Chickpea คืออะไร
ถั่วลูกไก่ (Chickpeas) เป็นพืชตระกูลถั่วชนิดหนึ่ง ถั่วลูกไก่เพิ่งจะได้รับความนิยมมากขึ้นเมื่อเร็ว ๆ นี้ ถั่วลูกไก่มีปลูกในประเทศตะวันออกกลางเป็นเวลาหลายพันปีมาแล้ว รสชาติที่กลมกล่อม และเนื้อสัมผัสเป็นเม็ดๆ เข้ากันได้ดีกับอาหารและส่วนผสมอื่นๆ ถั่วลูกไก่เป็นแหล่งของวิตามิน แร่ธาตุ และเส้นใยอาหาร ถั่วลูกไก่มีประโยชน์ต่อสุขภาพมากมาย เช่น การย่อยอาหารที่ดีขึ้น ช่วยควบคุมน้ำหนัก และลดความเสี่ยงต่อโรคต่างๆ นอกจากนี้ยังมีโปรตีนสูง และทดแทนเนื้อสัตว์ในอาหารมังสวิรัติได้อย่างดีเยี่ยม อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม อาหารว่างลดน้ำหนัก ประโยชน์ต่อสุขภาพ 8 ประการของของถั่วลูกไก่ที่ได้รับการยืนยันแล้วมีดังนี้1. อุดมไปด้วยสารอาหารที่ดี
ถั่วลูกไก่มีคุณค่าทางโภชนาการเป็นอย่างมาก ถั่วลูกไก่ประกอบด้วยแคลอรีในระดับปานกลาง โดยให้พลังงาน 46 แคลอรีต่อ 1 ออนซ์ (28 กรัม) แคลอรีประมาณ 67% มาจากคาร์โบไฮเดรต ส่วนที่เหลือมาจากโปรตีนและไขมันเพียงเล็กน้อย ถั่วชิกพียังให้วิตามินและแร่ธาตุที่หลากหลาย รวมทั้งไฟเบอร์ และโปรตีนในปริมาณที่เหมาะสม 1 ออนซ์ (28 กรัม) ให้สารอาหารต่อไปนี้- แคลอรี่: 46
- คาร์โบไฮเดรต: 8 กรัม
- ไฟเบอร์: 2 กรัม
- โปรตีน: 3 กรัม
- โฟเลต: 12% ของปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน
- เหล็ก : 4% ของปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน
- ฟอสฟอรัส: 5% ของปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน
- ทองแดง: 5% ของปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน
- แมงกานีส: 14% ของปริมาณที่แนะนำให้บริโภคต่อวัน
2. อาจจะช่วยลดความอยากอาหารลง
ถั่วลูกไก่มีปริมาณโปรตีนที่สูง และไฟเบอร์ในปริมาณมาก ทำให้เมื่ออยู๋ในมื้ออาหารแล้ว จะทำให้ผู้รับประทานมีความอยากอาหารลดลง หรือกล่าวคืออิ่มเร็วขึ้น และเป็นการช่วยลดปริมาณแคลอรี่ที่ได้รับต่อวัน3. เป็นแหล่งโปรตีนที่ดี
ถั่วลูกไก่มีเป็นแหล่งโปรตีนที่ดีเยี่ยมซึ่งเป็นประโยชน์อย่างมากต่อสุขภาพ ช่วยในเรื่องของสุขภาพกระดูก และเป็นประโยชน์อย่างยิ่งกับผู้ที่ต้องการหลีกเลี่ยงเนื้อสัตว์ หรือผู้ที่รับประทานมังสวิรัติ4. อาจจะช่วยคุณจัดการเรื่องน้ำหนัก
ถั่วลูกไก่นั้นมีแคลอรี่ในปริมาณที่พอเหมาะ และมีไฟเบอร์ในปริมาณมาก ซึ่งทั้งสองเป็นคุณสมบัติที่ดีมากๆ ที่จะเป็นอาหารของผู้ที่มีเป้าหมายในการควบคุมน้ำหนักร่างกาย5. ช่วยควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด
