ไอโอดีน (11 Uses for Iodine): มีประโยชน์จริงหรือไม่ 

ผู้เขียน Dr. Sommai Kanchana
0
ไอโอดีน

ไอโอดีน (Iodine) คืออะไร 

ไอโอดีน เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า ไอโอไดด์ เป็นแร่ธาตุชนิดหนึ่งที่พบได้ตามธรรมชาติ ในดิน และน้ำทะเล น้ำเกลือ และพืชหลายชนิดเป็นแหล่งอาหารที่มีไอโอดีน แร่ธาตุนี้มีอยู่ทั่วไปในเกลือเสริมไอโอดีน ร่างกายของคนเราจำเป็นต้องได้รับไอโอดีนอย่างเพียงพอเพราะไอโอดีนมีบทบาทต่อการควบคุมสมดุลฮอร์โมน พัฒนาการของทารกในครรภ์ และอื่น ๆ หากร่างกายของคุณมีปริมาณไอโอดีนอยู่น้อย แพทย์อาจแนะนำให้คุณรับประทานอาหารเสริมที่มีไอโอดีน   

ประโยชน์ของไอโอดีน

ไอโอดีนถือเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นสำหรับร่างกายของเรา ซึ่งมีความสำคัญอย่างยิ่งในระหว่างการตั้งครรภ์ และการได้รับสารไอโอดีนตั้งแต่อยู่ในครรภ์อาจช่วยป้องกันภาวะสุขภาพบางอย่างในภายหลังได้ ประโยชน์ของไอโอดีนมีต่อร่างกาย และวิธีการใช้สำคัญๆ มีดังนี้  

1. ส่งเสริมสุขภาพของต่อมไทรอยด์ 

ไอโอดีนมีบทบาทสำคัญต่อสุขภาพของต่อมไทรอยด์ ต่อมไทรอยด์มีตำแหน่งอยู่ที่ฐานด้านหน้าของลำคอ มีหน้าที่ควบคุมการสร้างฮอร์โมนฮอร์ ซึ่งฮอร์โมนเหล่านี้มีหน้าที่ควบคุมการกระบวนการเมตาบอลิซึม สุขภาพหัวใจ และอื่น ๆ  ในการสร้างไทรอยด์ฮอร์โมน ต่อมไทรอยด์จะใช้ไอโอดีนในปริมาณเล็กน้อยหากไม่มีไอโอดีนการสร้างฮอร์โมนจากต่อมไทรอยด์อาจลดลง ต่อมไทรอยด์ที่ทำงาน“ น้อย” หรือไม่ทำงานอาจนำไปสู่ ภาวะขาดไทรอยด์  เราสามารถได้รับไอโอดีนอย่างเพียงพอจากอาหารจำพวกผลิตภัณฑ์จากนม อาหารเสริมและปลาน้ำเค็ม  นอกจากนี้ยังพบไอโอดีนในอาหารจากพืชที่เติบโตในดินที่อุดมด้วยไอโอดีนจากธรรมชาติ และคุณยังสามารถรับแร่ธาตุได้โดยปรุงรสอาหารด้วย เกลือเสริมไอโอดีน 

2. ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคคอพอก 

โรคคอพอก คือ ต่อมไทรอยด์ที่โตขึ้นต่อมไทรอยด์ของคุณอาจขยายขนาดใหญ่ขึ้นซึ่งเป็นผลมาจาก ภาวะขาดไทยรอยด์หรือภาวะต่อมไทยรอยด์ทำงานมากเกิน  และในบางเครื่องโรคคอพอกอาจจะเกิดมาจากสาเหตุของการขาดสารไอโอดีนโดยตรง คอพอกที่เกิดจากการขาดไอโอดีน อาจมีอาการกลับมาดีขึ้นหากได้รับไอโอดีนอย่างเพียงพอ

