เลือดเป็นกรด (Acidosis) : อาการ สาเหตุและการรักษา

ผู้เขียน Dr. Wikanda Rattanaphan
0
เลือดเป็นกรด
เมื่อร่างกายมีกรดในเลือดมากเกินไปเรียกว่าภาวะเลือดเป็นกรดหรือภาษาอังกฤษเรียกว่าภาวะ (Acidosis) เป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อไตและปอดไม่สามารถรักษาสมดุลของค่า pH ได้ กระบวนการต่างๆของร่างกายหลายอย่างทำให้เกิดกรด ดดยปกติปอดเเละไตสามารถชดเชยความไม่สมดุลของค่า pH ได้เพียงเล็กน้อยแต่ปัญหาการเกิดกรดในอวัยวะต่างๆทำให้เกิดการสะสมของกรดในร่างกาย ความเป็นกรดของเลือดสามารถระบุด้วยการวัดค่า pH ยิ่งวัดค่า pH ได้ต่ำมากเท่าไหร่หมายความว่ามีภาวะเลือดเป็นกรดมากเท่านั้น ถ้าหากวัดค่า pH ได้สูงแสดงว่าเลือดเป็นปกติ โดยค่า pH ในเลือดควรวัดได้ประมาณ 7.4  สำหรับภาวะเลือดเป็นกรดมีค่า pH 7.35 หรือต่ำกว่า ภาวะเลือดเป็นด่างสามารถวัดค่า pH ได้ที่ 7.5 หรือสูงกว่าและถ้าหากวัดค่าได้ตัวเลขที่แตกต่างมากยิ่งหมายถึงภาวะเลือดเป็นด่างอย่างรุนเเรง สำหรับภาวะเลือดเป็นกรดทำให้เกิดปัญหาสุขภาพหลายด้านและเป็นอันตรายต่อชีวิตได้  Acidosis

สาเหตุของภาวะกรดเกิน

ภาวะเลือดเป็นกรดแบ่งออกเป็น 2 ประเภท ซึ่งแต่ละประเภทเกิดจากปัจจัยหลายอย่าง โดยแบ่งออกเป็นภาวะกรดจากระบบหายใจหรือกระบวนการเผาผลาญ ซึ่งขึ้นอยู่ปัจจัยเบื้องต้นของภาวะเลือดเป็นกรด

ภาวะกรดจากระบบหายใจ

ภาวะกรดจากระบบหายใจเกิดขึ้นเมื่อมี CO2 เกิดขึ้นในร่างกายมาเกินไป โดยปกติแล้วปอดทำหน้าที่ขับ CO2 ออกจากร่างกายในขณะที่คุณหายใจ แต่อย่างไรก็ตามบางครั้งร่างกายไม่สามารถขับ CO2 ออกได้หมดเนื่องจากปัจจัยดังต่อไปนี้
  • โรคเรื้อรังเกี่ยวกับระบบหายใจเช่นโรคหอบหืด
  • อาการบาดเจ็บที่หน้าอก
  • โรคอ้วนที่ทำให้เกิดภาวะหายใจลำบาก
  • การใช้สารเสพติด
  • การดื่มแอลกอฮอลมาเกินปกติ
  • กล้ามเนื้อหน้าอกอ่อนแรง
  • มีปัญหาเกี่ยวกับระบบประสาท
  • โครงสร้างหน้าอกผิดปกติ

ภาวะกรดจากกระบวนการเผาผลาญ

ภาวะกรดเกินจากกระบวนการเผาผลาญเริ่มต้นขึ้นที่ไตไม่ใช่ที่ปอด โดยเกิดขึ้นเมื่อไตไม่สามารถขับกรดออกไปได้หรือไตมีภาวะเป็นด่างมากเกินไป ภาวะเลือดเป็นกรดจากกระบวนการเผาผลาญแบ่งออกเป็น 3 ประเภทหลักได้แก่
  • ภาวะเลือดเป็นกรดจากเบาหวานเกิดขึ้นกับผู้ที่เป็นโรคเบาหวาน ซึ่งร่างกายไม่สามารถควบคุมความสมดุลได้เนื่องจากร่างกายขาดอินซูลินและมีการสร้างกรดคีโตนขึ้นในร่างกายจนทำให้เกิดเลือดเป็นกรด
  • ภาวะเลือดเป็นกรดร่วมกับคลอไรด์ในเลือดสูง เกิดจากการสูญเสียโซเดียมไดคาร์บอเนต ซึ่งเป็นสารที่ทำให้เลือดมีค่าเป็นกลาง ภาวะกรดในเลือดชนิดนี้เป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการท้องเสียและอาเจียน
  • ภาวะเลือดเป็นกรดจากกรดแลคติกในเลือดสูงเกิดขึ้นเมื่อร่างกายมีกรดแลคติกมากเกินไป โดยมีสาเหตุเกิดจากพิษสุราเรื้อรัง ภาวะหัวใจล้มเหลว โรคมะเร็ง ลมชัก ตับวาย การขาดออกซิเจนเป็นเวลานานและน้ำตาลในเลือดต่ำ นอกจากนี้การออกกำลังกายเป็นเวลานานทำให้เกิดภาวะกรดแลกติกในเลือดเกินได้เช่นกัน
  • ภาวะเลือดเป็นกรดจากหลอดไตฝอยเป็นภาวะที่เกิดขึ้นเมื่อไตไม่สามารถขับกรดออกทางปัสสาวะได้ จึงเป็นสาเหตุทำให้เลือดเป็นกรด 

อาการของภาวะเลือดเป็นกรด

ภาวะเลือดเป็นกรดทั้งที่เกิดจากการระบบหายใจและกระบวนการเผาผลาญมีลักษณะอาการที่คล้ายกัน อย่างไรก็ตามอาการเลือดเป็นกรดมีหลายอย่างขึ้นอยู่กับสาเหตุ

ภาวะเลือดเป็นกรดจากระบบหายใจ

อาการทั่วไปของภาวะเลือดเป็นกรดจากระบบหายใจได้แก่
  • อ่อนล้าเเละง่วงซึม
  • เหนื่อยง่าย
  • สับสน งุนงง
  • หายใจสั้น
  • ง่วงนอน
  • ปวดหัว

ภาวะกรดเกินจากกระบวนการเผาผลาญ

อาการทั่วไปของภาวะกรดเกินจากกระบวนการเผาผลาญได้แก่

วิธีการรักษาภาวะเลือดเป็นกรด

โดยปกติแพทย์จำเป็นต้องระบุสาเหตุของการเกิดภาวะเลือดเป็นกรดเพื่อเลือกใช้วิธีการรักษา อย่างไรก็ตามวิธีการรักษาบางประเภทสามารถใช้รักษาภาวะกรดเกินได้ทุกชนิด ตัวอย่างเช่นแพทย์จะให้โซเดียมไดคาร์บอเนต (เบคกิ้งโซดา) เพื่อปรับค่า pH ให้สูงขึ้นด้วยการทานหรือฉีดเข้าเส้นเลือดดำ ซึ่งการรักษาประเภทอื่นสามารถนำมารักษาภาวะกรดในเลือดเกินได้เช่นกัน

ภาวะเลือดเป็นกรดจากระบบหายใจ

โดยปกติการรักษาภาวะเลือดเป็นกรดประเภทนี้ออกแบบมาเพื่อช่วยรักษาปอด ตัวอย่างเช่นการใช้ยาเพื่อขยายทางเดินหายใจ นอกจากนี้ผู้ป่วยยังจะได้รับออกซิเจนผ่านเครื่องช่วยหายใจ (CPAP) ซึ่งเครื่องช่วยหายใจ (CPAP) สามารถช่วยทำให้ผู้ป่วยสามารถหายใจได้ ถ้าหากเกิดการอุดตันภายในทางเดินหายใจหรือกล้ามเนื้ออ่อนเเรง

ภาวะกรดเกินจากกระบวนการเผาผลาญ

ภาวะกรดในเลือดเกินที่เกิดจากกระบวนการเผาผลาญเเต่ละชนิดมีวิธีการรักษาโดยเฉพาะ ผู้ที่มีภาวะเลือดเป็นกรดคลอไรด์จะทานโซเดียมไดคาร์บอร์เนตและสำหรับภาวะเลือดเป็นกรดจากภาวะไตวายอาจรักษาด้วยโซเดียมไซเตรด โรคเบาหวานที่ทำให้เกิดกรดในเลือด แพทย์จะทำการรักษาด้วยการฉีดอินซูลินเข้าทางเส้นเลือดดำเพื่อทำให้ค่า  pH สมดุล สำหรับวิธีการรักษาภาวะกรดแลกติกเกินได้แก่การทานอาหารเสริมไดคาร์บอเนต การให้น้ำเกลือ ออกซิเจนหรือยาปฏิชีวนะ ซึ่งวิธีการรักษาต่างๆขึ้นอยู่กับสาเหตุที่ทำให้เลือดเป็นกรด