ถั่วลูกไก่มีปริมาณ GI ที่ต่ำ และยังเป็นแหล่งที่ดีของโปรตีน และไฟเบอร์ ซึ่งคุณสมบัติทั้งหมดนี้เป็นผลดีต่อการควบคุมปริมาณน้ำตาลในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์สุขภาพดี6. อาจจะมีประโยชน์สำหรับการย่อยอาหาร
ถั่วลูกไก่มีปริมาณไฟเบอร์ที่มาก แน่นอนว่าไฟเบอร์ในปริมาณมากนี้ จะช่วยส่งเสริมระบบย่อยอาหารให้ดีขึ้น ส่งเสริมการเจริญของแบคทีเรียดีในลำไส้ และทำให้สามารถขับถ่ายได้อย่างมีประสิทธิภาพ อ่านเรื่องราวที่น่าสนใจเพิ่มเติม ระบบย่อยอาหารทำงานอย่างไร7. อาจจะช่วยต่อต้านโรคเรื้อรังบางอย่าง
ถั่วลูกไก่มีคุณสมบัติที่หลากหลายหนึ่งในคุณสมบัติเหล่านั้น คือการลดความเสี่ยงของโรคเรื้อรังดังต่อไปนี้ลดความเสี่ยงโรคหัวใจ
ถั่วลูกไก่อุดมไปด้วยแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายนานาชนิดเช่น แมกนีเซียม และโพแทสเซียม ที่มีประสิทธิภาพอย่างมากในการส่งเสริมการทำงานของหัวใจ ลดความเสี่ยงโรคหัวใจได้ลดความเสียงโรคมะเร็ง
หากมีถั่วลูกไก่ในเมนูอาหารนั้นแสดงว่าคุณกำลังลดความเสี่ยงของโรคมะเร็งอยู่ อย่างแรกเลยการรับประทานถั่วลูกไก่ ช่วยให้ร่างกายผลิต Butyrate ซึ่งเป็นกรดไขมันดีที่เป็นประโยชน์ในการลดการอักเสบในลำไส้ ทำให้มีความเป็นไปได้ที่จะลดความเสี่ยงของมะเร็งในลำไส้ได้ ถั่วลูกไก่ประกอบไปด้วยวิตรามิน และแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกายได้แก่ วิตามิน B ที่สามารถช่วยในการลดความเสี่ยงของมะเร็งเต้านม และมะเร็งปอดลดความเสี่ยงโรคเบาหวาน
ถั่วลูกไก่มีคุณสมบัติบางส่วนในการสนับสนุนการควบคุมน้ำตาลในเลือด แสดงว่าช่วยในการจัดการโรคเบาหวานได้ โดยไฟเบอร์ และโปรตีนจากถั่วลูกไก่ช่วยป้องกันระดับน้ำตาลในเลือดไม่ให้สูงเร็วเกินไปภายหลังรับประทานอาหาร เป็นปัจจัยสำคัญในการควบคุมเบาหวานใครที่ควรทานถั่วลูกไก่เพิ่ม
ถั่วลูกไก่เป็นถั่วที่มีคุณค่าทางโภชนาการที่สามารถเป็นประโยชน์สำหรับบุคคลต่างๆ เนื่องจากมีสารอาหารครบถ้วน ต่อไปนี้เป็นกลุ่มคนบางกลุ่มที่อาจได้รับประโยชน์เป็นพิเศษจากการรวมถั่วลูกไก่ไว้ในอาหาร:- มังสวิรัติและวีแกน:
-
-
- ถั่วลูกไก่เป็นแหล่งโปรตีนจากพืชที่ดีเยี่ยม ทำให้มีคุณค่าทางโภชนาการสำหรับผู้ที่ติดตามวิถีชีวิตแบบมังสวิรัติหรือแบบวีแกน
-
- บุคคลที่มีภาวะขาดธาตุเหล็ก:
-
-
- ถั่วลูกไก่มีธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นแร่ธาตุสำคัญที่มีบทบาทในการลำเลียงออกซิเจนไปทั่วร่างกาย การรวมอาหารที่มีธาตุเหล็กสูง เช่น ถั่วลูกไก่ อาจเป็นประโยชน์สำหรับผู้ที่ขาดธาตุเหล็กหรือโรคโลหิตจาง
-
- คนที่ควบคุมน้ำหนัก:
-
-
- ถั่วลูกไก่มีเส้นใยและโปรตีนสูง ซึ่งทั้งสองอย่างนี้ช่วยให้รู้สึกอิ่มและเต็มอิ่ม การใส่ถั่วลูกไก่ในมื้ออาหารอาจช่วยควบคุมน้ำหนักได้โดยส่งเสริมความรู้สึกพึงพอใจและลดปริมาณแคลอรี่โดยรวม
-
- ผู้ที่มีปัญหาเรื่องน้ำตาลในเลือด:
-
-
- ปริมาณเส้นใยและโปรตีนในถั่วลูกไก่สามารถช่วยรักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ การใส่ถั่วลูกไก่ในมื้ออาหารอาจเป็นประโยชน์สำหรับบุคคลที่ควบคุมโรคเบาหวานหรือผู้ที่ต้องการรักษาระดับพลังงานให้คงที่
-
- บุคคลที่ต้องการสนับสนุนสุขภาพหัวใจ:
-
-
- ถั่วลูกไก่มีเส้นใยที่ละลายน้ำได้ซึ่งสามารถช่วยลดระดับคอเลสเตอรอลได้ นอกจากนี้ยังให้โพแทสเซียมซึ่งสัมพันธ์กับการสนับสนุนสุขภาพของหัวใจโดยช่วยควบคุมความดันโลหิต
-
- ผู้ที่กำลังปรับปรุงสุขภาพทางเดินอาหาร:
-
-
- ปริมาณเส้นใยในถั่วลูกไก่สนับสนุนสุขภาพทางเดินอาหารโดยส่งเสริมการเคลื่อนไหวของลำไส้เป็นประจำและเป็นแหล่งพรีไบโอติกซึ่งช่วยบำรุงแบคทีเรียในลำไส้ที่เป็นประโยชน์
-
- สตรีมีครรภ์:
-
-
- ถั่วลูกไก่เป็นแหล่งโฟเลตที่ดี ซึ่งเป็นวิตามินบีที่มีความสำคัญในระหว่างตั้งครรภ์เพื่อการพัฒนาท่อประสาทของทารก ปริมาณโฟเลตที่เพียงพอเป็นสิ่งสำคัญในการป้องกันข้อบกพร่องของท่อประสาท
-
- บุคคลที่จัดการกับการอักเสบ:
-
-
- ถั่วลูกไก่มีสารประกอบที่มีคุณสมบัติต้านการอักเสบ รวมถึงสารต้านอนุมูลอิสระ อาหารที่อุดมด้วยอาหารต้านการอักเสบอาจเป็นประโยชน์สำหรับบุคคลที่จัดการกับอาการอักเสบ
-
- ผู้ที่มีความไวต่อกลูเตนหรือโรคเซลิแอค:
-
-
- ถั่วลูกไก่ไม่มีกลูเตนตามธรรมชาติ ทำให้เป็นทางเลือกที่ปลอดภัยและมีคุณค่าทางโภชนาการสำหรับผู้ที่มีความไวต่อกลูเตนหรือโรคเซลิแอค
-
- นักกีฬาและบุคคลที่กระตือรือร้น:
-
- ถั่วลูกไก่มีส่วนผสมของโปรตีนและคาร์โบไฮเดรต ทำให้เป็นทางเลือกที่ดีสำหรับผู้ที่เกี่ยวข้องกับการออกกำลังกาย สารอาหารในถั่วลูกไก่สามารถช่วยซ่อมแซมกล้ามเนื้อและระดับพลังงานได้
บทสรุป
ถั่วลูกไก่เป็นอาหารที่ดีต่อสุขภาพ อุดมไปด้วยแร่ธาตุ วิตามิน ไฟเบอร์ และโปรตีนที่สูง นี่ทำให้ถั่วลูกไก่มีคุณประโยชน์ที่หลากหลาย ไม่ว่าจะเป็นคุณสมบัติที่ดีต่อสุขภาพ การควบคุมน้ำหนัก หรือแม้กระทั่งการควบคุมน้ำตาลในเลือด การเพิ่มถั่วลูกไก่ลงในอาหารช่วยลดความเสี่ยงในการเกิดโรคเรื้อรังอย่างเช่น โรคหัวใจ และโรคมะเร็ง เป็นต้น ถั่วลูกไก่มีราคาไม่แพง และหาซื้อได้จากซุปเปอร์มาเก็ต การใส่ถั่วลูกไก่ไว้ในอาหารต่างๆ และใช้ทดแทนเนื้อสัตว์ ถือว่าเป็นตัวช่วยที่ดีสำหรับผู้รับประทานอาหารมังสวิรัต สรุปว่าถั่วลูกไก่ อร่อย คุ้มค่า และทำให้เรามีสุขภาพที่ดีได้!หัวข้อที่เกี่ยวข้อง
ติดตาม
เข้าสู่ระบบ
0 ความคิดเห็น