3. ปกป้องต่อมไทรอยด์ที่ทำงานมากเกินไป 

แพทย์อาจแนะนำให้ทานโอดีนชนิดพิเศษเพิ่ม ที่เรียกว่า ไอโอดีนกัมมันตภาพรังสี ซึ่งใช้รักษาภาวะต่อมไทรอยด์ที่ทำงานมากเกินไป ความเสี่ยงของการใช้ไอโอดีนกัมมันตภาพรังสี คือ เซลล์ต่อมไทรอยด์ถูกทำลายมากเกินไป ซึ่งจะนำไปสู่การลดปริมาณการสร้างฮอร์โมน อันจะนำไปสู่ภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำ ด้วยเหตุนี้จึงแนะนำให้ใช้ไอโอดีนกัมมันตภาพรังสี ภายหลังจากการรักษาด้วยยาต้านไทรอยด์ล้มเหลวแล้วเท่านั้น 

4. รักษามะเร็งต่อมไทรอยด์ 

ไอโอดีนกัมมันตภาพรังสีเป็นทางเลือกในการรักษาโรคมะเร็งต่อมไทรอยด์ได้เช่นกัน ซึ่งได้ผลเช่นเดียวกับการรักษาต่อมไทรอยด์ทำงานมากเกินไป  เมื่อคุณรับประทานไอโอดีนกัมมันตภาพรังสี ยานี้จะทำลายเซลล์ต่อมไทรอยด์รวมทั้งเซลล์มะเร็ง ยานี้อาจถูกนำมาใช้หลังการผ่าตัดต่อมไทรอยด์เพื่อให้แน่ใจว่าเซลล์มะเร็งทั้งหมดได้ถูกกำจัดออกจากร่างกายแล้ว 

5. พัฒนาการของระบบประสาทในระหว่างตั้งครรภ์ 

เนื่องจากการบริโภคไอโอดีนในระหว่างตั้งครรภ์นั้นมีความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับพัฒนาการทางสมองของทารกในครรภ์ มารดาที่มีภาวะขาดสารไอโอดีนในระหว่างตั้งครรภ์มีแนวโน้มที่จะให้กำเนิดทารกที่จะเติบโตขึ้นมาพร้อมกับการมีไอคิวที่ต่ำ และมีพัฒนาการทางสติปัญญาอื่น ๆ ล่าช้า  ในระหว่างตั้งครรภ์ปริมาณไอโอดีนที่แนะนำให้บริโภคในแต่ละวัน คือ 220 ไมโครกรัมต่อวัน โดยเปรียบเทียบกับปริมาณที่แนะนำในผู้ใหญ่ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์คือ 150 ไมโครกรัมต่อวัน

ช่วงที่ทารกอยู่ในครรภ์มารดาเป็นช่วงพัฒนาการของสมองที่สำคัญดังนั้นทารกจึงต้องการไอโอดีนปริมาณวันละ 110 ไมโครกรัม จนกว่าจะมีอายุครบ 6 เดือน11 Uses for Iodine6. เสริมสร้างทักษะการเรียนรู้ 

ระบบประสาทได้รับประโยชน์จากไอโอดีนในระหว่างช่วงของตั้งครรภ์ ซึ่งอาจรวมไปถึงพัฒนาการที่ดีของการทำงานของสมองในช่วงวัยเด็ก นอกจากนี้ยังรวมไปถึงการ ลดความเสี่ยงของความพิการทางสติปัญญาด้วย 

7. อาจช่วยรักษาโรคไฟโบรซิสติกในเต้านม 

เป็นไปได้ว่าอาหารเสริมไอโอดีนหรือยาที่มีไอโอดีนสามารถช่วยรักษา โรคไฟโบรซิสติกในเต้านม  แม้จะมีคำรับรองว่าไอโอดีนอาจช่วยป้องกันการเกิดไฟโบรซิสติกในเต้านมได้ แต่ผู้ป่วยก็ไม่ควรพยายามรักษาด้วยตนเอง ให้รับประทานไอโอดีนสำหรับอาการนี้เฉพาะในกรณีที่แพทย์แนะนำเท่านั้น เพราะอาจจะก่อให้เกิดผลข้างเคียงได้

8. กำจัดเชื้อโรคในน้ำ 

ไอโอดีนเป็นวิธีหนึ่งในการกำจัดเชื้อโรคในน้ำได้  การเติม ทิงเจอร์ไอโอดีนเหลว 2% ลงในน้ำทีละ 5 หยดต่อน้ำใส  1.1365 ลิตร หากน้ำมีความขุ่นให้เติม 10 หยดต่อ 1.1365 ลิตร.

9. การป้องกันผลกระทบจากนิวเคลียร์ 

ในกรณีฉุกเฉินทางนิวเคลียร์  ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแนะนำให้ใช้โพแทสเซียมไอโอไดด์ (KI) เพื่อป้องกันต่อมไทรอยด์จากการบาดเจ็บจากรังสีซึ่งมีอยู่ในรูปของของเหลวและชนิดเม็ด แม้ว่าจะไม่สามารถป้องกันได้อย่างสมบูรณ์ แต่ยิ่งได้รับ KI เร็วเท่าไหร่ ก็คาดว่าไทรอยด์จะยิ่งได้รับการปกป้องในกรณีฉุกเฉินเช่นนี้ได้ดีขึ้น 

10. รักษาการติดเชื้อ 

ไอโอดีนที่อยู่ในรูปของเหลวสามารถนำมาใช้ทาเพื่อช่วยรักษาและป้องกันการติดเชื้อได้ โดยการฆ่าเชื้อแบคทีเรียในบริเวณที่มีบาดแผล บริเวณรอบ ๆ บาดแผล และรอยถลอกที่ไม่รุนแรง ไม่ควรใช้ไอโอดีนสำหรับใช้เฉพาะที่กับทารกแรกเกิด นอกจากนี้ไม่ควรใช้กับบาดแผลลึก แผลถูกสัตว์กัด หรือแผลไฟไหม้ 

ธาตุไอโอดีนที่แนะนำ

สำหรับการบริโภคประจำวันตามอายุ :
อายุ ปริมาณที่แนะนำต่อวันในหน่วยไมโครกรัม (mcg)
แรกเกิด–6 เดือน 110 mcg
ทารกอายุระหว่าง 7–12 เดือน 130 mcg
เด็กอายุ 1–8 ปี 90 mcg
เด็กอายุ 9–13 ปี 120 mcg
ผู้ใหญ่และเด็กวัยรุ่น, อายุ 14 ปีขึ้นไป 150 mcg
สตรีมีครรภ์ 220 mcg
สตรีที่ให้นมบุตร 290 mcg

อาหารที่มีไอโอดีน

ไอโอดีนพบได้มากในอาหารทะเล และเกลือสมุทร สามารถนำไปปรุงอาหารเพื่อเสริมสร้างไอโอดีนได้ 

ถ้าได้รับไอโอดีนมากเกินไป

การบริโภคไอโอดีนมากเกินไปอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพได้ เนื่องจากการได้รับไอโอดีนมากเกินไปอาจขัดขวางการทำงานของต่อมไทรอยด์และทำให้เกิดปัญหาเกี่ยวกับต่อมไทรอยด์ สิ่งที่อาจเกิดขึ้นได้หากคุณมีไอโอดีนมากเกินไป:
  • ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์:ต่อมไทรอยด์ใช้ไอโอดีนในการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งควบคุมการเผาผลาญและการทำงานของร่างกายต่างๆ ไอโอดีนที่มากเกินไปสามารถรบกวนการทำงานปกติของต่อมไทรอยด์ นำไปสู่ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ซึ่งอาจส่งผลให้เกิดสภาวะต่างๆ เช่น ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน  หรือภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำ ซึ่งทั้งสองอย่างนี้อาจทำให้เกิดอาการได้หลายอย่าง
  • ภาวะต่อมไทรอยด์ทำงานเกิน:การบริโภคไอโอดีนมากเกินไปอาจทำให้เกิดการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากเกินไป ทำให้เกิดอาการต่างๆ เช่น หัวใจเต้นเร็ว น้ำหนักลด วิตกกังวล อาการสั่น และหงุดหงิด
  • ภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำ:ในบางกรณี การบริโภคไอโอดีนมากเกินไปสามารถไประงับการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งนำไปสู่ภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำ อาการของภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำ ได้แก่ อ่อนเพลีย น้ำหนักเพิ่ม แพ้ความเย็น ซึมเศร้า และท้องผูก
  • โรคคอพอก:การได้รับไอโอดีนในระดับสูงเป็นเวลานาน เช่น การรับประทานอาหารหรือยา อาจทำให้เกิดโรคคอพอกได้ คอพอกคือต่อมไทรอยด์ที่ขยายใหญ่ขึ้น ซึ่งสามารถมองเห็นได้จากการบวมที่คอ
  • ต่อมไทรอยด์อักเสบ:การได้รับไอโอดีนในปริมาณมากอาจทำให้เกิดการอักเสบของต่อมไทรอยด์หรือที่เรียกว่าไทรอยด์อักเสบได้ ภาวะนี้อาจทำให้เกิดอาการปวดไทรอยด์และขัดขวางการผลิตฮอร์โมนไทรอยด์
  • ต่อมไทรอยด์อักเสบจากไอโอดีน:บุคคลบางคนอาจมีอาการต่อมไทรอยด์อักเสบจากไอโอดีนเมื่อสัมผัสกับระดับไอโอดีนสูง ซึ่งอาจนำไปสู่อาการของต่อมไทรอยด์ทำงานเกินและตามด้วยภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำ
สิ่งสำคัญที่ควรทราบคือคนส่วนใหญ่ไม่บริโภคไอโอดีนมากเกินไปจากการรับประทานอาหาร เนื่องจากร่างกายมีกลไกในการควบคุมระดับไอโอดีน อย่างไรก็ตาม ปริมาณไอโอดีนที่มากเกินไปอาจเกิดขึ้นได้ในบางสถานการณ์ เช่น:
  • การบริโภคอาหารที่มีไอโอดีนสูงเกินไป เช่น สาหร่ายทะเลและอาหารเสริมสาหร่ายทะเล
  • การสัมผัสกับสารทึบรังสีที่มีไอโอดีนซึ่งใช้ในขั้นตอนการถ่ายภาพทางการแพทย์
  • การใช้ยาหรืออาหารเสริมที่มีไอโอดีนในระดับสูง
  • การสัมผัสกับไอโอดีนต่อสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะในพื้นที่ที่มีระดับไอโอดีนในดินและน้ำสูง
เพื่อหลีกเลี่ยงการบริโภคไอโอดีนมากเกินไป จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องรับประทานอาหารที่สมดุลและปรึกษากับผู้ให้บริการด้านสุขภาพก่อนที่จะรับประทานอาหารเสริมไอโอดีน หรือเข้ารับการรักษาทางการแพทย์ที่เกี่ยวข้องกับสารทึบรังสีที่มีไอโอดีน หากคุณสงสัยว่าคุณบริโภคไอโอดีนมากเกินไปหรือกำลังประสบกับอาการของความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ ให้ไปพบแพทย์เพื่อรับการประเมินและการรักษาที่เหมาะสม ความผิดปกติของต่อมไทรอยด์ต้องได้รับการวินิจฉัยและการจัดการจากผู้เชี่ยวชาญ

นี่คือแหล่งที่มาของบทความของเรา

  • https://www.webmd.com/vitamins/ai/ingredientmono-35/iodine
  • https://ods.od.nih.gov/factsheets/Iodine-HealthProfessional/
แจ้งให้ทราบ
guest
0 ความคิดเห็น
การตอบรับแบบอินไลน์
ดูความคิดเห็นทั้งหมด