ภาวะแทรกซ้อน

ถ้าหากไม่ทำการรักษาภาวะเลือดเป็นกรดทันทีอาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนได้ดังต่อไปนี้
  • นิ่วในไต
  • ปัญหาเกี่ยวกับไตเรื้อรัง
  • ไตวาย
  • โรคกระดูก
  • เติบโตช้า

สัญญาณของภาวะกรดเกิน

ภาวะกรดเป็นภาวะทางการแพทย์ที่มีลักษณะเป็นกรดส่วนเกินในของเหลวในร่างกาย ส่งผลให้ค่า pH ในเลือดลดลง ภาวะความเป็นกรดมีสองประเภทหลัก: ภาวะเลือดเป็นกรดในทางเดินหายใจและภาวะกรดจากการเผาผลาญ แต่ละประเภทสามารถมีอาการและอาการแสดงที่เกี่ยวข้องได้หลากหลาย
  • ภาวะความเป็นกรดในทางเดินหายใจ:สิ่งนี้เกิดขึ้นเมื่อปอดไม่สามารถกำจัดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ (CO2) ออกจากร่างกายได้เพียงพอ ทำให้เกิดการสะสมของ CO2 และทำให้เลือดเป็นกรดตามมา สัญญาณและอาการของภาวะความเป็นกรดในทางเดินหายใจอาจรวมถึง:
    • หายใจถี่:ความพยายามของร่างกายในการเพิ่มการหายใจเพื่อกำจัด CO2 ส่วนเกิน
    • หายใจเร็ว:ขณะที่ร่างกายพยายามชดเชยระดับ CO2 ที่เพิ่มขึ้น
    • ความสับสนหรือสภาวะทางจิตที่เปลี่ยนแปลง:ภาวะความเป็นกรดอาจส่งผลต่อการทำงานของสมอง
    • ความเหนื่อยล้าและความอ่อนแอ:เนื่องจากความไม่สมดุลของกรดเบสส่งผลต่อการทำงานของร่างกาย
  • ภาวะกรดเมตาบอลิค: ภาวะความเป็นกรดชนิดนี้เกิดขึ้นเมื่อมีกรดมากเกินไปในร่างกายหรือเมื่อไตไม่สามารถกำจัดกรดออกจากเลือดได้อย่างมีประสิทธิภาพ สัญญาณและอาการของภาวะกรดจากการเผาผลาญอาจรวมถึง:
    • การหายใจลึกและรวดเร็ว (Kussmaul breathing):ความพยายามของร่างกายในการกำจัดกรดส่วนเกิน
    • ความเหนื่อยล้าและอ่อนแรง:เป็นผลมาจากการทำงานของเซลล์หยุดชะงัก
    • คลื่นไส้อาเจียน:เป็นการตอบสนองต่อการสะสมของกรด
    • ความสับสนหรือการเปลี่ยนแปลงสภาพจิตใจ:คล้ายกับภาวะเลือดเป็นกรดในทางเดินหายใจ
    • อัตราการเต้นของหัวใจเพิ่มขึ้น:การตอบสนองทางสรีรวิทยาต่อความไม่สมดุลของกรดเบส
สิ่งสำคัญที่ควรทราบคืออาการของภาวะความเป็นกรดอาจแตกต่างกันไปขึ้นอยู่กับความรุนแรงและสาเหตุที่แท้จริง ภาวะกรดอาจเกิดจากสภาวะทางการแพทย์ต่างๆ เช่น เบาหวาน โรคไต โรคปอด และความมึนเมาบางอย่าง หากคุณสงสัยว่าคุณหรือบุคคลอื่นอาจกำลังประสบภาวะความเป็นกรด จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องไปพบแพทย์โดยทันทีเพื่อรับการวินิจฉัยที่ถูกต้องและการรักษาที่เหมาะสม

นี่คือแหล่งที่มาในบทความของเรา


  • https://medlineplus.gov/ency/article/001181.htm
  • https://www.webmd.com/a-to-z-guides/what-is-metabolic-acidosis
  • https://www.ncbi.nlm.nih.gov/pmc/articles/PMC4566456/

เนื้อหาและรีวิวมาจากผู้เชี่ยวชาญ โดย Bupa team

แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด