภายในข้อเข่าคือตัวยึดระหว่างกระดูกแต่ละชิ้นให้ยึดติดเข้าด้วยกัน กรณีเอ็นไขว้หน้าจะอยู่บริเวณกลางหัวเข่า โดยทำหน้าที่ยึดระหว่างกระดูกหน้าแข้งและกระดูกต้นขา เพื่อไม่ให้กระดูกหน้าแข้งเคลื่อนออกมาด้านหน้าของกระดูกต้นขา และเสริมความมั่นคงของข้อเข่าเอาไว้ด้วยกัน การบาดเจ็บ หรือฉีกขาดของเอ็นไขว้หน้าของข้อเข่าเกิดจากการกิจกรรมหนัก ๆ หรือการเล่นกีฬาที่ทำให้ข้อเข่าต้องรับแรงกดทับ หรือแรงกระแทก อาจเกิดจากการหยุด หรือเปลี่ยนทิศทางการเคลื่อนไหวอย่างกะทันหัน การชะลอฝีเท้าขณะวิ่ง การกระโดดลงมาในตำแหน่งที่ผิดท่า การบิดเท้าขณะยืนนิ่ง ๆ และการได้รับแรงปะทะบริเวณหัวเข่า อาการนี้จึงพบได้บ่อยในนักกีฬาประเภทฟุตบอล บาสเกตบอล ยิมนาสติก หรือเล่นสกี การสวมรองเท้าที่ไม่พอดีกับเท้า การใช้อุปกรณ์การกีฬาที่ไม่เหมาะสม หรือการเล่นกีฬาบนหญ้าเทียม อาจทำให้เสี่ยงต่อการเกิด Acl Injury ได้ โดยเพศหญิงถือว่ามีความเสี่ยงของในการเกิด Acl Injury สูงกว่า เนื่องจากสรีระ ความแข็งแรงของกล้ามเนื้อ และฮอร์โมนนั้นแตกต่างกว่าเพศชาย

การรักษาอาการ ACL Injury

การปฐมพยาบาลเบื้องต้น ปฏิบัติทันทีที่ได้รับบาดเจ็บทันที โดยใช้น้ำแข็งประคบบริเวณข้อเข่าที่บาดเจ็บ หากบาดเจ็บแต่ยังสามารถลุกขึ้นมาเดินได้ สามารถเดินทางไปพบแพทย์เพื่อวินิจฉัยเพิ่มเติมภายหลังได้ แต่หากผู้บาดเจ็บจนไม่สามารถลุกขึ้นเดินได้ ต้องรีบพาผู้บาดเจ็บไปพบแพทย์ทันที การวินิจฉัยจะซักประวัติ ตรวจร่างกาย และวินิจฉัยทางรังสีร่วมด้วย อย่างการเอ็กซเรย์ การทำ MRI เพราะการถ่ายภาพรังสีแบบปกติอาจไม่สามารถเห็นอวัยวะภายในข้อเข่าได้ทั้งหมด แต่จะช่วยให้เห็นว่ามีกระดูกแตกหักด้วยหรือไม่ การรักษาตามอาการ หากการปฐมพยาบาลเบื้องต้นไม่สามารถให้อาการบาดเจ็บทุเลาลงไป แพทย์อาจพิจารณารักษาด้วยการรับประทานยาเพื่อบรรเทาอาการปวดและบวม แต่ผู้บาดเจ็บยังต้องพบแพทย์เพื่อประเมินระดับความรุนแรงของอาการบาดเจ็บ เพื่อพิจารณาผลการรักษา และอาจต้องผ่าตัดจึงจะสามารถใช้ชีวิตได้ตามปกติ การรักษาหลังผ่าตัด นอกจากการผ่าตัดจะมีความสำคัญในการรักษาแล้ว การดูแลหลังการผ่าตัดก็มีความสำคัญไม่แพ้กัน ไม่ควรสร้างภาระให้ร่างกายบริเวณที่บาดเจ็บมากจนเกินไป โดยผู้ป่วยควรพันเข่าด้วยสำลีหนา ๆ แล้วรัดให้แน่นด้วยผ่ายืด เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดอาการบวมนานอย่างน้อย 3 – 4 วันหลังการผ่าตัด จากนั้นผู้ป่วยจึงจะเริ่มทำการบริหารกล้ามเนื้อบริเวณหัวเข่าได้ บางครั้งอาจต้องใช้เวลานานถึง 8 เดือน กว่าเส้นเอ็นใหม่จะแข็งแรงพอที่จะกลับมาวิ่ง หรือเล่นกีฬาได้ และเส้นเอ็นที่สร้างขึ้นใหม่อาจไม่แข็งแรงเท่าเส้นเอ็นเดิม กรณีที่ผู้บาดเจ็บมีอายุน้อย ก็มีโอกาสกลับมาเป็นปกติได้มากกว่าผู้ที่มีอายุมากแล้ว แต่ต้องขยันทำกายภาพบำบัดเพื่อฟื้นฟูกล้ามเนื้อ และให้ได้ผลการรักษาที่มีประสิทธิภาพดีที่สุด

ภาวะแทรกซ้อนของ Acl Injury

ผู้ที่เคยมีอาการ ACL Injury มักมีความเสี่ยงสูงที่จะเกิดภาวะข้อเข่าเสื่อม (Osteoarthritis) หรือภาวะข้ออักเสบ (Arthritis) เมื่อเข้ารับการผ่าตัดสร้างเส้นเอ็นใหม่ โดยเฉพาะในกรณีที่อาการบาดเจ็บรุนแรง ความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนก็จะยิ่งเพิ่มขึ้น

การป้องกันการบาดเจ็บของ acl injury  

การป้องกันการบาดเจ็บเอ็นไขว้หน้า (ACL) เกี่ยวข้องกับการผสมผสานระหว่างการปรับสภาพ การเสริมสร้างความแข็งแรง เทคนิคที่เหมาะสม และความตระหนักรู้ถึงกิจกรรมที่อาจก่อให้เกิดความเสี่ยง  ACL เป็นเอ็นสำคัญที่ช่วยรักษาเสถียรภาพของข้อเข่า และอาการบาดเจ็บที่เอ็นนี้เป็นเรื่องปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในกีฬาที่เกี่ยวข้องกับการตัด การกระโดด และการเปลี่ยนทิศทางกะทันหัน ต่อไปนี้เป็นกลยุทธ์บางส่วนที่จะช่วยป้องกันการบาดเจ็บของ ACL:
  • การฝึกความแข็งแกร่ง:
      • เน้นที่การเสริมสร้างกล้ามเนื้อบริเวณหัวเข่า รวมถึงกล้ามเนื้อควอดริเซ็ป เอ็นร้อยหวาย และกล้ามเนื้อน่อง กล้ามเนื้อที่แข็งแรงให้การสนับสนุนข้อเข่าได้ดีขึ้น
  • การเสริมความแข็งแกร่งของแกนกลาง:
      • แกนกลางลำตัวที่แข็งแรงช่วยให้ร่างกายมีความมั่นคงและลดความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บที่เข่าได้ รวมการออกกำลังกายที่มุ่งเป้าไปที่กล้ามเนื้อแกนกลาง เช่น ท่าแพลงค์และท่าทรงตัว
  • แบบฝึกหัดการทรงตัว:
      • รวมการออกกำลังกายการทรงตัวและการรับรู้อากัปกิริยาเข้ากับกิจวัตรของคุณ สิ่งนี้สามารถปรับปรุงการรับรู้ของร่างกายเกี่ยวกับตำแหน่งในอวกาศและเพิ่มความมั่นคงของข้อต่อ ตัวอย่าง ได้แก่ การออกกำลังกายขาเดียวและการออกกำลังกายด้วยลูกบอลทรงตัว
  • การวอร์มอัพที่เหมาะสม:
      • อบอุ่นร่างกายก่อนออกกำลังกายทุกครั้ง การอบอุ่นร่างกายอย่างเหมาะสมจะเพิ่มการไหลเวียนของเลือดไปยังกล้ามเนื้อ ทำให้กล้ามเนื้อมีความยืดหยุ่นมากขึ้นและเสี่ยงต่อการบาดเจ็บน้อยลง รวมการยืดกล้ามเนื้อแบบไดนามิกและการออกกำลังกายแบบแอโรบิกเบาๆ ไว้ในกิจวัตรวอร์มอัพของคุณ
  • การฝึกพลัยโอเมตริก:
      • รวมการออกกำลังกายแบบพลัยโอเมตริกไว้ในแผนการฝึกของคุณโดยค่อยๆ การออกกำลังกายเหล่านี้ เช่น Box Jumps และ Jump Squats สามารถปรับปรุงความแข็งแรง พลัง และการประสานงานของกล้ามเนื้อได้
  • การใช้รองเท้าที่เหมาะสม:
      • สวมรองเท้าที่เหมาะสมสำหรับกิจกรรมของคุณ รองเท้าที่มีการรองรับและการยึดเกาะที่ดีสามารถช่วยป้องกันการลื่นล้มที่อาจนำไปสู่การบาดเจ็บของ ACL
  • หลีกเลี่ยงการฝึกซ้อมมากเกินไป:
      • ให้เวลาเพียงพอสำหรับการพักผ่อนและการฟื้นตัวระหว่างการออกกำลังกายที่เข้มข้นหรือการฝึกซ้อม การฝึกมากเกินไปอาจทำให้เกิดความเหนื่อยล้าและเพิ่มความเสี่ยงต่อการบาดเจ็บ
  • รักษาน้ำหนักตัวให้แข็งแรง:
      • น้ำหนักตัวที่มากเกินไปอาจเพิ่มความเครียดที่ข้อเข่าได้ การรักษาน้ำหนักให้แข็งแรงจะช่วยลดภาระที่หัวเข่าและลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บ
  • รวมการฝึกความยืดหยุ่น:
      • รวมการออกกำลังกายยืดกล้ามเนื้อเป็นประจำเพื่อรักษาความยืดหยุ่นของกล้ามเนื้อและข้อต่อ กล้ามเนื้อที่ยืดหยุ่นมีโอกาสน้อยที่จะตึงหรือฉีกขาด
  • ใช้อุปกรณ์ป้องกัน:
    • ในกีฬาหรือกิจกรรมบางประเภท การสวมอุปกรณ์ป้องกันที่เหมาะสม เช่น อุปกรณ์พยุงเข่า อาจช่วยลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บได้
โปรดจำไว้ว่า แม้ว่ากลยุทธ์เหล่านี้สามารถช่วยลดความเสี่ยงของการบาดเจ็บ ACL ได้ แต่สิ่งสำคัญคือต้องปรึกษากับผู้เชี่ยวชาญด้านสุขภาพหรือผู้ฝึกสอนกีฬาที่ได้รับการรับรอง เพื่อสร้างแผนเฉพาะบุคคลตามความต้องการและกิจกรรมส่วนบุคคลของคุณ นอกจากนี้ การคำนึงถึงขีดจำกัดของร่างกายและเคารพการฟื้นตัวอย่างเหมาะสมถือเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันการบาดเจ็บ

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา

  • https://www.mayoclinic.org/diseases-conditions/acl-injury/symptoms-causes/syc-20350738
  • https://www.medicinenet.com/torn_acl/article.htm
  • https://medlineplus.gov/ency/article/001074.htm
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด